อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 ทางอากาศด้วยแคปซูลความดันลบ

0

SCG Chemicals จับมือ International SOS ร่วมพัฒนาแคปซูลความดันลบสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศที่เหมาะกับเครื่องบินทุกประเภทในประเทศไทย

ตลอดช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ได้ให้การสนับสนุนลูกค้าองค์กรทั่วโลกเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับพนักงานด้วย Workforce Resilience Solutions รวมถึงการเคลื่อนย้ายทางการแพทย์ รวมถึงการส่งตัวกลับประเทศไทยและกลับสู่ประเทศภูมิลำเนา

อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ร่วมมือกับ เอสซีจี เคมิคอลส์ พัฒนาและออกแบบแคปซูลความดันลบสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ (Portable Medical Isolation Unit: PMIU) เป็นแห่งแรกที่ใช้ได้กับเครื่องบินทุกประเภทที่มีในประเทศไทย ทำให้มั่นใจได้ถึงความสามารถในการเคลื่อนย้ายทางการแพทย์ชั้นนำ สำหรับลูกค้าองค์กรและพนักงานที่ใช้บริการของอินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส

โดยทั้งสองบริษัทได้ทํางานอย่างใกล้ชิดกับทุกหน่วยงานของทางภาครัฐที่เกี่ยวข้องในไทย และผู้ให้บริการเครื่องบินเพื่อให้แน่ใจว่า PMIU เป็นไปตามมาตรฐานการบินสากล ทั้งในด้านคุณภาพและความปลอดภัย PMIU นี้เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 ทางอากาศ ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อไปรับการรักษาเฉพาะทางในสถานที่อื่น ๆ ได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ยังช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อไปยังบุคลากรทางการแพทย์ ทีมนักบิน และทีมพยาบาลที่ทำการเคลื่อนย้ายทางอากาศ

ศุภธิดา รัตนสวัสดิ์ Medical and Well-being Business Manager เอสซีจี เคมิคอลส์ กล่าวว่า “ความร่วมมือคือกุญแจแห่งความสำเร็จของโครงการนี้ การทำงานอย่างใกล้ชิดกับ International SOS ซึ่งเป็นผู้นำด้านการขนส่งผู้ป่วยทางอากาศ ช่วยให้เราเข้าใจข้อกำหนดต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น การออกแบบที่เหมาะสมตามมาตรฐานทางการแพทย์ และเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบิน”

เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส ได้ทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยแคปซูลความดันลบสำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศเป็นครั้งแรกจากนครย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา มายังประเทศไทย โดยผู้ป่วยเป็นพนักงานชาวไทยของบริษัทน้ำมันและก๊าซในเมียนมาที่ใช้บริการของ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส พนักงานมีอาการป่วยรุนแรงด้วยปัญหาระบบทางเดินหายใจ และจำเป็นต้องได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางที่ศูนย์การแพทย์ที่ใกล้ที่สุดในกรุงเทพฯ

เนื่องด้วยข้อจำกัดที่เข้มงวดด้านการเดินทางระหว่างประเทศ ทีมปฏิบัติการทางการแพทย์จึงทำงานผ่านกระบวนการที่มีความซับซ้อนหลายขั้นตอน ตั้งแต่การเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น การตอบรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลปลายทาง การตอบรับเข้าร่วมภารกิจจากผู้ให้บริการเครื่องบินและการขอใบอนุญาตจากหน่วยงานที่มีอำนาจอนุมัติทั้งในเมียนมาและไทย เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และอื่น ๆ นอกจากนี้ เรายังได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสถานเอกอัครราชทูตไทยในนครย่างกุ้ง

ภารกิจเคลื่อนย้ายผู้ป่วยครั้งนี้ได้ดำเนินการภายใต้ความปลอดภัยขั้นสูงสุดตลอดการขนส่งทั้งทางบกและทางอากาศ ตั้งแต่การรับผู้ป่วยจากโรงพยาบาลที่รักษาอยู่และส่งต่อไปยังโรงพยาบาลปลายทางในประเทศไทย เพื่อสร้างความมั่นใจในด้านสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ป่วย แพทย์ พยาบาล นักบิน และลูกเรือ

นพ.จามร เงินชารี ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ จากบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีที่การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 ทางอากาศนี้ เป็นการดำเนินงานครั้งแรกในภาคเอกชนและประสบความสำเร็จด้วยดี ที่ผ่านมาเราต้องพึ่งพาเครื่องบินเพื่อเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศจากต่างประเทศเพื่อขนส่งผู้ป่วยโควิด-19 ตอนนี้เราสามารถพูดได้ว่าเราเป็นผู้นำในด้านการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 ที่ดำเนินงานโดยตรงจากประเทศไทย ด้วยมาตรฐานการบริการที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงสุด