สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT) ประกาศความสำเร็จในการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ นำโดย ดร.ชาญวิทย์ บุญช่วย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซแนปส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะนายกสมาคมคนใหม่ พร้อมประกาศวิสัยทัศน์ “สร้างอนาคตประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์”
การประชุมสามัญประจำปีเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2567 ได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้นจากสมาชิกสมาคมฯ ในการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI การประยุกต์ใช้ AI ในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงด้านมาตรฐานและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ AI
“เรากำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้าน AI รวมถึงธุรกิจที่ใช้ AI เป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อยกระดับขีดความสามารถของประเทศไทยในเวทีโลก” ดร.ชาญวิทย์ กล่าวในพิธีรับตำแหน่ง
คณะบริหารและกรรมการชุดใหม่ ประกอบด้วยผู้นำระดับแนวหน้าของวงการ:
นายกสมาคม:
- ดร.ชาญวิทย์ บุญช่วย (CEO, SYNAPES)
อุปนายกสมาคม:
- คุณกล้า ตั้งสุวรรณ (CEO, WISESIGHT) ด้านเชื่อมโยงภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
- คุณวิภาส สุตันตยาวลี (CDA, PROMES) ด้านสื่อสารและประสานงานหน่วยงาน
- ดร.ทัชนันท์ กังวานตระกูล (CEO, ISEM) ด้านมาตรฐานและข้อกฎหมาย
เลขานุการและเหรัญญิก:
- คุณวันดี วัฒนกฤษฎิ์ (CEO, MUI Robotics)
กรรมการสมาคม:
- ดร.ชาญวิทย์ บุญช่วย (CEO, SYNAPES)
- คุณกล้า ตั้งสุวรรณ (CEO, WISESIGHT)
- คุณวิภาส สุตันตยาวลี (CDA, PROMES)
- ดร.ทัชนันท์ กังวานตระกูล (CEO, ISEM)
- คุณวันดี วัฒนกฤษฎิ์ (CEO, MUI Robotics)
- ดร.วินน์ วรวุฒิคุณชัย (CEO, iBOTNOI)
- ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม (CEO, ZTRUS)
- ดร.วโรดม คำแผ่นชัย (CEO, AltoTech Global)
- ดร.กอบกฤตย์ วิริยะยุทธกร (CEO, iApp Technology)
- คุณสถาพน พัฒนะคูหา (CEO, Guardian AI Lab)
- คุณทัชพล ไกรสิงขร (CTO, Amity Solutions)
- คุณสุพิชญา พู่พิสุทธิ์ (CEO, Perceptra)
- คุณสุชาธิษณ์ บุนนาค (CEO, Interroot)
- คุณสุกฤษฏิ์ จุลพันธ์ (CEO, TecTony)
แผนงานเชิงกลยุทธ์ 2568-2569
สมาคมฯ ได้วางแผนงานเชิงกลยุทธ์ที่ครอบคลุม 3 ด้านหลัก:
- การพัฒนาอุตสาหกรรม: ผลักดัน AI ให้เป็น New S-Curve ใหม่ของประเทศ ผ่านการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรม
- ความร่วมมือระหว่างภาคส่วน: เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจ AI พร้อมผลักดันนโยบายที่สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม
- นวัตกรรมและการประยุกต์ใช้: ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการด้วย AI เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจไทย
“การรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายภาคส่วนในครั้งนี้ จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม AI ของไทยให้เติบโตทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล” ดร.ชาญวิทย์กล่าวทิ้งท้าย
สมาคมฯ พร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีและธุรกิจ AI ในประเทศไทย
ระบบนิเวศด้านปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย
ในการทำงานของสมาคมฯ ที่ผ่านมาได้มีการรวบรวมข้อมูลหน่วยงานที่อยู่ในระบบนิเวศด้านปัญญาประดิษฐ์ในประเทศไทย และยินดีเปิดรับข้อมูลจากองค์กร หน่วยงาน รวมถึง AI Startup เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงระบบนิเวศด้านปัญญาประดิษฐ์ของประเทศให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
สมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT)
อีเมล: [email protected]
เว็บไซต์: www.aieat.or.th