[Guest Post] เปิดศักยภาพดิจิทัลประเทศไทย เพื่อยกระดับสาธารณสุขให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น

0

จากที่เคยซับซ้อน มีค่าใช้จ่ายสูง และมีข้อจำกัด ปัจจุบันโซลูชันดิจิทัลสำหรับการดูแลสุขภาพกลายเป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งแทนที่จะเป็นการนำมาใช้สร้างประโยชน์ในรูปแบบใหม่เท่านั้น แต่เราควรใช้โซลูชันดิจิทัลเหล่านี้เป็นพื้นฐานในการสร้างผลลัพธ์ในด้านการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่โลกกำลังเข้าสู่ระบบนิเวศหรืออีโคซิสเต็มที่มีความเป็นดิจิทัลสูงมากเช่นนี้

ร่วมเปิดศักยภาพดิจิทัลประเทศไทย เพื่อยกระดับสาธารณสุขให้ยั่งยืนยิ่งขึ้นโดย ราฟาเอล อิทาห์ ผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัลเฮลท์ Axios International ได้ในบทความนี้

ราฟาเอล อิทาห์ ผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัลเฮลท์ Axios International

โซลูชันดิจิทัลถือเป็นตัวช่วยทรงประสิทธิภาพ ที่เข้ามาพัฒนาวิธีการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพให้กับผู้ป่วยในปัจจุบัน โดยมีส่วนร่วมกับทั้งผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพและผู้สั่งจ่ายยาในขณะเดียวกัน ด้วยการเชื่อมต่อแบบออนไลน์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โซลูชันดิจิทัลกลุ่มนี้ก็ยิ่งมีบทบาทสำคัญ ไม่เพียงแต่ในแง่ของการยกระดับให้การเข้าถึงการรักษาพยาบาลมีความยั่งยืนมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการส่งเสริมความสม่ำเสมอในการรักษา หรือการลดภาระของสถาบันสุขภาพและการเข้าถึงผู้ป่วยได้ในทุกสถานที่ ไม่ว่าผู้ป่วยจะอยู่ที่ใด สำหรับประเทศไทยที่เป็นหนึ่งในผู้นำด้านดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทยอยขยายนโยบายดิจิทัลของประเทศอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ไทยมีความพร้อมที่จะเร่งส่งเสริมระบบนิเวศด้านการดูแลสุขภาพดิจิทัล เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นสำหรับประชาชนทุกคน

ก้าวข้ามความท้าทายในปัจจุบัน

ด้วยโครงการดูแลสุขภาพถ้วนหน้า ประเทศไทยได้ยกระดับความมั่นคงด้านการรักษาพยาบาล และจัดการกับความยั่งยืนของการดูแลสุขภาพ ด้วยการปรับปรุงการเข้าถึงการรักษาและยาสำหรับประชาชนทั่วประเทศอย่างจริงจัง  ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าประชาชนสามารถเข้าถึงยาได้ในราคาไม่แพง และแม้แต่วงการแพทย์ส่วนบุคคล ก็กำลังทุ่มเททรัพยากรเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามความจำเป็นผ่านโครงการริเริ่มต่างๆ เช่น โครงการติดตามผู้ป่วย (PAPs) และโครงการสนับสนุนผู้ป่วย (PSPs)

ทว่าในขณะที่จำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้น และประเทศกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรศาสตร์ ระบบการรักษาพยาบาลของประเทศไทยจะยังคงเผชิญกับความท้าทายในด้านโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคเบาหวาน (คาดว่าจำนวนผู้ป่วยโรคนี้จะสูงถึง 5.3 ล้านคนภายใน พ.ศ. 2583) และโรคมะเร็ง (สาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2541) โดยการรักษาและยาที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง อาจมีราคาแพงและไม่สามารถเข้าถึงได้จากประชากรทุกคน

นอกจากนี้ การเข้าถึงศูนย์เฉพาะทาง โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตเมืองยังคงเป็นเรื่องท้าทาย ซึ่งหากละเลยโดยไม่ได้มีการตรวจสอบที่แน่ชัด อาการเหล่านี้อาจขยายตัวจนส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยในระยะยาว ในขณะเดียวกันก็ยังขัดขวางการดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพของทั้งผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ (เช่น แพทย์) ผู้สั่งจ่ายยา (เช่น เภสัชกร) และรัฐบาล

สุดยอดศักยภาพดิจิทัลสำหรับการดูแลสุขภาพของประเทศไทย

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่สูงและกำลังเติบโตต่อเนื่อง ได้รับการยกให้เป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นผู้บุกเบิกการให้บริการเครือข่าย 5G ก่อนใครในภูมิภาค ภาวะนี้มีผลขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง การดูแลสุขภาพจะกลายเป็นภาคส่วนที่ได้รับความสนใจกลุ่มแรก เพราะเป็นรากฐานที่สำคัญของแผนงานทางเศรษฐกิจและสังคมตามโยบาย Thailand 4.0 ขณะเดียวกัน การปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลของประเทศยังเป็นไปตามกรอบยุทธศาสตร์ eHealth Strategy ระดับชาติ ซึ่งเน้นเรื่องความพยายามใช้ประโยชน์จากความต้องการด้านดิจิทัลเพื่อปรับปรุงการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้นของประเทศ ความมุ่งมั่นที่ชัดเจนนี้สังเกตได้จากการให้ความสำคัญต่อเติบโตของบริการด้านสุขภาพแบบดิจิทัลของประเทศไทยจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างสูง ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะกลุ่มสตาร์ทอัปและผู้ใช้งานเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการใช้ประโยชน์จากศักยภาพด้านการดูแลสุขภาพดิจิทัลที่มีอยู่ภายในประเทศ ซึ่งสามารถนำไปใช้เสริมสร้างระบบนิเวศด้านการดูแลสุขภาพได้อย่างเป็นรูปธรรม ในขณะที่บริการทางการแพทย์ทางไกลหรือ telehealth ขยายตัวตามความต้องการด้านดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านสาธารณสุขของประเทศจึงจำเป็นต้องศึกษาทุกมิติของการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพในประเทศ และประเมินให้ได้ว่าจะเอาชนะช่องว่างที่มีอยู่ได้อย่างไร ซึ่งความพยายามดังกล่าวจะต้องมุ่งเน้นไปที่การเข้าถึงและการเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วย และสร้างความมั่นใจเรื่องความยั่งยืนในระยะยาวของระบบสาธารณสุขบนเขตแดนดิจิทัล

