บทความโดย เอ็มมานูเอล พิลไล หัวหน้าฝ่ายการศึกษาและฝึกอบรมของอะเมซอน เว็บ เซอวิสเซส ภูมิภาคอาเซียน
แนวทางการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้งานในองค์กร ภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ก้าวไปอย่างรวดเร็ว และได้รับแรงผลักดันอย่างมากจากการระบาดของโควิด-19 การทำงานและการเรียนทางไกลกลายเป็นเรื่องปกติ และนวัตกรรมกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ปัญหาการขาดแคลนผู้ที่มีทักษะด้านดิจิทัลที่ภูมิภาคนี้กำลังเผชิญก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ช่องว่างด้านทักษะที่กว้างขึ้นนี้ส่งผลด้านลบต่อการเติบโตของทั้งภูมิภาค ซึ่งระบบเศรษฐกิจของ 6 ประเทศในภูมิภาคนี้จะต้องการผู้ที่มีทักษะด้านดิจิทัลอีก 670 ล้านคน ภายในปีพ.ศ. 2568 เพื่อตอบสนองความต้องการผู้ที่มีทักษะด้านดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 5 เท่าในภูมิภาคนี้
เราจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีทักษะที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการเติบโตทางเศรษฐกิจในที่เกิดจากการเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัวภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ โครงการต่าง ๆ ที่ช่วยส่งเสริมทักษะด้านคลาวด์มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน และทุกภาคส่วนที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจควรเข้ามามีส่วนร่วม ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคการศึกษา บริษัทเอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร การคาดการณ์ต่อไปนี้คือแนวโน้มบางส่วนที่เราเชื่อว่าจะช่วยกำหนดอนาคตของการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะด้านไอทีของภูมิภาคในปีหน้า
องค์กรจะมองถึงการพัฒนาทักษะให้แก่พนักงานปัจจุบันเพื่อรักษาผู้ที่มีความสามารถไว้มากกว่าการจ้างงานใหม่
ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกย้ายระบบไอทีไปสู่ระบบคลาวด์ ความต้องการผู้ที่มีทักษะด้านคลาวด์ เพื่อช่วยเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนี้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น องค์กรต้องการ “สถาปนิกระบบคลาวด์” ที่มีทักษะในการออกแบบโซลูชันไอทีที่ยืดหยุ่น ปลอดภัย และมีความพร้อมใช้งานสูง เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้ระบบคลาวด์ จากการสำรวจ 20th CEO Survey ของ PwC พบว่ามากกว่าร้อยละ 50 ของซีอีโอในภูมิภาคเอเชีบแปซิฟิก กล่าวว่า การจ้างงานผู้ที่มีความสามารถด้านดิจิทัลที่มีทักษะที่เหมาะสมนั้นเป็นเรื่องยาก นอกจากนี้ IDC ยังคาดการณ์ว่า การสูญเสียรายได้ที่เกิดจากช่องว่างของทักษะด้านไอทีทั่วโลกจะอยู่ที่ 775 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีบุคลากรเกือบ 150 ล้านคน ใน 6 ประเทศ (ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้) ที่นำทักษะด้านดิจิทัล เช่น การออกแบบสถาปัตยกรรมระบบคลาวด์มาใช้ ในการทำงานของพวกเขาในปัจจุบัน ซึ่งประมาณ 6 ใน 10 ใช้ทักษะดิจิทัลขั้นสูง เช่น แมชชีนเลิร์นนิ่ง และเพื่อให้สอดคล้องกับของการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี บุคลากรในประเทศเหล่านี้ ควรจะต้องได้รับทักษะด้านดิจิทัลใหม่ ๆ อีก 7 ทักษะโดยเฉลี่ยภายในปีพ.ศ. 2568
การระบาดของโควิด-19 เป็นความท้าทายของทำให้บริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการว่าจ้างผู้ที่มีความสามารถใหม่ ๆ เพื่อเข้าทำงาน สำหรับหลาย ๆ คน การทำงานทางไกลได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนอาชีพ และบุคลากรจำนวนมากขึ้นกำลังตั้งคำถามเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในที่ทำงาน โดยเลือกที่จะออกจากงานเพื่อค้นหางานใหม่ที่มุ่งเน้นเป้าหมายและมีสมดุลในชีวิตมากขึ้น ทำให้ความซับซ้อนในการสรรหาบุคลากรใหม่มีมากขึ้น ส่งผลให้ทักษะด้านดิจิทัลมีช่องว่างมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย
