[PR] บีคอน วีซี ลงทุนในอุ๊คบี ต่อยอดธุรกิจ ซี แชนเนล ประเทศไทย หวังเป็นช่องทางให้เคแบงก์เข้าถึงคนรุ่นใหม่ ตอกย้ำความเป็นผู้น้ำบนแพลตฟอร์มดิจิทัล

0

กรุงเทพ 7 มีค. 61 – บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล ประกาศร่วมลงทุนในอุ๊คบี ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้านดิจิทัไลฟ์สไตล์อันดับหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สนับสนุนการต่อยอดธุรกิจ ซี แชนเนล ไทยแลนด์ สื่อออนไลน์ที่นำเสนอเนื้อหาเชิงไลฟ์สไตล์ ที่อุ๊คบีผลิตโดยความร่วมมือกับ ซี แชนเนล เจแปน รวมถึงการขยายสู่ธุรกิจใหม่ที่จะเปิดตัวในไตรมาสแรกของปีนี้ ตั้งเป้าหมายเป็นช่องทางให้ธนาคารสามารถเข้าถึงกลุ่มกลุ่มคน “โพสต์มิลเลนเนียล” ได้อย่างแตกต่างและสร้างสรรค์ ตอกย้ำภาพลักษณ์ของธนาคารด้านความเป็นผู้นำบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม

นายธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัทบีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด เปิดเผยว่า บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล เป็นบริษัทของธนาคารกสิกรไทยที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการลงทุนสตาร์ทอัพ มีความมุ่งมั่นในการคัดเลือกและลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ เพื่อต่อยอดธุรกิจของธนาคารกสิกรไทย ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ บริษัท อุ๊คบี จำกัด เป็นสตาร์ทอัพไทย ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความแปลกใหม่ในด้านการผลิตสิ่งพิมพ์ดิจิทัลในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มธุรกิจด้วยผลิตภัณฑ์ที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์อีบุ๊คที่รับคอนเทนต์จากบริษัทผู้พิมพ์มาจัดจำหน่าย ปัจจุบันมีการต่อยอดธุรกิจที่มีเนื้อหาหลากรูปแบบมากขึ้น โดยให้การสนับสนุนทั้งคอนเทนท์ที่ผลิตโดยมืออาชีพและคอนเทนต์จากผู้ใช้บริการ รวมทั้งให้ความสำคัญต่อเทรนด์ใหม่ ๆ และนวัตกรรมทางสื่อดิจิทัลที่มีช่องทางการรับชำระเงินบนออนไลน์ที่ครอบคลุม

ธุรกิจหนึ่งที่น่าสนใจของอุ๊คบี คือ ซี แชนเนล ไทยแลนด์ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มนิตยสารไลฟ์สไตล์ในรูปแบบวิดีโอออนไลน์ สร้างขึ้นจากความร่วมมือระหว่างอุ๊คบี กับ ซี แชนเนล เจแปน ล่าสุดบีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จึงได้ตัดสินใจร่วมลงทุนในอุ๊คบี สำหรับการพัฒนาต่อยอด ซี แชนเนล ไทยแลนด์

นอกจากนี้ทางอุ๊คบีกำลังขยายธุรกิจใหม่ซึ่งจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยธุรกิจดังกล่าวจะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งในทางธุรกิจให้แก่กลุ่มผู้ผลิตคอนเทนต์ที่อยู่บนแพลตฟอร์มของอุ๊คบี และเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและหลากหลายมากขึ้นแก่ผู้ใช้บริการเพื่อจะตอบสนองไลฟ์ไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งบีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล ตั้งเป้าหมายว่าการลงทุนดังกล่าวจะช่วยให้ธนาคารกสิกรไทยสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้รับข้อมูลข่าวสารในวิธีการที่แตกต่างและน่าสนใจ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่า “โพสต์มิลเลนเนียล” ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของธนาคาร ตอกย้ำภาพลักษณ์ของธนาคารด้านความเป็นผู้นำบนดิจิทัลแพลตฟอร์ม

นายณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อุ๊คบี จำกัด กล่าวว่า วิสัยทัศน์ของบริษัทคือ การเติบโตและขยายแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการสร้างและการบริโภคเนื้อหาที่มีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งสร้างความแข็งแกร่งของผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจแก่ชุมชนแห่งนักสร้างสรรค์ สำหรับ ซี  แชนเนล ไทยแลนด์ เป็น นิตยสารแฟชั่น วิดีโอออนไลน์ สำหรับผู้หญิง ที่มีการนำเสนอเนื้อหาเชิงไลฟ์สไตล์สร้างสรรค์ นับเป็นบริการที่อุ๊คบีเริ่มนำเสนอสู่ตลาดประเทศไทยตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา และได้รับความ นิยมอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีฐานผู้เข้าชม ซี  แชนเนล ไทยแลนด์ ผ่านช่องทางเว็บไซต์ th.cchan.tv และเฟซบุ๊ค www.facebook.com/cchannel.thailand  โดยมีจำนวนการเข้าชมมากกว่า 250 ล้านครั้งต่อเดือนและมียอดเข้าชมเฉลี่ยมากกว่า 150,000 ครั้งต่อคลิป

การเข้าเป็นพันธมิตรกับบีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล ที่ได้ให้การสนับสนุนเงินลงทุนแก่บริษัทครั้งนี้ จะช่วยให้อุ๊คบีสามารถพัฒนาต่อยอด ซี แชนเนล ไทยแลนด์ และนำเสนอธุรกิจใหม่สู่ตลาด ซึ่งจะเปิดตัวในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ นับเป็นก้าวสำคัญที่จะเสริมธุรกิจดิจิทัลไลฟ์สไตล์ของอุ๊คบีในปัจจุบันและเสริมสร้างความสัมพันธ์ของอุ๊คบีกับชุมชนสร้างสรรค์ต่าง ๆ ให้มีความสัมพันธ์และฐานการใช้งานที่เติบโตได้อย่างแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

บริษัท อุ๊คบี จำกัด เป็นสตาร์ทอัพไทย ดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2554 ปัจจุบันเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์มด้านดิจิทัลไลฟ์สไตล์อันดับหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีผู้ใช้บริการกว่า 10  ล้านคนและมากกว่า 1,000 ล้านเพจวิวต่อเดือน เปิดให้บริการเนื้อหาสาระและความบันเทิงบนแพลตฟอร์มออนไลน์หลากรูปแบบ ได้แก่ หนังสือ นวนิยายแปล การ์ตูน ดนตรี วีดิโอ บล๊อก แชท การพยากรณ์ ซึ่งมีทั้งคอนเทนท์จากทีมผลิตของบริษัทเองและคอนเทนท์จากผู้ใช้บริการ เป็นสตาร์ทอัพในระดับซีรีส์บี ที่จะเข้าสู่ซีรี่ส์ซี ภายในปีนี้

สำหรับ บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล เป็นบริษัทของธนาคารกสิกรไทย ก่อตั้งเมื่อปี 2560 โดยมีนายธนพงษ์ ณ ระนอง เป็นกรรมการผู้จัดการ เพื่อร่วมลงทุนในสตาร์ทอัพในประเทศไทยและต่างประเทศ มีวงเงินลงทุนทั้งหมดจำนวน 1,000 ล้านบาท

###