
ยานอวกาศ Ionospheric Connection Explorer หรือ ICON ของ NASA ในที่สุดก็เริ่มเข้าสู่วงโคจรแล้วหลังจากที่ดีเลย์เลื่อนการเปิดตัวมาหลายปี
โดยอากาศยาน Northrop Grumman ที่บรรทุก ICON ซึ่งติดไปกับจรวด Northrop Grumman Pegasus XL นั้นได้ไปส่งที่ความสูง 39,000 ฟุต และเมื่อเวลา 21:59 น.วันที่ 10 ตุลาคม 2562 เวลาท้องถิ่น ยานบรรทุกก็ปล่อยยานอวกาศออกไป ซึ่งได้ติดตั้งแผงโซลาร์เอาไว้ด้วย นั่นแปลว่ามันจะมีพลังงานและก็จะได้เริ่มภารกิจที่เลื่อนมานานแล้วเสียที
ICON นั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้ศึกษาและตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในชั้นบรรยากาศรอบนอกโลกไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่เหนือชั้นบรรยากาศที่ป้องกันสภาพอากาศจากภายนอกโลกและสภาพอากาศจากภายในโลกไม่ให้ออกไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุปกรณ์เครื่องมือของยานนั้นจะสามารถสังเกตุการณ์ปรากฏการณ์ที่เหมือนแสงสว่างยามเช้า (aurora) ที่มีชื่อว่า แสงเรืองฟ้า (airglow) ซึ่งจะทำให้เห็นว่าอนุภาคต่างๆ เคลื่่อนที่อย่างไรในพื้นที่นั้น
ยานอวกาศจะส่งข้อมูลกลับมาซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถไขข้อสงสัยว่าพวกเราจะต้องรับมือกับการรบกวนไอออนที่จะส่งผลต่อการส่งสัญญาณสื่อสารได้อย่างไร อีกทั้ง การสังเกตุการณ์นี้จะช่วยให้พวกเราเข้าใจว่าทำไมสภาพอากาศในชั้นไอโอโนสเฟียร์สามารถส่งผลต่อยานอวกาศให้กร่อนได้ก่อนเวลาที่กำหนด เช่นเดียวกับทำให้เข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงในเชิงสุขภาพที่ส่งผลต่อนักบินอวกาศจากเรื่องการแผ่รังสีได้
Source : https://www.engadget.com/2019/10/11/nasa-icon-ionosphere/