ระบบ AI จำลองระบบควอนตัมโดยไม่ต้องใช้แหล่งประมวลผลขนาดใหญ่ได้

0
https://o.aolcdn.com/images/dims?quality=85&image_uri=https%3A%2F%2Fo.aolcdn.com%2Fimages%2Fdims%3Fcrop%3D1538%252C898%252C0%252C0%26quality%3D85%26format%3Djpg%26resize%3D1600%252C934%26image_uri%3Dhttps%253A%252F%252Fs.yimg.com%252Fos%252Fcreatr-uploaded-images%252F2019-07%252Fc780db50-9f33-11e9-a7d3-c49656f96019%26client%3Da1acac3e1b3290917d92%26signature%3De9bac63790a384fc111c3ccd02471aea84326517&client=amp-blogside-v2&signature=20241ef586db26a2d4b5b6d6acd2d006c4acef72

มันค่อนข้างยากที่จะจำลองอะไรเกี่ยวกับฟิสิกส์ควอนตัม เนื่องจากความต้องการในการประมวลผลที่ขนาดจะโตขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างทวีคูณเมื่อทำให้ระบบควอนตัมมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น หากแต่นักวิจัยก็ได้สร้างวิธีการประมวลผลใหม่ด้วยระบบ AI ที่สามารถจำลองได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องประมวลผลใหญ่ๆ ได้

โดยทีมงานวิจัยได้ใช้โครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) ในการจำลองระบบควอนตัมที่มีขนาด”รับได้ (considerable)”โดยไม่ว่าจะเป็นค่าเรขาคณิต (geometry) อะไรก็ตาม โดยทีมได้รวมเอาวิธีการที่รู้จักกันจากการศึกษาวิจัยระบบควอนตัม (เช่นการสุ่มตัวอย่าง Monte Carlo) มาผสมกับโครงข่ายประสาทเทียมที่สามารถแทนสถานะควอนตัมจำนวนมากๆ ได้พร้อมๆ กัน

สิ่งนี้ทำให้นักฟิสิกส์ควอนตัมสามารถศึกษาระบบที่ซับซ้อนได้โดยที่ไม่ต้องมีแหล่งประมวลผลขนาดใหญ่ได้ ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจพฤติกรรมของควอนตัมได้ในมุมมองที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งเทคนิคนี้อาจมีประโยชน์ในการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้ในอนาคต แม้ว่าสิ่งนี้อาจจะทำให้เกิดอาจจะทำให้เกิด noise บนฮาร์ดแวร์ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นก้าวเล็กๆ ที่เริ่มเดินไปข้างหน้าอีกนิดหนึ่งแล้ว

Source : https://www.engadget.com/2019/07/05/ai-simulates-quantum-systems/