องค์กรต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้มีความริเริ่มต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการฝึกอบรมบุคลากรและจะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องในปีนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการด้านบุคคลากรผู้ที่มีทักษะด้านดิจิทัลที่มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการกำหนดวันฝึกอบรม ไปจนถึงการลงทุนในแนวทางการฝึกอบรมที่ออกแบบตามความต้องการการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล การฝึกอบรมที่ตรงเป้าหมายและเฉพาะเจาะจง กลายเป็นเครื่องมือหลักในการรักษาผู้ที่มีความสามารถระดับสูงและฝึกฝนดาวรุ่งใหม่ ๆ องค์กรที่มุ่งเน้นการจัดการฝึกอบรมและมอบโอกาสในการเติบโตในอาชีพ จะเห็นถึงผลลัพธ์จากการลงทุนเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้จ่ายของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นและอัตราการปิดการขายที่สูงขึ้น ไปจนถึงการเร่งวงจรการขาย และการพัฒนาในด้านการรักษาลูกค้า
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก องค์กรต่าง ๆ กำลังเริ่มสร้างสภาพแวดล้อมด้านการฝึกอบรมที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องช่องว่างด้านทักษะ เพื่อขับเคลื่อนวัฒนธรรมแห่งการทดลองและเร่งสู่การใช้นวัตกรรม บริษัทค้าปลีกชื่อ Target ที่อยู่ในออสเตรเลีย ได้เปิดตัว AWS Skills Guild ของบริษัทในปีพ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างทักษะระบบคลาวด์และช่วยให้บุคลากรด้านไอทีของ Target ได้รับการรับรอง AWS Certification ทำให้พนักงานจากทีมต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกัน เข้าใจความต้องการของลูกค้า และช่วยให้บุคลากรด้านไอทีแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น เนื่องจากทุกคนในองค์กรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับระบบคลาวด์
การฝึกทักษะเป็นผู้สร้างนวัตกรรม
การระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนการแข่งขันทางนวัตกรรมไปโดยสิ้นเชิง การตอบสนองความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันต้องมีความรวดเร็ว พร้อมปรับเปลี่ยน และมีความยืดหยุ่นในการรับมือและปรับให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่คาดฝันได้อย่างรวดเร็ว ที่ AWS เราได้ยินจาก CEO และ CTO อยู่เสมอว่าตัวชี้วัดของลูกค้าที่สำคัญที่สุดคือ “เวลามีค่า” ไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมใดก็ตาม ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพของตัวชี้วัดนี้เริ่มต้นด้วยการทำให้ทีมของคุณมีทักษะที่เหมาะสม
แม้ว่าจะไม่ซับซ้อน แต่การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนั้นเป็นสิ่งที่ใช้เวลา อย่างไรก็ตาม บริษัทที่มุ่งเน้นที่จะให้การฝึกอบรมและโอกาสในการเติบโตในอาชีพการงาน พบว่าบริษัทเหล่านั้นมีพลังที่มุ่งสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวบริการหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากนี้ กว่า 50% ของบุคลากรด้านไอที มองว่าการขาดการเรียนรู้และการพัฒนาเป็นสาเหตุหลักในการเปลี่ยนงาน การให้โอกาสด้านการฝึกอบรมจะนำไปสู่การทำงานอยู่กับบริษัทเดิมเพิ่มมากขึ้น
เพื่อสร้างวัฒนธรรมด้านนวัตกรรมระบบคลาวด์ โคเรียนแอร์ สายการบินที่มีขนาดฝูงบินใหญ่ที่สุด และเป็นสายการบินแห่งชาติของเกาหลีใต้ ได้แนะนำโปรแกรม AWS Innovation Builder ในระหว่างขั้นตอนในการย้ายข้อมูลสู่ระบบคลาวด์ เพื่อให้บุคลากรมีทักษะที่เหมาะสมในการใช้ข้อมูลและลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และสร้างวัฒนธรรมที่ระบบไอทีอยู่บนระบบคลาวด์ (cloud-first culture) ซึ่งโคเรียนแอร์ได้ฝึกอบรมบุคลากร 500 คน ให้มีทักษะด้านเทคโนโลยีคลาวด์ขั้นพื้นฐาน และนำทีมฝ่ายธุรกิจและเทคโนโลยีมารวมกันเพื่อสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ด้วยความรวดเร็วและคล่องตัว
การฝึกอบรมที่ออกแบบมาเฉพาะบุคคลได้กลายเป็นมาตรฐาน
