ในช่วงปี 2559 จนถึง 2560 คนเลี้ยงผึ้งในสหรัฐอเมริกาได้สูญเสียผึ้งไปถึง 33 เปอร์เซ็นต์ โดยมีปัจจัยหลายๆ ที่ทำให้ผึ้งเสียชีวิตได้ แต่สาเหตุที่หนักที่สุดอันดับหนึ่งนั้นเกิดจากเพลี้ยวาร์รัว (Varroa mite) ซึ่งการตรวจจับตัวเพลี้ยแบบ manual นั้นเป็นงานที่น่าเบื่อและมีแนวโน้มที่จะผิดพลาดได้ง่ายมาก ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยจาก EPFL สถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยในเมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงได้พัฒนาแอปโดยใช้ deep learning ที่สามารถช่วยตรวจจับนับจำนวนตัวเพลี้ยในรังผึ้งได้
เพลี้ยวาร์รัวเป็นหนึ่งในสองปรสิตที่รู้กันว่ามีผลต่อการอยู่รอดของผึ้ง โดยถ้าหากว่าคนเลี้ยงผึ้งนั้นสามารถตรวจสอบติดตามการแพร่กระจายเพลี้ยวาร์รัวได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้นก็จะสามารถดูแลรังผึ้งของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและรักษาชีวิตผึ้งได้
“ในขั้นตอนแรกคือการสร้างฐานข้อมูลของภาพตัวเพลี้ยวาร์รัวสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะทำให้มันรู้จำตัวเพลี้ยได้เองโดยไม่ได้ดำเนินการผิดพลาด” คุณ Maxime Bohnenblut นักเรียนปริญญาโทผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้ตั้งแต่แรกกล่าว
โดยคุณ Bohnenblust และทีมงานได้เทรนและปรับแต่งโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) ของพวกเขาด้วยข้อมูลภาพหลายพันภาพที่เก็บรวมมาจากคนเลี้ยงผึ้งจำนวนหนึ่ง
แอปตอนนี้จึงมีศักยภาพที่จะสามารถแจ้งเตือนคนเลี้ยงผึ้งได้ถ้าหากว่าการแพร่กระจายของเพลี้ยเริ่มมีผลกระทบเกิดขึ้นแล้ว
“คนเลี้ยงผึ้งไม่ได้มีมาตรฐานหรือตัววัดร่วมกัน” คุณ Bohnenblust กล่าว “และจนถึงตอนนี้สมาคมคนเลี้ยงผึ้งก็กำลังมีการส่งข้อมูลของพวกเขามาที่ Agroscope ศูนย์วิจัยด้านการเกษตรของหน่วยงานรัฐมาปีละครั้ง”
คุณ Bohnenblust กล่าวว่าเขากำลังทำตัวเอกสารงานตีพิมพ์เกี่ยวกับงานนี้อยู่และแอปคาดว่าน่าจะเริ่มให้ใช้งานได้หลังจากนั้น
Source : https://news.developer.nvidia.com/ai-helps-save-bees/