ในความพยายามส่งเสริม Media Literacy จากช่องทางออนไลน์ Google ได้เปิดตัวฟีเจอร์ About this image เครื่องมือที่ช่วยค้นไปยังต้นตอของรูปภาพว่ามีที่มาจากที่ใด ให้ผู้ใช้ตรวจสอบแหล่งข้อมูลและสร้างความมั่นใจในความถูกต้องของข้อมูล
About this image หนึ่งเป็นส่วนหนึ่งของฟีเจอร์ About this result ที่จะช่วยผู้ใช้สืบค้นบริบทและที่มาของข้อมูลที่ได้จากการเสิร์ชกูเกิล โดยในวันนี้ ทั้ง About this image และ About this result รองรับการใช้ร่วมกับภาษาเพิ่มเติม 40 ภาษา เช่น ภาษาฮินดี อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม รวมไปถึงภาษาไทย เริ่มใช้งานได้แล้ววันนี้ใน Google Search ทั้งในแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือและหน้าเบราว์เซอร์
ในปี 2022 กูเกิลได้ร่วมกับ Centre for Strategic and International Studies (CSIS) ก่อตั้ง Safer Internet Lab (SAIL) ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียเพื่อทำงานวิจัยเกี่ยวกับข้อมูลปลอมและข้อมูลลวง ซึ่งได้ขยายขอบเขตงานวิจัยมายังประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว โดยศึกษาถึงการใช้สื่อที่ปลอมแปลงหรือไม่เป็นความจริงเพื่อหลอกหลวง ผลกระทบของข้อมูลลวง และค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหา
SAIL ได้มีการทำงานเพื่อแก้ปัญหา Misinformation ผ่านการหารือและแบ่งปันข้อมูลร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ ภาคประชาชน Fact Checkers และผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษา นอกจากนี้ยังมีโครงการ Google News Iniative ที่ให้ความรู้แก่ผู้สื่อข่าวกว่า 220,000 รายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการรายงานข้อมูลที่มีคุณภาพและต่อสู้กับข้อมูลลวง
ที่มา: How we’re helping people in Asia-Pacific better understand what they see online