สำหรับบางคนแล้ว การรื้อค้นกองตัวต่อเลโก้ (Lego) นับเป็นความสนุกรูปแบบหนึ่ง แต่หากคุณมีเลโก้กองโตหรือต้องต่อโครงสร้างยากๆ แล้ว คงต้องอาศัยระบบช่วยแยกชิ้น ล่าสุด Daniel West ผู้ใช้งาน YouTube ใช้ความชอบส่วนตัวที่มีต่อตัวต่อเลโก้รวมกับทักษะวิศวกรรมของเขาในการสร้างเครื่องแยกชิ้นส่วนเลโก้ที่ใช้โครงข่ายประสาทเทียมในการระบุ จำแนก และจัดระเบียบชิ้นส่วนได้มีประสิทธิภาพกว่ามนุษย์ทำ
เครื่องแยกชิ้นส่วนเลโก้ทำมากจากตัวต่อเลโก้ 10,000 ชิ้น ใช้เวลาในการออกแบบและสร้างขึ้นมา 2 ปี ตัวมอเตอร์เลโก้ 6 ตัวและตัวควบคุมจักรกล (servo motor) 9 ชิ้น นำมาใช้ขับเคลื่อนสายพานและเครื่องเขย่าและผสมที่ใช้ลำเลียงชิ้นส่วนทีละชิ้นไปยังกล้องวีดิโอ
จากนั้น Raspberry Pi จึงประมวลผลจากข้อมูลวีดิโอนั้นแล้วส่งข้อมูลไปยังแล็บท็อปที่รันโปรแกรมโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน (convolutional neural network) ซึ่งใช้วิเคราะห์รูปภาพ ซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI นี้จะเปรียบเทียบชิ้นส่วนแต่ละชิ้นกับฐานข้อมูลโมเดลเลโก้แบบสามมิติที่ได้สร้างไว้
เมื่อระบบจับคู่ชิ้นส่วนกับหมายเลขชิ้นส่วนแล้ว มันก็จะส่งข้อมูลกลับไปยังเครื่องแยกเพื่อนำชิ้นส่วนใส่ถังคัดแยกจากทั้งหมด 18 ถัง เครื่องจะใช้เวลาทุกสองวินาทีต่อตัวต่อหนึ่งชิ้น
การสร้างสรรค์ในลักษณะนี้ตอกย้ำความสามารถในการพลิกแพลงตัวต่อเลโก้ในการสร้างสิ่งต่างๆ เด็กเล็กหยิบตัวต่อขึ้นมาสร้างวัตถุง่ายๆ ในขณะที่เด็กโตและผู้ใหญ่ก็สร้างกลไกชิ้นส่วนผนวกกับการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยได้