IBM เผยชิปควอนตัมใหม่ไม่สามารถจำลองด้วยเครื่อง Supercomputer แบบดั้งเดิมได้

0
https://s.yimg.com/uu/api/res/1.2/zKOUPeXocL9qR64GT07DQQ--~B/Zmk9ZmlsbDtoPTQyMjt3PTY3NTthcHBpZD15dGFjaHlvbg--/https://s.yimg.com/os/creatr-uploaded-images/2021-11/3cf83ca0-457e-11ec-a7ff-0e79d67ad107.cf.webp

IBM เคลมว่าตอนนี้ได้พัฒนาไปอีกขั้นในการนำเอาการประมวลผลควอนตัม (Quantum Computing) มาใช้ในเชิงปฏิบัติมากขึ้นแล้ว โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทได้เปิดตัว Eagle หน่วยประมวลผลควอนตัม 127 คิวบิตที่ IBM เคลมว่าเป็นตัวแรกที่ไม่สามารถจำลองขึ้นมาโดยใช้ Supercomputer แบบดั้งเดิมได้แล้ว

ในอีกความหมายหนึ่งที่ IBM ต้องการสื่อก็คือ การจำลอง Eagle ขึ้นมานั้นจะต้องมีจำนวนบิตแบบดั้งเดิมมากกว่าอะตอมที่มีอยู่ในทุกคนบนโลกนี้เลยทีเดียว ซึ่ง IBM ได้ให้เครดิตกับ Breakthrough ความก้าวหน้าของดีไซน์ใหม่นี้ที่สามารถนำเอาส่วนควบคุมของหน่วยประมวลผลไปใส่ไว้ได้หลายชั้น ในขณะที่คิวบิตจะถูกวางไว้เพียงชั้นเดียวเท่านั้น ซึ่ง IBM ยังกล่าวอีกว่าดีไซน์นี้ได้ทำให้เพิ่มศักยภาพในการประมวลผลได้อย่างมีนัยสำคัญ

อีกมุมหนึ่งของ Eagle ที่บริษัทไม่ได้พูดถึง ณ ตอนนี้คือปริมาณควอนตัม (Quantum Volume) ที่เป็นเสมือนมาตรวัดที่วัดผลประสิทธิภาพของควอนตัมคอมพิวเตอร์โดยดูภาพรวมในส่วนต่าง ๆ ด้วย ไม่ใช่แค่ดูที่คิวบิตเท่านั้น แต่จะยังรวมไปถึงวิธีการที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับส่วนอื่น ๆ ด้วยนั่นเอง โดยที่ยิ่ง Quantum Volume มาก ก็แปลว่าควอนตัมคอมพิวเตอร์ก็จะยิ่งมีความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่ยากได้มากขึ้น

Credit : IBM

“หน่วยประมวลผล Eagle 127 คิวบิตตัวแรกของพวกเรานี้ได้มีให้ใช้งานได้ใน Exploratory System บน IBM Cloud สำหรับสมาชิกที่ได้รับคัดเลือกใน IBM Quantum Network” คุณ Jerry Chow ผู้อำนวยการแผนก Quantum Hardware System Development แห่ง IBM กล่าว “Exploratory System นี้จะเป็นส่วนที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีล่าสุดของพวกเรา โดยพวกเราจะไม่ได้การันตีเวลา Uptime หรือว่าประสิทธิภาพในการทำซ้ำใด ๆ ตามที่มีการวัดผลโดย Quantum Volume”

ที่มา: https://www.engadget.com/ibm-eagle-processor-050133991.html