[Guest Post] มาสเตอร์การ์ดเผย 5 ปัจจัยที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในปี 2022

0

ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ปีที่สองของการแพร่ระบาด สถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์ของมาสเตอร์การ์ด ได้เปิดเผย การคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2022 ซึ่งชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มต่างๆ ทั่วโลก ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปีหน้า รายงานฉบับนี้อ้างอิงจากเทรนด์สำคัญๆ โดยแนวโน้วเศรษฐกิจในปี 2022 จะถูกกำหนดโดยการปรับตัวเข้ากับโลกดิจิทัล “Digital Resilience”และการสร้างประสบการณ์ที่ตรงใจผู้บริโภค “Experience Economy” ซึ่งจะแตกต่างจากการให้บริการ และการขายสินค้าโดยทั่วไป แต่เป็นการสร้างความประทับใจ และสร้างความคุ้มค่า เกินความคาดหมายในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ 

การเปลี่ยนแปลงในการออมของครัวเรือน การเติบโตทางเศรษฐกิจ การฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และการใช้จ่ายของผู้บริโภคเพื่อซื้อหา  ‘สิ่งของ’ หรือ ‘‘ประสบการณ์’ ใหม่ๆอยู่เสมอ และธุรกิจต่างๆ ยังคงเดินหน้าสู่ยุคดิจิทัล เผยให้เห็นปัจจัยพื้นฐาน 5 ปัจจัย ได้แก่ การออมและการใช้จ่าย ซัพพลายเชน การมีระบบดิจิทัลเป็นตัวเร่ง การเดินทางท่องเที่ยว และความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้ง 5 ประการจะยังคงเป็นตัวกำหนดเศรษฐกิจของโลก

ผลการวิจัยที่สำคัญ ได้แก่:

  • การเดินทาง: การเดินทางท่องเที่ยวจะเริ่มฟื้นตัวหลังจากเปิดให้เดินทางข้ามประเทศได้ด้วยเที่ยวบินในเส้นทางระยะกลางและเส้นทางไกลซึ่งจะเพิ่มขึ้นในปี 2022 ในขณะที่ข้อจำกัดในการเดินทางได้ส่งผลให้การฟื้นตัวทั่วทั้งภูมิภาคเป็นไปอย่างช้าๆ ในปี 2021 โดยมีตลาดเพียงไม่กี่แห่งในเอเชียแปซิฟิกที่มีการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวภายในประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ซึ่งการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศกลับมาถึงเกือบ 69 เปอร์เซ็นต์ของช่วงก่อนการแพร่ระบาด จึงเป็นที่คาดว่า การท่องเที่ยวจะมีแนวโน้มที่สดใสทั่วภูมิภาคในปี 2022 
  • การออมและการใช้จ่าย*: การออมในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้วในเอเชียแปซิฟิกเป็นกำลังสำคัญของการบริโภคในปี 2022 และปีต่อๆไป การได้เห็นผู้คนกลับมาใช้จ่ายเงินที่ออมไว้เร็วขึ้นอาจหมายถึงการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคในตลาดหลายแห่ง รวมถึง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่นและเกาหลีในอัตราราวๆ 2% ในปี 2022  การใช้จ่ายเงินออมของผู้บริโภคทั่วโลกจะมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของจีดีพีของโลกในปี 2022 เมื่อข้อจำกัดเกี่ยวกับการแพร่ระบาดเริ่มผ่อนคลายลง
  • ระบบดิจิทัล: 20% ของธุรกิจค้าปลีกจะยังคงเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลและเป็นตัวกำหนดวิธีการจับจ่ายและสิ่งที่ผู้บริโภคซื้อหา เราได้เห็นการสมัครสมาชิกกับอีคอมเมิร์ซต่างๆ เพิ่มขึ้นในปี 2021 ในเกือบ 88% ของประเทศใน 32 ตลาดเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว – โดยเฉลี่ยแล้ว สัดส่วนการสมัครสมาชิกกับการใช้จ่ายทั้งหมดเพิ่มขึ้น 1.25 เท่า จากปี 2020 ถึง 2021 ใน 6 ตลาดในเอเชียแปซิฟิก ธุรกิจที่ได้รับผลประโยชน์จากโมเด็ลนี้ได้แก่ บริษัทรถยนต์ บริการเพื่อนออกกำลังกายออนไลน์ การเช่าจักรยาน และบริการสัตว์เลี้ยง
  • ซัพพลายเชน: มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2022 การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเพื่อซื้อหาบริการต่างๆ ในเอเชียจะเพิ่มขึ้น  ในขณะที่ความต้องการสินค้ายังคงอยู่ต่อไป ในขณะที่ปัญหาซัพพลายเชนจะยังคงมีอยู่ ส่งผลให้ต้นทุนด้านโลจิสติกส์สูงขึ้นต่อไปและราคาสินค้าทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น การส่งออกก็จะยังคงเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญในภูมิภาค
  • ความเสี่ยง: ความเสี่ยงต่างๆ ยังคงมีศักยภาพที่จะสร้างปัญหาแก่เศรษฐกิจโลก โควิดสายพันธุ์ใหม่ เช่น    โอมิครอนเป็นความเสี่ยงสูงสุดในตอนนี้ อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความเสี่ยงอื่นๆ ที่สามารถส่งผลต่อเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นฟู ไม่ว่าจะเป็น การปรับราคาที่อยู่อาศัย ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น และสถานการณ์การคลังหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหมดลงในประเทศที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว

