นครนิวยอร์กล้มเหลวที่จะรู้จำใบหน้าของผู้ขับขี่บนสะพานในความพยายามครั้งแรก

0
https://o.aolcdn.com/images/dims?quality=85&image_uri=https%3A%2F%2Fo.aolcdn.com%2Fimages%2Fdims%3Fcrop%3D5858%252C3702%252C0%252C0%26quality%3D85%26format%3Djpg%26resize%3D1600%252C1011%26image_uri%3Dhttps%253A%252F%252Fs.yimg.com%252Fos%252Fcreatr-images%252F2019-04%252F67c28cc0-5980-11e9-bdff-da8711d1bec6%26client%3Da1acac3e1b3290917d92%26signature%3D4fbc751a33a8027fdc65870912f6248839435930&client=amp-blogside-v2&signature=a38e399e80fb63c51c0a0780817ab0b5fd3636a4
Storm clouds gather over the Robert F. Kennedy Bridge, the skyline of uptown Manhattan and the East River on March 15, 2019, in New York. (Photo by Johannes EISELE / AFP) (Photo credit should read JOHANNES EISELE/AFP/Getty Images)

ความพยายามในนครนิวยอร์กที่จะระบุตัวผู้ก่อการร้ายที่กำลังเดินทางอยู่บนท้องถนนด้วยเทคโนโลยีรู้จำใบหน้านั้นไม่ได้สามารถดำเนินการไปอย่างราบรื่นดีนัก โดย The Wall Street Journal ได้รับอีเมลมาจากหน่วยงาน Metropolitan Transportation Authority (MTA) ที่แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีที่ทดสอบเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมาบนสะพาน Robert F. Kennedy Bridge นั้นยังล้มเหลวอยู่ ซึ่งไม่ได้เพียงแค่ล้มเหลวอย่างเดียว แต่เป็นการล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่าซึ่งก็คือไม่สามารถตรวจจับใบหน้า”ภายในตัวแปรต่างๆ ที่ยอมรับได้แล้ว”แต่อย่างใด

โฆษกของ MTA กล่าวถึงโปรแกรมที่ทำ pilot นั้นจะต้องปรับปรุงเพื่อนำมาใช้กับสะพานนี้หรือกับสะพานอื่นๆ และอุโมงค์ให้ได้ แต่ตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาที่จะเริ่มต้นใช้งาน

ปัญหานั้นอาจจะเป็นเรื่องปกติธรรมชาติทั่วไปสำหรับช่วงเริ่มต้นของเทคโนโลยีรู้จำใบหน้า (facial recognition) ด้วยความเร็วระดับนี้ อย่างในห้องปฏิบัติการ Oak Ridge National Laboratory นั้นสามารถดำเนินการได้ด้วยความแม่นยำ 80% จากการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการระบุใบหน้าผ่านกระจกหน้ารถยนต์ได้ หากแต่ก็จะเป็นการดำเนินการด้วยความเร็วที่ช้า ซึ่งมันอาจจะยังไม่พร้อมสำหรับรู้จำใบหน้าว่าใครกำลังจะพุ่งลงมาจากสะพาน

นอกจากนี้ ไม่ใช่แค่เรื่องความเป็นส่วนตัว (privacy) เท่านั้นที่จะต้องคำนึงถึง เรื่องการรู้จำใบหน้าก็เป็นเรื่องที่กำลังถกเถียงกันอยู่เช่นกัน เพราะจะต้องใช้กล้องส่องเข้าไปเพื่อให้เห็นภายในรถอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะนำไปใช้งานในทางที่ผิดได้ด้วย เพราะเรื่องปัญหาความแม่นยำที่แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ดีที่สุดแล้วก็ตาม ก็อาจจะยังเกิดปัญหาในการรู้จำคนผิวสีและสตรีได้อีก และที่สำคัญระบบยังมีสมมติฐานที่ผู้ก่อการร้ายจะต้องไม่ใส่หน้ากากหรือว่าสิ่งแปลกปลอมแต่อย่างใดอีกด้วยจึงจะทำงานได้ ซึ่งถ้าหากว่าไม่ได้มีระบบตรวจจับที่ทดสอบเรื่องต่างๆ เหล่านั้นให้เรียบร้อยก่อนแล้ว เราก็คงยังมีความกังวลว่าวิธีการปัจจุบันนั้นอาจจะสร้างผลลัพธ์ที่ผิดพลาดแต่ตอบออกมา หรือว่าจะยังปล่อยให้ผู้ต้องสงสัยผ่านไปได้เนื่องจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นของระบบ

Source : https://www.engadget.com/2019/04/07/nyc-facial-recognition-experiment-failure/