ผู้บริโภคชื่นชอบการใช้ระบบชีวะมิติเพื่อการชำระเงินที่ปลอดภัยและสะดวกสบายกว่า
ผลวิจัย Mastercard New Payments Index 2022 ชี้ผู้บริโภคชาวไทยเกือบ 80%ยอมรับว่าการใช้ข้อมูลไบโอเมทริกซ์ (Biometric) หรือ การเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลสำหรับยืนยันตัวตน เช่น การสแกนลายนิ้วมือ การยืนยันลักษณะบนใบหน้า มีความปลอดภัยสูงกว่าวิธีการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการกรอกรหัส PIN อย่างไรก็ดียังคงมีประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัว โดยผู้ตอบแบบสอบถามราว 79% มีความวิตกกังวลว่าอาจมีองค์กรธุรกิจต่าง ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลไบโอเมทริกซ์ของพวกเขาได้
ข้อมูลล่าสุดทั้งในด้านพฤติกรรม ทัศนคติ และความชื่นชอบด้านการใช้จ่าย จากผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคของ Mastercard’s second annual New Payments Index จาก 40 ประเทศใน 5 ภูมิภาค รวมถึง 7 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ เวียดนาม ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และไทย แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยมากถึง 50% ใช้ระบบไบโอเมทริกซ์ในการซื้อสินค้าและบริการเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งมีอัตราเกือบเทียบเท่าค่าเฉลี่ยของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกซึ่งอยู่ที่ 53% ที่ใช้ระบบนี้ในการซื้อสินค้าและบริการในช่วงเวลาเดียวกัน
นอกจากนี้ผู้บริโภคชาวไทยถึง 62% มีการใช้ระบบไบโอเมทริกซ์บ่อยขึ้นในปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ และผู้บริโภคมีแนวโน้มจะใช้งานระบบดังกล่าวมากขึ้น หากผู้ให้บริการสามารถจัดการเรื่องความเป็นส่วนตัว (privacy) และความปลอดภัยในการใช้งานของผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม
“ผู้บริโภคชาวไทยเปิดกว้างในการรับเอาเทคโนโลยีดิจัลใหม่ ๆ มาใช้งาน แสดงให้เห็นถึงทัศนคติเชิงบวกต่อการยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลไบโอเมทริกซ์ในการชำระเงิน งานวิจัยชิ้นนี้ถือเป็นเครื่องชี้วัดที่ดีซึ่งทำให้เราเล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยีไบโอเมทริกซ์ที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้งานแพร่หลายขึ้นในประเทศไทย และชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยสามารถนำวิธีการชำระเงินผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟนไปใช้งานในชีวิตจริงได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นประเทศไทยจึงมีศักยภาพสูงในการเติบโตสู่การเป็นสังคมไร้เงินสดในอนาคตผ่านการให้ข้อมูลแก่ประชาชนเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบไบโอเมทริกซ์ในการชำระเงินควบคู่กับการพยายามลดปัญหาเรื่องการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล” ไอลีน ชูว ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ มาสเตอร์การ์ด กล่าว
โดยผู้บริโภคชาวไทยมีอัตราสูงเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ปัจจุบันใช้ระบบไบโอเมทริกซ์ หรือมีแนวโน้มที่จะใช้ในอนาคต โดยประเภทที่นิยมกันมากที่สุดคือการสแกนลายนิ้วมือ (82% ต่อ 72% ของค่าเฉลี่ยในเอเชียแปซิฟิก) การจดจำใบหน้า (80% ต่อ 68%ของค่าเฉลี่ยในเอเชียแปซิฟิก) และการจดจำเสียง (74% ต่อ 59% ของค่าเฉลี่ยในเอเชียแปซิฟิก)
เกี่ยวกับงานวิจัย
งานวิจัย Mastercard’s New Payments Indexทำการวิเคราะห์ทัศนคติ ความชื่นชอบ และพฤติกรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลงในด้านรูปแบบการชำระเงินอุบัติใหม่[1] และข้อมูลเชิงลึกที่ยังไม่ถูกเปิดเผยเกี่ยวกับแรงขับและการพิจารณาของผู้บริโภคเมื่อใช้งานการชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล สำหรับงานวิจัย 2022 New Payments Index ดำเนินการโดย Harris Poll ร่วมกับมาสเตอร์การ์ดตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2565 ผ่านการสำรวจความคิดเห็นของผู้คนจำนวน 35,040 รายในตลาด 40 แห่ง ซึ่งรวมถึงผู้ตอบแบบสอยถามกว่า 7,004 รายในตลาด 7 แห่งของเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ไทย และเวียดนาม
เกี่ยวกับสถาบันวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์มาสเตอร์การ์ด
รายงาน 2022 New Payment Index Research จัดทำโดยแฮร์ริสโพล และมาสเตอร์การ์ด ระหว่างเดือนมีนาคม 2021 ถึงเมษายน 2022 ได้นำเสนอข้อมูลใหม่ล่าสุดทั้งในแง่พฤติกรรม ทัศนคติ และวิธีการชำระเงินที่ผู้บริโภคไทยนิยม ซึ่งมาจากการสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มผู้บริโภค 35,040 คน ครบคลุมตลาด 40 แห่งใน 5 ภูมิภาค ซึ่งรวมถึงตลาดใหญ่ 7 แห่งในเอเชียแปซิฟิกอย่างออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เวียดนาม และไทย
เกี่ยวกับมาสเตอร์การ์ด
มาสเตอร์การ์ด เป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกด้านการชำระเงิน เป้าหมายของเราคือการเชื่อมต่อและขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลให้ครอบคลุมและเป็นประโยชน์แก่คนทุกคนในทุกพื้นที่ โดยการทำให้ธุรกรรมการเงินเป็นเรื่องปลอดภัย สะดวก และเข้าถึงได้ ด้วยข้อมูลที่ปลอดภัยและเครือข่ายพันธมิตร ทำให้เรามีนวัตกรรมและโซลูชั่นต่างๆ ที่สามารถช่วยบุคคลทั่วไป สถาบันการเงิน รัฐบาล และธุรกิจให้ตระหนักถึงศักยภาพของตัวเอง การทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อคนในองค์กร คือวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนทั้งภายในและภายนอกองค์กรของเรา ด้วยเครือข่ายในกว่า 210 ประเทศและพื้นที่ เราได้สร้างโลกที่ยั่งยืนและปลดล็อคความเป็นไปได้ในหลายๆ ด้าน
[1] รูปแบบการชำระเงินอุบัติใหม่: รูปแบบการชำระเงินที่ใช้งานผ่านระบบดิจิทัลหรือบนพื้นฐานด้านเทคโนโลยี และมีระดับการใช้งานที่แตกต่างกันทั่วโลก รายการนี้ยังครอบคลุมตั้งบัญชีธนาคาร กระเป๋าเงินดิจิทัล บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตดิจิทัล แอปพลิเคชันการโอนเงินระบบดิจิทัล คิวอาร์โค้ด กระเป๋าเงินแบบแตะจ่ายผ่านสมาร์ตโฟน บริการชำระเงินด่วน บริการแบบซื้อก่อนจ่ายทีหลัง (BNPL) การชำระผ่านสมาร์ตโฟนด้วยข้อความด่วน เงินคริปโต ระบบชีวะมิติ และอุปกรณ์สวมใส่ที่รองรับการชำระเงิน