แบงค์ชาติได้ Prototype โซลูชัน Settlement ธุรกรรมบนบล็อกเชนเรียบร้อยแล้ว

0

เมื่อวันอังคารที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา Wipro บริษัทที่ปรึกษาด้าน IT ได้ออกมาแถลงถึงความสำเร็จในการร่วมกับ R3 พัฒนา Prototype โซลูชัน Real-time Gross Settlement บนบล็อกเชนเพื่อการใช้งานในกลุ่มที่ประกอบไปด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์อีก 8 ราย

Wipro และ R3 ร่วมกันพัฒนาโซลูชันดังกล่าวขึ้นบน Corda ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบล็อกเชนแบบ Open source ที่ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานในอุตสาหกรรมการเงินเป็นพิเศษ โดยโซลูชันนี้ ได้ใช้ Token เงินดิจิทัล Central Bank Digital Currency (CBDC) และ Liquidity Saving Mechanism (LSM) ช่วยให้ระบบ Real-time Gross Settlement (RTGS) ระหว่างธนาคารนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและรองรับการทำงานตลอด 24 ชั่วโมง

ในการ Settlement ธุรกรรมระหว่างธนาคาร ในบางครั้งนั้นอาจเกิดความล่าช้าชะงักตัวจากการที่ธนาคารมีสภาพคล่อง (Liquidity) ไม่เพียงพอ โซลูชันบล็อกเชนนี้จึงได้ใส่กลไกในการแก้ปัญหาเพื่อช่วยให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง เช่น Gridlock Resolution ที่เป็นการกำหนด LSM Oracle Node ขึ้นเป็นตัวกลางเข้ามาแก้บล็อคในกรณีที่ขั้นตอนนั้นติดล็อคแต่แก้ได้ด้วยการ Settlement พร้อมกันทีละหลายธนาคาร และกลไก Automated Liquidity Provision (ALP) ที่จะช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับธนาคารโดยอัตโนมัติผ่านการใช้งาน Token ที่แลกมาด้วยพันธบัตรที่ธนาคารถืออยู่

ตัวอย่างปัญหาขาดสภาพคล่อง (Liquidity) และการเพิ่มสภาพคล่องด้วย ALP และแก้ล็อค Settlement ด้วย Gridlock Resolution (Photo: Bank of Thailand)

Prototype ในครั้งนี้นั้นเป็นผลงานในระยะแรกของโครงการอินทนนท์ ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือกันใช้เทคโนโลยี Blockchain พัฒนาโซลูชันที่จะช่วยให้การโอนเงินภายในประเทศนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการใช้ Token ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยที่เรียกว่า Central Bank Digital Currency (CBDC) โดยตามแผนการ ในระยะแแรกนั้นจะมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการชำระเงินก่อน จากนั้นก็จะขยับไปพัฒนาแอปพลิเคชันอื่นๆที่ใช้บล็อกเชนเข้ามาเสริมในระบบ

โครงการอินทนนท์นั้นเป็นโครงการความร่วมมือของธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์อีก 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาติ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และธนาคาร HSBC

สำหรับท่านใดที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบนี้เพิ่มเติม สามารถเข้าไปอ่านรายงานได้ที่นี่