AI มีความสามารถในการค้นพบภาวะความผิดปกติของร่างกายด้วยความแม่นยำสูง แต่ภาวะเลือดออกในสมองนั้นยังเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะหากตรวจพบผิดพลาด ก็จะชะลอขั้นตอนการรักษาหรือเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีอาจพร้อมที่จะเข้ามาช่วยในส่วนนี้แล้ว
นักวิจัยจาก UC Berkeley และ UCSF ได้สร้างอัลกอริธึมที่สามารถตรวจพบภาวะเลือดออกในสมองด้วยความแม่นยำมากกว่านักรังสีวิทยาสองคนจากสี่คนในการทดสอบ กุญแจสำคัญคือข้อมูลฝึกที่มีข้อมูลอย่างละเอียด
ขั้นตอนนี้อาศัยโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันที่ศึกษาภาพ CT สแกนมากกว่า 4,396 ชุด นับเป็นชุดข้อมูลที่จำนวนไม่มากนัก แต่จากข้อมูลของ UCSF นั้น ความผิดปกติดังกล่าวได้รับการลงรายละเอียดศึกษาถึงระดับพิกเซล ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าระบบจะแปลภาพรบกวน (noise) และข้อผิดพลาดอื่นๆ เป็นภาวะเลือดออกในสมองโดยมีแนวโน้มที่จะแปลผลผิดพลาดน้อยลง อีกเทคนิคหนึ่งคือการให้ฝึกด AI ให้ดูส่วนของภาพทีละครั้งแทนที่จะให้ดูทั้งหมดทีเดียว ซึ่งลดโอกาสที่จะสร้างสมมติฐานที่ไม่ถูกต้องจากการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยได้
ระบบ AI นี้ก็เป็นเช่นเดียวกับระบบตรวจจับด้วย AI อื่นๆ ที่ยังไม่สามารถแทนแพทย์ได้เต็มรูปแบบ ระบบเพียงแค่ใช้เวลาหนึ่งวินาทีในการออกรายงาน และสามารถแยกประเภทภาวะเลือดออกในสมองแบบต่างๆ ได้ ซึ่งอาจช่วยประหยัดเวลาของแพทย์ในช่วงฉุกเฉินและทำให้แน่ใจได้ว่าแพทย์จะตรวจพบภาวะเลือดออกในสมองที่ยากจะค้นพบซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แม้ว่านักวิจัยจะยังคงทดสอบอัลกอริธึมจากภาพ CT สแกน แต่อาจมีสักวันที่ระบบจะสามารถนำไปใช้คัดกรองผู้ป่วยและช่วยแพทย์ให้มุ่งเป้าไปที่การช่วยชีวิตผู้ป่วยได้