อัลกอริธึมทำให้หุ่นยนต์สุนัขเดินเหยาะๆ ได้เหมือนกับสุนัขจริงมากขึ้น

0
https://o.aolcdn.com/images/dims?quality=85&image_uri=https%3A%2F%2Fo.aolcdn.com%2Fimages%2Fdims%3Fcrop%3D1600%252C1067%252C0%252C0%26quality%3D85%26format%3Djpg%26resize%3D1600%252C1067%26image_uri%3Dhttps%253A%252F%252Fs.yimg.com%252Fos%252Fcreatr-uploaded-images%252F2019-09%252F8599a0a0-e236-11e9-b5ba-c8078e542e2e%26client%3Da1acac3e1b3290917d92%26signature%3D723bffd4571fb5ff95b067450dda1bea0f6530d6&client=amp-blogside-v2&signature=18badc5840b4bb3d7afc699a432f5afa1a2b5204

หุ่นยนต์สุนัขสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่ได้เป็นธรรมชาติไปเสียทั้งหมด (การเต้น twerk ไม่นับ) นักวิจัยจาก Virginia Tech จึงคิดว่าพวกเขาน่าจะทำได้ดีกว่านี้ จึงได้พัฒนาอัลกอริธึมที่ผสมผสานกับเซ็นเซอร์ที่ช่วยทำให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนไหวและเดินได้เหมือนกับสัตว์จริงได้มากยิ่งขึ้น

ระบบนี้เลียนแบบพฤติกรรมของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง ที่ส่วนใหญ่จะควบคุมสมดุลโดยใช้การสั่นของเซลล์ประสาทในไขสันหลัง พวกเขาจึงใช้การผสมผสมระหว่างเซ็นเซอร์เข้ารหัสเพื่ออ่านตำแหน่งสัมพัทธ์ของแต่ละข้อต่อ พร้อมกับหน่วยวัดแรงเฉื่อย (inertial measurement unit : IMU) เพื่อวัดการจัดวางร่างกายแบบสัมพัทธ์กับพื้นได้ ซึ่งผลลัพธ์นั้นได้ทำให้สุนัขหุ่นยนต์สามารถเดิน วิ่ง และวิ่งเหยาะๆ ได้อย่างสง่างามและเร็วกว่าเดิม

กล้องและเซ็นเซอร์ LiDAR ต่างๆ ยังต้องมีเพื่อช่วยให้หุ่นยนต์หลบหลีกจากการปะทะได้ สิ่งนี้ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากสำหรับหุ่นยนต์สุนัข ซึ่งหน่วยการทดสอบคือ Ghost Robotics ที่ออกแบบมาพร้อมกับเซ็นเซอร์เพื่อทดสอบอัลกอริธึมใหม่นี้

การทดลองเริ่มต้นได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าได้ผลดี หากแต่ก็ยังคงมีงานอีกมากก่อนที่จะได้เห็นหุ่นยนต์แบบนี้ภายนอกห้องปฏิบัติการ โดยผู้ช่วยศาสตร์จารย์และนักวิจัยหลักคุณ Kavel Hamed ยังเน้นมาว่ามันไม่ได้เป็นเพียงแค่การทำให้อัลกอริธึมมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่ยังต้องทำให้เป็น”แรงบันดาลใจจากชีววิทยา”โดยแท้จริง และมันคงจะต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่ก่อนที่จะมีหุ่นยนต์สัตว์ที่จะสามารถเคลื่อนไหวได้เหมือนกับสัตว์จริงๆ

Source : https://www.engadget.com/2019/09/29/robot-dog-natural-movement-algorithm/