MRI หรือ Magnetic Resonance Imaging นั้นเป็นมาตรฐานสากลที่สำคัญในด้านการแพทย์ไปแล้วในปัจจุบัน แต่ก็เป็นเรื่องน่าเสียดายที่สิ่งนี้ยังไม่ใช่ตัวเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีการปลูกถ่ายฝังโลหะเข้าไป เช่น โลหะในอุปกรณ์ที่ช่วยแทรกแทรงขั้นตอนบางอย่างที่ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยได้ ดังนั้น เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ นักวิจัยชาวเกาหลีใต้จึงกำลังใช้ระบบ deep learning ในการแปลงภาพ CT Scan สังเคราะห์มาเป็นภาพ MRI 2 มิติได้
“ภาพ MRI นั้นจะเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากในการรักษาด้วยวิธีการรังสีบำบัด โดยมีแผนที่จะสามารถตัดแยกส่วนที่เป็นเนื้องอกหรืออวัยวะออกได้ อย่างไรก็ดี ในการใช้วิธีการรักษาโดยรังสีบำบัดนั้นยังมีข้อจำกัดเพราะมีค่าใช้จ่ายที่สูง และการมีการปลูกถ่ายอุปกรณ์ที่มีโลหะเข้าไปในร่างกายที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่น การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ (cardiac pacemaker) และการใช้ข้อต่อเทียม (artificial joint) ในสังคมผู้สูงอายุ” นักวิจัยเขียนในงานตีพิมพ์
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย INHA (INHA University) และโรงพยาบาล Pusan National University Hospital ในประเทศเกาหลีใต้ ได้เทรนระบบของพวกเขาโดยแปลงข้อมูลภาพสมองสองมิติจากการทำ CT Scan มาเป็นภาพสมองสองมิติที่มีลักษณะเป็นภาพแบบ MRI โดยใช้ระบบโครงข่าย Generative Adversarial Network (GAN) โดยเทรนข้อมูลจากภาพ CT Scan และ MRI ของผู้ป่วย 202 คน ซึ่งได้มีการสแกนเพื่อรักษาโดยวิธีรังสีบำบัดในส่วนของเนื้องอกสมอง
“วิธีการจำนวนมากได้ใช้การสังเคราะภาพ CT ออกมาจากภาพ MRI สำหรับวิธีการรักษาโดยใช้รังษีบำบัด MR เท่านั้น” นักวิจัยกล่าว “วิธีการสร้างภาพ CT ที่สังเคราะห์จากภาพ MRI นั้นใช้โครงข่าย deep convolutional neural network (CNN) ด้วยคู่ข้อมูล ก็จะสามารถจัดเรียงได้อย่างสมบูรณ์โดยเป็นการลดค่าจำนวน voxel ของความแตกต่างระหว่างภาพ CT และ MRI ได้ แต่อย่างไรก็ดี การลดค่าจำนวน voxel ให้น้อยระหว่างภาพที่สังเคราะห์ขึ้นมากับภาพอ้างอิงระหว่างเทรนระบบนั้นจะนำไปสู่การสร้างภาพ output ที่เบลอได้”
โดยงานต่อๆ ไปในอนาคต ทีมงานจะทดลองใช้ข้อมูลสามมิติของโครงสร้างทางกายวิภาค (anatomical structure) ที่มีอยู่ในข้อมูล CT Scan และ MRI ของสมอง เพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพโดยอิงจากการจับคู่และไม่จับคู่ข้อมูลต่อไป นักวิจัยกล่าว
Source : https://news.developer.nvidia.com/converting-ct-scans-into-2d-mris-with-ai/