นักวิจัยเปลี่ยนใบสับปะรดให้กลายเป็นชิ้นส่วนของโดรน

0
https://o.aolcdn.com/images/dims?thumbnail=640%2C&quality=95&image_uri=https%3A%2F%2Fs.yimg.com%2Fos%2Fcreatr-uploaded-images%2F2021-01%2Fac761e50-4f8c-11eb-b75f-6727f7f0aaf6&client=amp-blogside-v2&signature=bb84c734c98b5f5860ae79512f095e40e002efe9
University Putra Malaysia professor Mohamed Thariq holds pineapple leaves and a drone partially made with pineapple stems, in Jenjarom, Malaysia December 12, 2020. Picture taken December 12, 2020. REUTERS/Lim Huey Teng - RC2M1L9AX0A6

นักวิจัยในมาเลเซียได้ค้นพบแนวทางที่จะเปลี่ยนไฟเบอร์จากใบสับปะรดให้กลายเป็นวัสดุที่แข็งแรงพอที่จะสร้างเฟรมของโดรนได้ โดยศาสตราจารย์ Mohamed Thariq Hameed Sultan แห่งมหาวิทยาลัย Putra University กล่าวกับ Reuters ว่าโดรนที่สร้างจากวัสดุดังกล่าวนั้นมีอัตราส่วนความแข็งแรงต่อน้ำหนักมากกว่าเฟรมที่สร้างจากไฟเบอร์สังเคราะห์ อีกทั้งยังราคาถูกกว่าและเบากว่าด้วย

ตามข้อมูลจากนักวิจัย เฟรมที่เสียหายแล้วนั้นสามารถฝังกลบและวัสดุชีวภาพนี้จะย่อยสลายไปได้ภายใน 2 สัปดาห์ ซึ่งพวกเขายังกล่าวอีกว่าตัวต้นแบบที่สร้างจากวัสดุนั้นได้บินไปแล้วกว่า 1,000 เมตร (3,280 ฟุต) และเหมือนกับโดรนตัวอื่นๆ คือสามารถที่จะบินได้กว่า 20 นาที นอกจากนี้ นักวิจัยยังมุ่งหวังที่จะสร้างโดรนขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่านี้อีกเพื่อที่จะทดลองใส่น้ำหนักให้มากขึ้น อย่างเช่นเซ็นเซอร์ภาพที่อาจจะนำไปประยุกต์ใช้ในการเกษตรได้

โครงการดังกล่าวนี้ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อปี 2560 ซึ่งเริ่มต้นจากการค้นหาแนวทางการใช้ขยะจากสับปะรดให้ได้อย่างยั่งยืน โดยเกษตรกรนั้นมักจะเผาหรือทิ้งใบไปหลังจากที่ได้ผลสับปะรดอันเป็นอีกต้นเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศได้ ดังนั้น การนำใบสับปะรดมาขายเพื่อทำเป็นวัสดุดังกล่าวนั้นจะมีประโยชน์มากกว่า ทั้งเรื่องรายได้ให้กับเกษตรกรและยังลดผลเสียกับเรื่องสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

Source : https://www.engadget.com/drones-sustainability-pineapple-malaysia-research-200222549.html