เดวิด แมน หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ มาสเตอร์การ์ด เอเชียแปซิฟิกและตะวันออกกลาง กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าปีที่ผ่านมาจะมีแต่ความไม่แน่นอน เราก็ยังคงมองโลกในแง่ดีสำหรับปีข้างหน้า และมีความคาดหวังว่าปี 2022 จะเป็นปีแห่งการฟื้นต้วด้านการท่องเที่ยวในเอเชีย แม้ว่าการฟื้นตัวทั่วภูมิภาคจะไม่ได้เป็นไปอย่างเรียบง่าย แต่เราคาดว่าความต้องการจับจ่ายและการนำเงินออมของมาใช้ของผู้บริโภคจะเพิ่มมากชึ้น เห็นได้จากการฟื้นตัวในกลุ่มสินค้าที่ฟื้นตัวได้ง่ายเช่น เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ความแข็งแกร่งที่ต่อเนื่องของอีคอมเมิร์ซ และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดเช่น การตกแต่งปรับปรุงบ้าน รวมไปถึงงานอดิเรกก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในรูปแบบการเป็นสมาชิก ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นแนวโน้มเชิงบวก แม้จะยังคงมีความกังวลจากโควิดสายพันธุ์ใหม่ เงินเฟ้อ และปัญหาซัพพลายเชนก็ตาม”

*การจัดทำรายงาน

สถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์ของมาสเตอร์การ์ดใช้ข้อมูลการจับจ่ายซื้อขายแบบไม่ระบุชื่อจากในเครือข่ายของมาสเตอร์การ์ดรวมถึงข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เพื่อใช้วัดปริมาณและราคาสินค้าเทียบกับการบริการในระบบเศรษฐกิจทั่วโลก

หากสนใจสามารถดูรายงานเศรษฐกิจปี 2022 ฉบับเต็มได้ที่นี่ โดยรายงานดังกล่าวเป็นฉบับที่สามของสถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์ รายงานอื่นๆ สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่

หมายเหตุ

การวิเคราะห์และเนื้อหาในรายงานฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือทางการศึกษาในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน หรือคำแนะนำสำหรับการดำเนินการใดโดยเฉพาะ และไม่ควรใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจด้านธุรกิจหรือการลงทุน เนื้อหาในรายงานไม่ได้มีการรับรองด้านความถูกต้อง และเป็นการให้ข้อมูลบนพื้นฐาน “ตามที่ระบุ” แก่ผู้ใช้โดยต้องรับผิดชอบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นด้วยตัวเอง เนื้อหาในรายงานฉบับนี้ตั้งแต่การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการจำลองต่างๆ จากสถาบันวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ของมาสเตอร์การ์ด ไม่ได้สะท้อนถึงผลการดำเนินงานหรือสถานะทางการเงินของมาสเตอร์การ์ดแต่อย่างใด

เกี่ยวกับสถาบันวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ของมาสเตอร์การ์ด

สถาบันวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ของมาสเตอร์การ์ดเปิดตัวในปี 2020 เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในระดับมหภาคผ่านมุมมองของผู้บริโภค ทางสถาบันมีทีมนักเศรษฐศาสตร์ นักวิเคราะห์ และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่คอยร่วมกันใช้ข้อมูลเชิงลึกของมาสเตอร์การ์ดเช่น Mastercard SpendingPulse™ และข้อมูลจากหน่วยงานที่สามเพื่อจัดทำรายงานเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอ สำหรับลูกค้ารายหลัก พันธมิตร และผู้กำหนดนโยบาย