จับได้คาหนังคาเขา! กล้อง AI จากญี่ปุ่นช่วยตรวจจับขโมยได้

0
https://cdn0.tnwcdn.com/wp-content/blogs.dir/1/files/2018/06/AI-Guardman-796x449.jpg

จากการสอน AI ให้เรียนรู้ลักษณะพฤติกรรมของโจรขโมยของตามร้านค้านั้น NTT East บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่นและบริษัทเทคโนโลยี Earth Eyes ได้สร้าง AI Guardman กล้องรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะที่สามารถจับขโมยขณะกำลังขโมยของได้ทันที

ตัวกล้องใช้เทคโนโลยี open-source พัฒนาโดย Carnegie Mellon University (CMU) ในการอ่านภาษากายของลูกค้า เทคโนโลยีนี้โดดเด่นในเรื่องความสามารถในการอ่านนัยทางท่าทางจากนิ้วมือของคนหลายๆ คนพร้อมกันในสภาพแวดล้อมทางสังคม นักวิจัยจาก CMU ต้องการที่จะให้นวัตกรรมนี้เป็นมากกว่าแค่โครงการ จึงเปิด open source บน GitHub เมื่อปีที่แล้วด้วย

Credit: Earth Eyes

ตั้งแต่นั้นมา กลุ่มวิจัยและแล็บเพื่อการค้าก็ได้ใช้ประโยชน์จากแนวคิดนี้ จึงเป็นที่มาของ AI Guardman ที่ระบุนัยจากภาษากายที่แสดงออกมาก่อนที่คนๆ นั้นจะแอบขโมยของ เช่น การมองหาจุดบอดของกล้องรักษาความปลอดภัยที่ถ่ายไม่ถึง หรือการมองไปมองมาอย่างมีพิรุธ เมื่อกล้องตรวจจับพฤติกรรมต้องสงสัยได้แล้ว มันก็จะส่งข้อความพร้อมภาพและตำแหน่งของผู้ต้องสงสัยแจ้งเตือนพนักงานร้านค้าทันที

จากรายงานของ Soranews24 ในการทดสอบการใช้งานเบื้องต้น รายค้าแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นเผยว่า ยอดขาดทุนประจำปีเนื่องจากการขโมยของในร้านได้ลดลงจาก 32,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 1 ล้านบาท) เหลือแค่ 18,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 600,000 บาท) และตามรายงานของ IT Media ของญี่ปุ่นเอง ทางบริษัทผู้พัฒนาก็กล่าวว่า AI Guardman ช่วยลดอัตราการขโมยของในร้านได้ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์

ณ ขณะนี้ ตัวกล้องสามารถสแกนได้ในรัศมี 144 องศา ราคาอยู่ที่ 2,200 ดอลลาร์ (ประมาณ 73,000 บาท) และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับการจัดการข้อมูลบนระบบคลาวด์อีก 41 ดอลลาร์ (ประมาณ 1,400 บาท) ต่อเดือน ทาง NTT ตั้งเป้าว่าจะจำหน่ายกล้องนี้ให้กับร้านค้า 10,000 แห่งในช่วง 3 ปีนี้

Credit: NTT East, The Verge | การทำงานของ AI Guardman: กล้องตรวจจับพฤติกรรมต้องสงสัย และแจ้งเตือนพนักงานร้าน

กล้องรักษาความปลอดภัยที่ขับเคลื่อนด้วย AI นี้จะสามารถตรวจจับพฤติกรรมมนุษย์จากอวัจนภาษาได้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการใช้งานกล้องในอีกหลายๆ ด้าน เช่น เกม กีฬา และอื่นๆ อีกทั้งนำไปประยุกต์ใช้กับการดูแลอาการพักฟื้นของผู้มีอาการป่วยทางจิต หรือแม้แต่การใช้ในระบบรถขับเคลื่อนอัตโนมัติในการตรวจจับสัญญาณเตือนจากผู้สัญจรทางเท้าโดยดูจากภาษากายของพวกเขา