หลังจากเกิดการระบาดของโควิด-19 การฝึกอบรมบุคลากรใหม่ในทันทีและแบบปีละครั้งกลายเป็นสิ่งที่หมดยุค องค์กรต่าง ๆ หันมาใช้การฝึกอบรมด้านดิจิทัลที่ถูกออกแบบมาเฉพาะบุคคลและมีความคล่องตัว เพื่อสร้างวัฒนธรรมของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจพบว่าร้อยละ 87% ขององค์กรที่ลงทุนในการฝึกอบรมทักษะดิจิทัลได้รับประโยชน์จากการที่สามารถเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยการผสมผสานระหว่างการเรียนการสอน เทคโนโลยี และเนื้อหาดิจิทัล การฝึกอบรมเฉพาะบุคคลจึงกลายเป็นมาตรฐานใหม่ของการฝึกอบรมเพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมและมีทักษะใหม่ ๆ การฝึกอบรมเฉพาะบุคคลเข้ามาแทนที่วิธีการฝึกอบรมแบบเหมารวมที่ใช้หลักสูตรเดียวสำหรับทุกคน เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรได้รับการฝึกอบรมตามความต้องการเฉพาะของตนเอง การฝึกอบรมที่ได้รับการพัฒนานี้ส่งผลให้พวกเขามีความมั่นใจเพิ่มขึ้น และนำไปสู่สภาพแวดล้อมการทำงานที่มีนวัตกรรมและการทำงานร่วมกันมากขึ้น
Techcombank หนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเวียดนาม ได้ใช้ประโยชน์จากโปรแกรมการฝึกอบรมของ AWS สำหรับบุคลากร 700 คน โดยจะมีการฝึกอบรมด้านดิจิทัลเกี่ยวกับพื้นฐานของระบบคลาวด์ด้วยตนเองให้แก่บุคลากรของธนาคารทุกคน การฝึกอบรมของ AWS มีคลาสเรียนสดพร้อมผู้สอน ซึ่งจะช่วยเสริมทักษะให้ผู้เข้าร่วม 2,000 คนในอีกสองปีข้างหน้า Techcombank จะจัดฝึกอบรมพื้นฐาน เช่น หลักสูตร AWS Certified Cloud Practitioner ให้กับบุคลากรที่ไม่ใช่บุคลากรด้านไอที ในขณะที่บุคลากรด้านไอทีที่ทำงานเกี่ยวกับการโยกย้ายข้อมูลสู่ระบบคลาวด์โดยตรง จะได้รับการฝึกอบรมด้านเทคนิคในระดับกลางถึงขั้นสูง ได้แก่ สถาปัตยกรรม การพัฒนา แมชชีนเลิร์นนิ่ง และการรักษาความปลอดภัย ทักษะใหม่เหล่านี้จะช่วยให้ธนาคารสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น และอำนวยความสะดวกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ที่เป็นนวัตกรรมอย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้บุคคลากร ธุรกิจต่าง ๆ และองค์กรในเวียดนามเติบโต
การฝึกอบรมทักษะด้านคลาวด์ขยายออกไปมากกว่าแผนกไอที
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันทั่วโลก มันคงเป็นเรื่องยากที่จะหาบทบาทหน้าที่ ที่ไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการทำงานให้สำเร็จ หลายองค์กรพบว่าการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านคลาวด์ช่วยส่งเสริมบุคลากรในด้านการขาย การตลาด การเงิน ทรัพยากรบุคคล และอื่น ๆ มองเห็นโอกาส ปรับปรุงการดำเนินงาน เพิ่มความคล่องตัว และลดต้นทุนโดยรวม จากการสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่าร้อยละ 83 ของคนทำงานด้านเทคนิคและร้อยละ 76 ของคนที่ไม่ได้ทำงานด้านเทคโนโลยี ที่ได้เข้าร่วมฝึกอบรมทักษะรู้สึกว่าการฝึกอบรมดังกล่าวได้ปรับปรุงการจ้างงานของพวกเขา ช่วยให้มีความรู้เท่าทันกับเทคโนโลยีล่าสุด ตัวอย่างเช่น นักวิเคราะห์ระบบธุรกิจสามารถใช้คลาวด์เพื่อค้นหาโอกาสเติบโตทางธุรกิจใหม่ ๆ และผู้จัดการโปรแกรมสามารถรวมซอฟต์แวร์คลาวด์เข้ากับกลยุทธ์โดยรวมได้
ในปีพ.ศ. 2565 นี้ ความสนใจและการโยกย้ายข้อมูลสู่ระบบคลาวด์มีการเติบโตมากขึ้น หลายองค์กรจะหันมาใช้แนวทางนี้สำหรับทั้งองค์กรมากขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรของบริษัทไม่ว่าจะทำงานในแผนกใด จะเข้าใจบทบาทของระบบคลาวด์ที่มีต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยรวมขององค์กร
การเข้าสู่ยุคดิจิทัลมีพลังต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างความมั่งคั่ง และลดปัญหาความยากจน อย่างไรก็ตาม โอกาสที่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลมีให้นั้นเริ่มต้นจากบุคลากรที่มีทักษะ และเราสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมและรัฐบาลเริ่มลงมือสนับสนุนในปีนี้ การฝึกอบรมบุคลากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องอาศัยความร่วมมือทำงานเป็นทีม ทุกคนต้องจัดการกับปัญหาร่วมกันด้วยโปรแกรมการฝึกอบรมที่ปรับให้เหมาะกับความสามารถทางเทคโนโลยีและงบประมาณที่มี