สองนักวิจัยจาก University of Louisiana แห่ง Lafayette ได้พัฒนาโมเดล AI ที่สามารถคาดการณ์อาการลมชักจากโรคลมบ้าหมูได้ล่วงหน้าถึงหนึ่งชั่วโมงด้วยความแม่นยำถึง 99.6 เปอร์เซ็นต์
จากรายงานของ IEEE เวลาล่วงหน้าหนึ่งชั่วโมงนี้เป็นเวลาที่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยที่จะเตรียมตัวทานยาก่อนที่อาการจะกำเริบ ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ปัจจุบันมีจำนวนคนราว 50 ล้านคนทั่วโลกเป็นโรคลมบ้าหมู และผู้ป่วยจำนวน 70 เปอร์เซ็นต์สามารถควบคุมอาการได้หากทานยาก่อน
แม้ว่าระบบ AI ที่พัฒนาโดย Hisham Daoud และ Magdy Bayoumi จาก University of Louisiana จะยังไม่สมบูรณ์นัก แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดจากวิธีการคาดการณ์ที่มีอยู่ ในปัจจุบันนี้วิธีอื่นๆ จะใช้การวิเคราะห์การทำงานของสมองด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (electroencephalogram หรือ EEG) และประยุกต์กับโมเดลคาดการณ์ในภายหลัง วิธีใหม่นี้ทำทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกันด้วยการใช้อัลกอริธึมระบบเรียนรู้เชิงลึกที่ดูการทำงานของสมองและคาดการณ์ช่องไฟฟ้าที่สว่างขึ้นระหว่างเกิดอาการ
อาจจะต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่กว่าเทคนิคนี้จะใช้งานได้อย่างกว้างขวางเพราะทีมงานกำลังพัฒนาชิปกำหนดเองที่สามารถช่วยให้อัลกอริธึมจำเป็นทำงานได้ แต่ก็นับเป็นข่าวที่พลิกชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคลมชักเลยทีเดียว