[PR] รู้จัก PPA : โมเดลพลังงานที่เพิ่มอำนาจการผลิตไฟของประชาชน

0

กรุงเทพฯ – 21 พฤษภาคม 2561– เมื่อปลายปี .. 2559  ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต (ตำแหน่งปัจจุบัน) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศถึงเป้าหมายของมหาวิทยาลัยที่ต้องการเพิ่มสัดส่วนของการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดมากขึ้น นั่นเป็นที่มาของการอนุญาตให้เอกชนเข้ามาติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคาตึก 5 ตึกในวิทยาเขตรังสิต เพื่อแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าขนาด 5 เมกะวัตต์ และตั้งเป้าเพิ่มเป็น 10 เมกะวัตต์ในปี .. 2561 นี้  ทั้งนี้ธรรมศาสตร์ไม่ต้องลงทุนในแผงโซลาร์หรือระบบจัดการใดๆ เพียงแค่อนุญาตให้ติดตั้งและจ่ายค่าไฟฟ้าตามพลังงานแสงอาทิตย์ในสัดส่วนที่ใช้จริงเท่านั้น

โมเดลที่ธรรมศาสตร์เลือกใช้นี้เป็นโมเดลพลังงานที่พบเห็นได้ทั่วไปในอเมริกาและยุโรป แต่อาจยังไม่เป็นที่คุ้นเคยกับคนไทยนัก

โมเดลพลังงานนี้มีชื่อว่า PPA หรือ Power Purchase Agreement (ข้อตกลงการซื้อขายพลังงานแสงอาทิตย์) ซึ่งเป็นโมเดลพลังงานที่เอื้อให้องค์กร หน่วยงานธุรกิจ  หรือแม้กระทั่งครัวเรือนและปัจเจก ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ได้ง่าย สะดวก โดยไม่ต้องลงทุนเอง

ถือเป็นโมเดลที่เพิ่มอำนาจให้กับผู้ที่อยากมีส่วนร่วมกับการผลิตพลังงานสะอาดเป็นอย่างยิ่ง!

PPA คืออะไร

PPA มาจาก Power Purchase Agreement คือข้อตกลงการซื้อขายพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ผลิตได้จาก Solar Rooftop ซึ่งเป็นแผงโซลาร์ที่ติดตั้งบนหลังคา ทั้งนี้ PPA ถือเป็นโมเดลพลังงานแบบใหม่ ที่เพิ่มอำนาจให้กับครัวเรือน องค์กร และภาคธุรกิจที่ต้องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้เอง แต่ไม่ต้องการลงทุน หรือต้องการลงทุนแต่เพียงเล็กน้อย โดยโมเดล PPA นี้ บริษัทซึ่งจำหน่ายแผงและระบบโซลาร์ จะเป็นผู้ลงทุนในอุปกรณ์ การติดตั้ง รวมถึงดูแลและซ่อมแซมระบบ ครัวเรือน องค์กร และภาคธุรกิจเพียงแค่จ่ายค่าไฟฟ้า (ที่ผลิตจากแผงโซลาร์) รายเดือนตามระยะสัญญาเท่านั้น โดยอัตราไฟฟ้าจะคิดตามหน่วยที่ใช้ ในอัตราต่อหน่วยเทียบเท่าหรือต่ำกว่าการไฟฟ้า โดยคิดแบบอัตราคงที่ (flat rate) ทำให้ในระยะยาว ค่าไฟฟ้าจากโมเดล PPA ที่จ่าย จะถูกกว่าการจ่ายค่าไฟให้รัฐ โดยที่มั่นใจได้ว่า อำนาจในการผลิตไฟฟ้าที่ใช้งานยังเป็นของตัวเอง แถมพลังงานนั้นยังสะอาด และดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

ที่มา : Solar Power Purchase Agreement – https://www.epa.gov/greenpower/solar-power-purchase-agreements

และ Solar City YouTube Channel https://www.youtube.com/watch?v=6AuKCvfQfx0

แล้วทำไมเราต้องสนใจ PPA?

นอกเหนือจากการเป็นโมเดลที่เอื้อให้คุณใช้พลังงานจากแผงโซลาร์บนหลังคาบ้านได้โดยที่คุณไม่ต้องควักเงินลงทุนเองแล้ว PPA ยังถือเป็นโมเดลพลังงานที่เพิ่มอำนาจให้ประชาชน โดยประชาชนสามารถเลือกได้ว่าจะผลิตไฟฟ้าจากหลังคาใช้เองหรือไม่ หรือจะพึ่งพาไฟจากระบบพลังงานแบบเก่าที่มีรัฐเป็นผู้ขายรายเดียว หรือจะผสมผสานสองทางเลือกนี้เข้าด้วยกัน

ชีวิตที่มีทางเลือกมากขึ้น คือคำตอบที่ว่า ทำไมเราควรต้องสนใจโมเดลพลังงานใหม่อย่าง PPA นั่นเอง

โฉมหน้าของโมเดลพลังงานแบบเก่า

คุณเคยสังเกตไหมว่า ทุกวันนี้ พลังงานไฟฟ้าที่เราใช้ชาร์จแบตมือถือ ใช้เปิดไฟในครัวเรือน หรือใช้เป็นแหล่งพลังงานของห้างร้าน นั้นมาจากไหน

แน่นอนว่าไฟฟ้ามาจากสายส่งไฟ

แต่คำถามต่อมาคือ ใครคือผู้ผลิต ใครคือผู้กระจาย และใครคือผู้ขายไฟให้กับเรา

โมเดลพลังงานแบบเดิม ซึ่งถือเป็นโมเดลที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันด้วยนี้ เป็นโมเดลที่รัฐเป็นผู้ผลิตหลัก รัฐเป็นเจ้าของและผู้ควบคุมสายส่ง และยังเป็นผู้มีสิทธิขายไฟฟ้าแต่เพียงรายเดียวด้วย

ในแง่การผลิตไฟฟ้านั้น เดิมทีรัฐเป็นผู้ผลิตรายเดียว แต่เมื่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง รัฐก็อนุญาตให้มีผู้ผลิตรายอื่นเข้ามาร่วมผลิตไฟฟ้าได้ แต่ในแง่การกระจายและการขายไฟให้แก่ประชาชน รัฐยังเป็นผู้ควบคุมและผูกขาดหนึ่งเดียวอยู่

นั่นหมายความว่า ถ้าเราจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจากสายส่ง ทางเลือกก่อนหน้านี้ของประชาชนคือ เราต้องซื้อจากรัฐเท่านั้น

แต่เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไปข้างหน้า และเกิดโมเดลพลังงานแบบใหม่ขึ้น ที่เอื้อให้เราเป็นเจ้าของแผงโซลาร์ได้ในต้นทุนที่ต่ำมาก ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้บ้านเรือน องค์กร หรือภาคธุรกิจสามารถใช้แผงโซลาร์แปลงแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้เอง โดยไม่จำเป็นต้องรอพึ่งพาไฟฟ้าจากสายส่งแต่เพียงอย่างเดียว นั่นเท่ากับว่า ทางเลือกได้เปิดกว้างมากกว่าหนึ่งทางแล้ว

และทางเลือกที่เพิ่มขึ้น ย่อมหมายถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนอย่างเราๆ จะได้รับเพิ่มขึ้นนั่นเอง

ทางเลือกอื่น นอกเหนือจาก PPA

โมเดลการติดตั้งแผงโซลาร์บนหลังคา เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ไม่ได้มีโมเดลแค่เพียง PPA หรือข้อตกลงซื้อขายพลังงานเท่านั้น หากประชาชนคนไทยยังมีทางเลือกอื่นด้วย ทางเลือกอื่นๆ นั้นได้แก่ การซื้อเงินสด (ซึ่งใช้เงินลงทุนสูง) และการผ่อนสินเชื่อ หรือที่เรียกว่า Solar Loan

            

ประเภท

ผู้ถือครองเป็นเจ้าของแผงโซลาร์

ผู้ลงทุน 

อัตราค่าไฟจากแผงโซลาร์ที่ต้องจ่าย (ซื้อ)

ซื้อ (Buy)

ผู้ซื้อ (ครัวเรือน, ธุรกิจ, องค์กร)

ผู้ซื้อ (ครัวเรือน, ธุรกิจ, องค์กร)

ไม่ต้องซื้อ

Solar Loan (ผ่อนสินเชื่อ)

ผู้ซื้อ (ครัวเรือน, ธุรกิจ, องค์กร)

ธนาคารหรือสถาบันเงินกู้

ไม่ต้องซื้อไฟ แต่ผ่อนจ่ายสินเชื่อรายเดือนให้ธนาคารหรือสถาบันเงินกู้

PPA (สัญญาซื้อขายพลังงาน)

บริษัทผู้ให้บริการระบบโซลาร์ครบวงจร

บริษัทผู้ให้บริการระบบ โซลาร์ครบวงจร

จ่ายค่าไฟรายเดือนตามสัดส่วนที่ใช้งานจริง

 

สำหรับโมเดลการซื้อขาด (Buy) เป็นโมเดลที่เราน่าจะคุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่โมเดลนี้มีข้อจำกัดตรงที่ว่า ต้องจ่ายเงินงวดเดียวในจำนวนที่สูงมาก อีกทั้งบริษัทส่วนใหญ่จะไม่มีบริการติดตั้งและซ่อมบำรุง (ยกเว้นบางบริษัทที่มีบริการนี้แถมให้) ทำให้โมเดลการซื้อขาดจึงไม่ได้รับความนิยม

ขณะที่อีกโมเดล คือ การผ่อนสินเชื่อ หรือ Solar Loan ถือเป็นโมเดลที่ครัวเรือน องค์กร หรือภาคธุรกิจ จะทำการกู้สินเชื่อจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน แล้วนำมาซื้อแผงโซลาร์และระบบติดตั้ง โดยสินเชื่อที่กู้มานั้น ลูกค้าต้องผ่อนชำระและเสียดอกเบี้ยตามระยะสัญญา แต่ระหว่างนั้นก็สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์ได้ฟรี เพราะถือว่าลูกค้าเป็นเจ้าของอุปกรณ์แล้ว

ขณะที่โมเดลแบบ PPA แม้ลูกค้าจะไม่ได้ลงทุนค่าแผงและระบบโซลาร์เอง แต่ต้องจ่ายค่าพลังงานไฟฟ้าตามอัตราที่ใช้จริงให้กับบริษัทโซลาร์ ซึ่งมักจะมีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับค่าพลังงานที่เราต้องจ่ายให้กับการไฟฟ้าของภาครัฐ ทั้งนี้สัญญาการซื้อพลังงานไฟฟ้าจากโมเดล PPA นี้ มักจะมีระยะเวลาประมาณ 20 ปีขึ้นไป

ปัจจุบัน โมเดลพลังงานทั้งแบบซื้อ (Buy), ผ่อนสินเชื่อ (Solar Loan), และ PPA ล้วนมีให้บริการในไทย โดยถ้าวัดจากความนิยม อาจต้องบอกว่า โมเดล PPA ได้รับความนิยมมากกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสามโมเดลก็ล้วนมอบทางเลือกให้ครัวเรือน องค์กร และภาคธุรกิจสามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้เองได้โดยลดการพึ่งพิงการใช้ไฟฟ้าจากรัฐลง

พลังงานแสงอาทิตย์ : “ทางเลือกของประชาชน และโอกาสใหม่สำหรับความมั่นคงทางพลังงานของรัฐ        

เมื่อเปรียบเทียบโมเดลการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ กับโมเดลพลังงานไฟฟ้าแบบเก่า ที่เราต้องซื้อไฟฟ้าจากรัฐ อาจให้ความรู้สึกว่า การผลิตไฟจากแผงโซลาร์และโมเดลพลังงานแบบเก่า เป็นคู่แข่งกัน

แต่จริงๆ แล้ว หากประชาชนสามารถผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์ใช้เองได้มากขึ้น ย่อมสร้างให้เกิดความมั่นคงทางพลังงานแก่รัฐเพิ่มขึ้นได้

ความคิดนี้ ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ให้มุมมองที่น่าสนใจไว้ดังนี้

ปัจจุบัน ประเทศเรามีปริมาณไฟฟ้าสำรองอยู่ 33% แล้วปริมาณไฟฟ้าสำรองนี้ คิดจากอะไรบ้างล่ะครับ ก็คิดจากว่าปีที่แล้วประเทศใช้ไฟฟ้าสูงสุดเท่าไหร่ แล้วภาครัฐก็จะต้องหาทางผลิตให้ได้มากกว่านั้น ซึ่งส่วนที่เกินมาคือไฟฟ้าสำรองแต่ทีนี้ การเพิ่มปริมาณไฟฟ้าสำรองของประเทศ ไม่ได้มีทางเลือกแค่ว่าต้องผลิตเพิ่มเสียหน่อย เพราะเราผลิตได้ 33% ก็มากแล้ว วิธีหนึ่งที่ทำได้คือ ลดการใช้ไฟฟ้าลงมา ถ้าลดได้ ถึงภาครัฐจะผลิตเท่าเดิม แต่เราก็จะได้ปริมาณไฟฟ้าสำรองเพิ่มขึ้น

วิธีการลดการใช้ไฟฟ้าลงมา ก็อย่างที่ธรรมศาสตร์กำลังทำอยู่นี่แหละครับ คือการหันมาผลิตไฟฟ้าใช้เอง ถ้าหน่วยงานของรัฐ เทศบาล โรงเรียน หรือแม้กระทั่งครัวเรือนไทย หันมาผลิตไฟฟ้าใช้เองมากขึ้น ปริมาณการใช้ไฟฟ้า (จากสายส่งของภาครัฐ) ก็จะลดลง ยอดพีคก็จะลดลง ปริมาณไฟฟ้าสำรองก็เพิ่มขึ้นอัตโนมัติ ความมั่นคงทางพลังงานของประเทศก็เพิ่มขึ้น

ข้อเสนอนี้ถือเป็นขั้นต่ำเลย รัฐส่งเสริมหรือเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปผลิตไฟฟ้าเองได้ไหม แทนที่ภาครัฐจะกังวลว่าจะผลิตพลังงานสำรองไม่เพียงพอ แล้วต้องไปหาทางขยายโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น หรือหาทางเลือกอื่นอย่างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งตัวเลือกเหล่านี้ก็ก่อให้เกิดความไม่สบายใจแก่ประชาชน ทำให้รัฐต้องทะเลาะกับประชาชนในพื้นที่นั้นๆ อีก ดังนั้น หากรัฐส่งเสริมให้ประชาชนผลิตไฟฟ้าได้เอง โดยอาจจะออกมาตรการที่ให้ธนาคารของรัฐเสนอสินเชื่อราคาถูกเพื่อให้ประชาชนติดตั้งแผงโซลาร์ อย่างนี้น่าจะดีกว่าไหม เพราะเป็นพลังงานสะอาด ประชาชนก็มีส่วนร่วมในการผลิต ความมั่นคงทางพลังงานของประเทศก็เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือนิวเคลียร์เพิ่ม

อำนาจการผลิตไฟฟ้าเอง : เริ่มต้นที่ก้าวเล็กๆ ก่อนขยายไปก้าวที่ใหญ่ขึ้น

สำหรับ นายสัมฤทธิ์ สิทธิวรานุวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โซลาร์ ดี (Solar D) คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด ผู้ให้จำหน่ายและติดตั้งโซลาร์เซลล์ครบวงจร ซึ่งเชื่อว่าการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นนั้น เกี่ยวพันกับอำนาจ สิทธิ และระดับประชาธิปไตยในสังคมไทย เขามีมุมมองว่า การที่ประชาชนสามารถมีอำนาจในการผลิตไฟฟ้าได้เอง นั่นถือเป็นก้าวเล็กๆ ที่น่าสนใจ ยิ่งประกอบกับเทคโนโลยีที่เจริญรุดหน้าขึ้นทุกวัน ก้าวเล็กๆ นั่นอาจขยายไปสู่ก้าวใหญ่ได้ในไม่ช้า

“PPA เป็นโมเดลที่น่าสนใจ เพราะช่วยให้ประชาชนสามารถติดตั้งแผงโซลาร์ได้โดยแทบไม่ต้องควักกระเป๋าตังค์เลย เพียงแต่ว่าในปัจจุบัน บริษัทผู้จำหน่ายและติดตั้งระบบโซลาร์จะเน้นเสนอขายโมเดล PPA ให้แก่กลุ่มธุรกิจ เช่น โรงงาน บริษัท เป็นหลัก โดยยังไม่เปิดตลาดในส่วนครัวเรือนแต่อย่างใด แต่ครัวเรือนที่สนใจอยากติดตั้งแผงโซลาร์เพื่อผลิตไฟฟ้าเอง ก็สามารถทำได้ผ่านการซื้อขาด หรือกู้สินเชื่อ (Solar Loan) ซึ่งทางบริษัท โซลาร์ ดี (Solar D) ของเราก็มีบริการตรงนี้อยู่

การที่ประชาชนไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคครัวเรือน หรือภาคธุรกิจ สามารถเข้าถึงแผงโซลาร์ที่ราคาถูกลง และผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยตนเองได้ ผมถือว่าเป็นก้าวเล็กๆ แห่งความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ เพราะนั่นสะท้อนให้เห็นถึงการมีทางเลือกในด้านพลังงานของประชาชน จริงอยู่ ถึงแม้ว่ากฎระเบียบหลายอย่างของไทยในตอนนี้จะยังไม่เปิดกว้างถึงขั้นที่ลุกขึ้นมาอนุญาตให้ประชาชนผลิตและขายไฟคืนให้แก่รัฐโดยตรงได้เหมือนโมเดล Net Metering ในอเมริกา แต่ต้องยอมรับว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เปิดทางเลือกใหม่ๆ ให้กับประชาชนระดับครัวเรือนไม่น้อย โดยเฉพาะเทคโนโลยีแบตเตอรี หรือ Storage ที่ช่วยให้ครัวเรือนกักเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ยามกลางคืนหรือยามที่ต้องการได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับเครือข่ายสายส่งตลอดเวลา

อย่างไรก็ดี ต้องยอมรับว่า โครงข่ายสายส่งยังมีความสำคัญอยู่อย่างแน่นอน แต่การที่ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น สามารถเลือกได้ว่าจะผลิตไฟฟ้าเองจากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวัน และกักเก็บไฟสำรองในแบตเตอรีเพื่อใช้ยามกลางคืน หรือจะหันไปใช้ไฟฟ้าจากสายส่งของภาครัฐ อย่างน้อย การมีสิทธิเลือกนี้ ก็ถือเป็นก้าวแรกๆ ที่น่าสนใจ เพราะสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มในการจัดการตนเองของประชาชน, ลดการรวมศูนย์ทางพลังงานของประเทศลง, รวมถึงเผยให้เห็นอำนาจที่เพิ่มขึ้นในหมู่ประชาชนที่อยากเข้ามามีส่วนร่วมกับการผลิตพลังงานด้วย ซึ่งนี่ถือเป็นเรื่องที่น่าจับตามองว่าจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ขึ้นหรือไม่สัมฤทธิ์กล่าวปิดท้าย

PPA, แผงโซลาร์, และการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ใช้เอง จึงเป็นมากกว่าเรื่องของพลังงานสะอาดและความคุ้มทุนทางการเงินด้วยประการฉะนี้

เพราะนี่คือโมเดลที่เสนอทางเลือก และเพิ่มอำนาจให้กับผู้ที่อยากมีส่วนร่วมกับการผลิตพลังงานสะอาด เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของตนเองและของประเทศอย่างแท้จริง

ขอบคุณข้อมูลจาก  โซลาร์ ดี

###