Adobe ใช้ AI คัดแยกภาพที่ผ่านการโฟโต้ช็อป

0
https://o.aolcdn.com/images/dims?quality=100&image_uri=https%3A%2F%2Fs.aolcdn.com%2Fhss%2Fstorage%2Fmidas%2F10045a552b131034fa88382802b7d29%2F206475036%2Fadobe-ed.jpg&client=cbc79c14efcebee57402&signature=a40798a6c54f8d4e9427e0ef577b9bda679b46d8

Adobe Photoshop ทำให้รูปที่ถูกตัดต่อดูสมจริงจนแยกไม่ออกว่าเป็นของจริงของปลอม รู้อีกทีภาพนั้นก็ถูกแชร์สะพัดไปแล้ว ทาง Adobe เองจึงพัฒนา AI ขึ้นมาเพื่อตรวจคัดกรองภาพที่ผ่านการตัดต่อด้วยโปรแกรมโฟโต้ช็อป

การใช้ AI หาภาพปลอมนั้นเป็นวิธีที่ Adobe ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและความจริงแก่สื่อดิจิทัล ซึ่งเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการที่ Facebook และ Google เพิ่มความพยายามที่จะต่อสู้กับข่าวลวงทั้งหลาย

เมื่อใดก็ตามที่มีคนดัดแปลงรูป ก็มักจะทิ้งตัวบ่งชี้ไว้เบื้องหลังว่าภาพนั้นได้รับการตัดต่อ ข้อมูล metadata และลายน้ำช่วยบอกแหล่งที่มาของภาพ และสามารถดูปัจจัยต่างๆ เช่นแสง การกระจายตัวของ noise (จุดรบกวนในภาพ) และขอบในระดับพิกเซลเพื่อหาความไม่สม่ำเสมอ ยกตัวอย่างเช่น หากสีในภาพนั้นดูไม่สม่ำเสมอ เครื่องมือก็จะคัดแยกไว้ แต่หากใช้ AI เข้ามาช่วย ก็จะระบุภาพที่ผ่านการตัดต่อมาได้รวดเร็วขึ้นและน่าเชื่อถือมากขึ้น

AI ก็จะดูการดัดแปลงสามประเภท คือ

  1. การทำสำเนา (cloning) หรือก๊อปวาง (copy-move) คือ เมื่อวัตถุในภาพถูกคัดลอกหรือย้ายภายในภาพนั้น เช่น กลุ่มคนถูกทำซ้ำให้ดูเหมือนมีคนเยอะขึ้นในภาพนั้น
  2. การต่อติด (splicing) คือ การนำภาพต่างกันสองภาพมาปะติดปะต่อกันเป็นภาพเดียว เช่น นำรูปปลาฉลามมาว่ายอยู่บนถนน
  3. การเอาออก (removal)
Altered Photo Techniques
Credit: Adobe Research

ทีม Adobe และนักวิจัยจาก University of Maryland ป้อนข้อมูลภาพปลอมจำนวนมากเพื่อสอน AI ให้แยกให้ออกว่าภาพแบบไหนคือภาพปลอม ทีมวิจัยได้ฝึก AI ให้รู้จักประเภทการตัดต่อที่ใช้ในรูปแบบและวงส่วนที่ถูกดัดแปลง ซึ่ง Adobe เผยว่า AI สามารถทำได้ภายในไม่กี่วินาที โดยใช้เทคนิคบางอย่าง เช่น ดูการเปลี่ยนค่าของสีแดง เขียว น้ำเงิน ในระดับพิกเซล อีกทั้งยังดู noise เพื่อหาความไม่สอดคล้องกันในภาพที่มักเกิดขึ้นในภาพที่ถูกตัดต่อ

Credit: Engadget

Adobe หมายเหตุไว้ว่า เทคนิคเหล่านี้อาจยังไม่สมบูรณ์แบบนัก ถึงแม้ว่ามันจะทำให้การจัดการควบคุมผลของการดัดแปลงสื่อดิจิทัลนั้นเป็นไปได้และมีตัวเลือกมากขึ้น และมันก็ช่วยพิสูจน์ความน่าเชื่อถือของภาพนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ ทีมงานก็ทำงานร่วมไปกับ AI ในการตรวจดูภาพประเภทอื่นๆ เช่น ภาพที่เกิดจากการอัดเมื่อไฟล์ถูกบันทึกซ้ำๆ

อย่างไรก็ดี หนทางยังอีกยาวไกลนักก่อนที่ AI ตัวนี้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำไปใช้งานได้จริง ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า Photoshop เป็นเครื่องมือที่ช่วยตกแต่งภาพและสร้างผลงานศิลป์ที่น่าจดจำได้ดีอย่างไม่ต้องสงสัย แต่คนมักใช้งานในทางที่เป็นพิษภัยต่อกฎหมายและความน่าเชื่อถือ และดูเหมือนว่า Adobe ก็ต้องการที่จะเสนอยาแก้พิษที่มีประสิทธิภาพต่อกรณีเช่นนี้