ภารกิจ Hope ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เป็นโครงการมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่ส่งดาวเทียมเพื่อไปโคจรอยู่รอบดาวอังคารนั้นได้ดำเนินการสำเร็จแล้ว นั่นหมายความว่าทาง UAE นั้นได้เป็นลำดับที่ 5 ที่สามารถไปถึงดาวอังคารได้สำเร็จ ตามหลังจากสหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหภาพยุโรป และอินเดีย
ภารกิจ Hope นั้นได้ปล่อยตัวไปเมื่อกรกฎาคมปีที่ผ่านมา จาก Tanegashima Space Center ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้ติดอยู่ด้านหลังบนจรวด Mitsubishi H-2A โดยได้ใช้เวลาราว 7 เดือนเพื่อที่จะไปให้ถึงจุดหมาย หากแต่ก็มาถึงก่อนภารกิจของคู่แข่งทั้งจีนและสหรัฐอเมริกา
งานของภารกิจนี้คือเพื่อที่จะโคจรอยู่รอบๆ ดาวอังคารและตรวจสอบติดตามชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ซึ่งจุดมุ่งหมายสูงสุดคือเพื่อให้เข้าใจสภาพภูมิอากาศของดาวอังคารให้ได้โดยแท้จริง โดยจะเกี่ยวข้องกับการศึกษาวัฏจักรของสภาพอากาศทั่วดาว ตรวจสอบการก่อตัวของพายุฝน และทำให้เข้าใจว่าทำไมดาวอังคารถึงมีการรั่วไหลของไฮโดรเจนและออกซิเจน
คล้ายกับ “Seven Minutes of Terror” ของ NASA การเดินทางของยานสำรวจในภารกิจ Hope เพื่อไปถึงดาวอังคารนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีความตึงเครียดเกิดขึ้น โดยก่อนหน้าในปีนี้เอง ทางเจ้าหน้าที่ได้กล่าวว่ายานจะต้องมีการสูญเสียเชื้อเพลิงไปจำนวนมหาศาลเพื่อที่จะชะลอตัวให้มาอยู่ในความเร็วที่ถูกต้อง ซึ่งกระบวนการนั้นจะต้องใช้เวลาราวครึ่งชั่วโมง โดยความเสี่ยงนั้นจะมีสองส่วนคืออาจจะชะลอมากเกินไปแล้ววงโคจรอาจจะสลายไปทำให้ตัวดาวเทียมอาจจะตกลงไปที่พื้นผิวของดาวอังคารได้ แต่ถ้าปล่อยให้เร็วเกินไป ตัวยานก็อาจจะวิ่งหลุดวงโคจรไปได้เช่นกัน
نجاح التواصل مع #مسبار_الأمل!
تمت مرحلة الدخول إلى مدار المريخ بنجاح. #العرب_إلى_المريخ
— Hope Mars Mission (@HopeMarsMission) February 9, 2021
อัตราความสำเร็จของภารกิจดังกล่าวนั้นได้ถูกตั้งไว้ที่ 50% แต่การมาไกลขนาดนี้ได้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จมากเพียงพอแล้ว ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ขั้นสูง (Minister of Advanced Sciences) คุณ Sarah Al Amiri ได้กล่าวว่าการสำรวจอวกาศนั้นเป็น”อนาคตของ UAE” ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมของตัวเองไปจากเรื่องของการผลิตน้ำมัน
Source : https://www.engadget.com/uae-hope-probe-mars-mission-162257670.html