เวลาที่โลกเกิดหลุมอุกกาบาตเกิดขึ้น สำหรับก้อนอุกกาบาตใหญ่ๆ ก็คงจะหาได้ไม่ยาก แต่ถ้าเป็นก้อนเล็กๆ แล้วก็มักจะถูกละเลยไป ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สามารถค้นพบได้ไม่ถึง 2% เท่านั้นเอง แต่อย่างไรก็ดี จากรายงาน Universe Today นักวิจัยได้พัฒนาระบบที่ทำให้เกิดโดรนขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ใช้ระบบ Machine Learning เพื่อค้นหาอุกกาบาตที่มีขนาดเล็กในพื้นที่ตกกระทบที่อาจจะ”ซ่อน”อยู่หรือในที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ
เทคโนโลยีดังกล่าวใช้การผสมผสานกันของโครงข่าย Convolutional Neural Network หลายตัวเพื่อรู้จำอุกกาบาตโดยอิงจากภาพที่ได้เรียนรู้เข้ามา ทั้งจากภาพในโลกออนไลน์หรือภาพถ่ายที่ทีมได้จัดเก็บขึ้นมาเอง ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้ AI สามารถคัดแยกระหว่างหินอวกาศกับหินธรรมดาได้แม้ว่าจะมีรูปทรงหรือสภาพภูมิประเทศจะมีความหลากหลายก็ตาม
ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ได้ถึงกับไร้ที่ติ แม้ว่าโดรนทดสอบจะสามารถระบุกอุกกาบาตที่จัดเตรียมไว้ได้ถูกต้อง แต่ก็ยังคงมี false positive ออกมาบางส่วน ซึ่งคาดว่าคงต้องใช้เวลาอีกสักพักหนึ่งก่อนที่โดรนจะสามารถเชื่อถือได้มากพอที่จะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องในตัวเอง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวจะมีความหมายในด้านอวกาศอย่างมีนัยสำคัญถ้าหากเทคโนโลยีสามารถปรับปรุงความถูกต้องได้ดีขึ้น ที่จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถค้นหาอุกกาบาตได้มากขึ้นที่อาจจะเล็กเกินไปในการค้นหาด้วยวิธีการปัจจุบัน
Source : https://www.engadget.com/drones-find-meteorite-impact-sites-215545994.html