กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ มีเลเซอร์ระบุตัวบุคคลด้วยการเต้นของหัวใจ

0
ECG. Computer illustration of an electrocardiogram (ECG) showing a normal heart rate.

การระบุตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์ (Biometric identification) ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีทั้งระบบรู้จำใบหน้าในสนามบิน รถที่ปลดล็อกได้เพียงแค่มองไปยังตัวรถ เทคโนโลยีที่ตรวจจับวิถีการเดินของแต่ละคน และลายนิ้วมือที่ใช้ในทุกด้านตั้งแต่บนสมาร์ทโฟนไปจนถึงการซื้อตั๋วเข้างาน มาตรวัดทางชีวภาพอันดับต่อไปก็คือ การเต้นของหัวใจนั่นเอง

จากรายงานของ MIT Technology Review นั้น  กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา (the Pentagon) ได้พัฒนาเลเซอร์ที่สามารถระบุตัวตนของคนได้จากระยะไกลด้วยการเต้นของหัวใจ เทคโนโลยีนี้ที่มีชื่อว่า Jetson ใช้เลเซอร์วัดความสั่นสะเทือนเพื่อดูการขยับระดับพื้นผิวบนผิวหนังที่เกิดจากการเต้นของหัวใจ และทำงานได้จากระยะไกลถึง 200 เมตร

อัตราการเต้นของหัวใจของแต่ละคนมีเอกลักษณ์แตกต่างกัน และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ไม่เหมือนกับใบหน้าและรอยนิ้วมือ แต่ Jetson ก็มีความท้าทายบางอย่างอยู่เช่นเดียวกับระบบรู้จำใบหน้าและระบบไบโอเมตริกซ์อื่นๆ ที่ต้องใช้งานในสภาพที่เหมาะสมที่สุด ซึ่ง Jetson นั้นจะทำงานได้ผ่านเสื้อผ้าปกติ เช่น เสื้อเชิ้ต ไม่ใช่เสื้อผ้าหนาๆ อย่างเสื้อคลุมกันหนาว นอกจากนี้ยังใช้เวลาประมาณ 30 วินาทีในการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น ดังนั้น ในตอนนี้ระบบจึงทำงานได้กับเฉพาะเป้าหมายที่กำลังนั่งหรือยืนอยู่นิ่งๆ และประสิทธิภาพการทำงานก็ขึ้นอยู่กับฐานข้อมูลการเต้นของหัวใจ อย่างไรก็ดี หากอยู่ในสภาพที่เหมาะสมแล้ว Jetson ก็มีความแม่นยำมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

แน่นอนว่า เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นประโยชน์มหาศาลแก่การทหารและองค์กรสอดส่องดูแลความปลอดภัย ดังนั้น กระทรวงกลาโหม สหรัฐฯ ก็ขอใช้เทคโนโลยีมาหลายปีก่อนหน้านี้แล้ว อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้ก็นำไปใช้งานด้านอื่นได้เช่นกัน เช่น แพทย์สามารถตรวจการเต้นของหัวใจคนไข้ได้โดยไม่ต้องสัมผัสตัว ส่วนโรงพยาบาลก็ตรวจวัดชีพจรผู้ป่วยได้แบบไร้สาย ไม่แน่ว่าสักวันหนึ่งเทคโนโลยีนี้อาจทำให้ระบบรู้จำใบหน้าล้าหลังและเลิกใช้งานไปเลยก็เป็นได้