ความแตกต่างทางดิจิทัล

ในประเด็นการกำหนดราคาและเงื่อนไขการชำระเงินคืนที่ยังคงเป็นปัญหาอยู่ ดิจิทัลสามารถมีบทบาทสำคัญในการช่วยขยายการเข้าถึงและสนับสนุนโครงการริเริ่มที่มีอยู่ เพื่อให้แน่ใจว่าโครงการต่างๆที่ได้รับการสนับสนุนอยู่นั้น มีประสิทธิภาพและนำไปสู่ภาวะสุขภาพดีถ้วนหน้าที่เชื่อมโยงถึงกันได้

ประสบการณ์ของเราในฐานะองค์กรผู้จัดการ PAP และ PSP ได้แสดงให้เห็นว่าแนวทางที่เหมาะสมที่สุดคือการระบุช่องว่างระหว่างการเดินทางของผู้ป่วยในตลอดเส้นทาง (patient journey) โดยกำหนดว่าใครคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง และปรับเปลี่ยนแนวทางให้เหมาะสมกับแต่ละเคส ด้วยวิธีนี้ ดิจิทัลจะมีบทบาทเป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้แพทย์ได้รับแจ้งเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยในพื้นที่นอกโรงพยาบาล

ในทางกลับกัน ผู้ป่วยจะสามารถรับการดูแลแบบหลายมิติได้ต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการอบรมให้ความรู้ด้านต่างๆ เช่น การให้รายละเอียดเรื่องยาโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่เชื่อถือได้ โปรแกรมฝึกสอน โปรแกรมสนับสนุน และบริการเตือนผ่านระบบเสมือนเพื่อปรับพฤติกรรมการกินยาให้ดีขึ้น ทั้งหมดนี้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นระบบและปลอดภัย สอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับด้านการปกป้องข้อมูลระหว่างประเทศในระดับสากลและระดับท้องถิ่น

ทยานไปกับไทยแลนด์ 4.0 สู่การดูแลสุขภาพที่ยั่งยืน

ขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ระหว่างการวางรากฐานที่จำเป็นต่อการส่งเสริมระบบนิเวศด้านการดูแลสุขภาพ ด้วยเครื่องมือมากมายที่มุ่งช่วยเหลือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบนิเวศด้านการดูแลสุขภาพ ให้สามารถจัดการการเข้าถึงการรักษาและยกระดับผลการรักษาของผู้ป่วย อาทิ แอปพลิเคชัน H4U ซึ่งเปิดตัวใน พ.ศ. 2561 เพื่อสร้างและจัดเก็บโปรไฟล์ผู้ป่วย, บริการคลาวด์สำหรับการดูแลเอกสารผู้ป่วย Smart Health ID รวมถึงการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อสำรวจและขยายช่องทางการส่งมอบบริการด้านสุขภาพแบบดิจิทัลต่อไป

ภาวะนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความตระหนักรู้และเข้าใจดีว่าระบบดิจิทัลด้านการดูแลสุขภาพสามารถมีบทบาทสำคัญในการยกระดับการเข้าถึงการรักษาได้ ด้วยการเติมเต็ม เสริมสร้าง หรือพัฒนาระบบการเข้าพบแพทย์แบบตัวต่อตัวได้ด้วย ขณะเดียวกัน ดิจิทัลทำให้บุคลากรทางการแพทย์เปลี่ยนมาให้ความสำคัญที่ระบบการดูแลซึ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพสามารถพัฒนากลยุทธ์ได้ดีขึ้น ด้วยปริมาณข้อมูลที่มากขึ้นสำหรับการตัดสินใจ และสามารถเข้าถึงผู้ป่วยเพื่อให้การดูแลที่มีคุณภาพดีขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม

ถึงเวลาแล้วที่ระบบดูแลสุขภาพดิจิทัลในประเทศไทยจะก้าวกระโดดอย่างมีนัยสำคัญอีกครั้ง โดยเฉพาะในขณะนี้ที่ประเทศไทยผันตัวสู่ช่วงแห่งการปฏิบัติ 5G และเดินหน้าเติบโตอย่างต่อเนื่องในด้านดิจิทัล ที่ผ่านมา ความก้าวหน้าหลายด้านล้วนมีการนำไปใช้แล้วเพื่อให้คนไทยได้รับบริการด้านการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลได้ดีขึ้น ดังนั้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญเช่นนี้ ทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้องจึงควรต้องร่วมมือกันดำเนินการให้แล้วเสร็จ ซึ่งถือเป็นวิธีเดียวที่สามารถบรรลุเป้าหมายที่สำคัญที่สุด นั่นคือผลการรักษาผู้ป่วยที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน