ระบบ GPS ใหม่จาก MIT ใช้ภาพดาวเทียมช่วยพารถเข้าถูกเลน

0

หากคุณเคยใช้ระบบนำทาง GPS ขณะขับไปในที่ที่ไม่คุ้นเคย คงมีบางครั้งที่ต้องเปลี่ยนเลนฉับพลัน เพราะ GPS ไม่ได้บอกจำนวนเลนหรือบอกว่าเลนนี้พาไปไหน แต่ระบบ GPS แบบใหม่จาก MIT อาจช่วยแก้ปัญหาอันน่ากวนใจนี้

โดยปกติแล้ว แผนที่ GPS สร้างโดยบริษัทใหญ่ๆ เช่น Google ที่ส่งยานยนต์ติดกล้องไปสำรวจพื้นที่เพื่อเก็บรายละเอียดตามถนน ซึ่งก็ใช้งานได้ดี แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ โดยในตอนแรก ขั้นตอนเก็บข้อมูลนั้นมีราคาสูงและการทำแผนที่ให้มีข้อมูลทันสมัยอยู่ตลอดเวลานั้นกินเวลา ประการที่สองคือ พื้นที่บางส่วนของโลกถูกละเลยในการเก็บข้อมูล แต่ข้อมูล GPS เป็นข้อมูลพื้นฐานอยู่แล้ว

ทางแก้ก็คือออกโมเดลระบบเรียนรู้ไปยังภาพดาวเทียมให้เก็บข้อมูลคุณสมบัติของถนนโดยอัตโนมัติ วิธีการนี้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ภาพเหล่านี้ได้รับการอัปเดตอยู่สม่ำเสมอ และมุมมองจากด้านบนจะทำให้เห็นภาพเลนถนนมากกว่า ปัญหาคือภาพถนนจากภาพถ่ายดาวเทียมมักถูกบดบังจากวัตถุ เช่น ต้นไม้และตึก ทำให้ยิ่งยากสำหรับระบบเรียนรู้ นี่จึงเป็นจุดที่ MIT เข้ามาพัฒนา

MIT ร่วมกับ Qatar Computing Research Institute (QCRI) ได้ออกแบบระบบที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมโครงข่ายประสาทเทียมให้คาดการณ์อัตโนมัติถึงประเภทถนนและจำนวนเลนที่อยู่ภายใต้สิ่งบดบัง ในการทดสอบ ระบบที่เรียกว่า RoadTagger นับจำนวนเลนได้แม่นยำ 77 เปอร์เซ็นต์ และสามารถบอกประเภทถนนได้ว่าเป็น ถนนในพื้นที่อาศัยหรือถนนทางหลวง ด้วยความแม่นยำถึง 93 เปอร์เซ็นต์

นักวิจัยวางแผนที่จะพัฒนา RoadTagger ให้คาดการณ์คุณสมบัติอื่นๆ ด้วย เช่น จุดจอดรถและเลนจักรยาน เป้าหมายหลักของทีมวิจัยนี้คือ การทำให้ขั้นตอนการสร้างแผนที่ดิจิทัลคุณภาพสูงทำได้โดยอัตโนมัติ จะได้นำไปใช้งานในประเทศไหนก็ได้ ซึ่งนั่นอาจทำให้การเปลี่ยนเลนฉับพลันในวินาทีสุดท้ายเป็นเรื่องอดีตไปเลย