
หากพูดถึงเรื่องควอนตัมคอมพิวเตอร์ ก็คงจะนึกถึงบริษัทอย่าง Google และ IBM ซึ่งจะเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในวงการนี้ หากแต่อาจจะได้เห็นอีกบริษัทที่จะแข่งขันในพื้นที่นี้แล้ว โดย Honeywell กล่าวว่าอาจจะในอีก 3 เดือนข้างหน้านี้จะมีการเปิดตัวควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพสูงกว่าอุปกรณ์ในปัจจุบันอย่างน้อย 2 เท่าออกมา
หากจะแตกรายละเอียดลงไปถึงการเคลมดังกล่าวก็จะต้องมีเนื้อหาอิงเล็กน้อย ตามที่ Protocol มุ่งไป หลายๆ บริษัทจะพูดถึงเกี่ยวกับ qubit เมื่อพูดถึงความสามารถของเครื่องพวกเขา ตัวอย่างเช่น Sycamore คอมพิวเตอร์ของ Google ที่เคลมเมื่อปีที่ผ่านมาว่ามีความสามารถในเชิงควอนตัมได้สูงสุดที่ 53 qubits ส่วน Honeywell นั้นจะใช้อีกตัววัดหนึ่งเรียกว่า quantum volume แทนที่จะพูดถึงความสามารถของเครื่อง ซึ่ง IBM ได้ให้คำนิยามไว้ว่า
“Quantum Volume นั้นจะคิดคำนวณถึงจำนวน qubits, การเชื่อมต่อ (connectivity), เกตควอนตัม (gate) และข้อผิดพลาดในการวัด (measurement error) ซึ่งการปรับปรุงวัสดุที่อยู่ภายใต้อุปกรณ์กายภาพต่างๆ ทั้งการเพิ่ม coherence time การลดการคุยกันภายในอุปกรณ์ข้ามไปมา และประสิทธิภาพคอมไพเลอร์วงจรซอฟต์แวร์ นั้นจะสามารถชี้ให้เห็นถึงความคืบหน้าที่วัดผลได้สำหรับ Quantum Volume เช่นเดียวกับการปรังปรุงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรูปแบบคล้ายๆ กัน”
ประเด็นในจุดนี้คือ quantum volume นั้นพยายามที่จะวัดผลประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์โดยใช้มุมมองแบบองค์รวมจากหลายๆ ส่วนที่ต่างกัน ทั้ง qubit แบบดิบๆ ก็เป็นส่วนที่สำคัญในการคำนวณ หากแต่มันมีการปฏิสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ ได้ดีหรือไม่ก็มีผลด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น หากอัตราความผิดพลาดที่ qubit เหล่านั้นสร้างขึ้นมามีค่าน้อยลงก็จะได้ผลคะแนนที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ดีถ้าเป็นค่า quantum volume ที่สูงขึ้น แปลว่าคอมพิวเตอร์นั้นก็จะแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนกว่าเดิมได้
Honeywell เคลมว่าคอมพิวเตอร์ที่กำลังจะมานั้นจะมี quantum volume อย่างน้อยที่ 64 ซึ่งเพื่อที่จะให้เห็นถึงมุมมองตัวเลข ทาง IBM เพิ่งประกาศล่าสุดที่ผ่านมาว่าคอมพิวเตอร์ 28 qubit ที่สร้างขึ้นมาได้ quantum volume อยู่ที่ 32 ซึ่งการที่บริษัทสามารถสร้างได้สำเร็จนั้นเป็นเพราะส่วนหนึ่งของ breakthrough ที่ทำได้ในปี 2558 ที่ได้สร้างเทคโนโลยีที่ใช้เลเซอร์ในการดังจับอะตอมไฟฟ้าในสภาวะซ้อนทับ (superposition) ได้สำเร็จ