ฟีเจอร์ตรวจข้อเท็จจริงของ Google ได้ขยายเพิ่มมาสู่การตรวจสอบรูปภาพแล้วนอกเหนือจากการค้นหาธรรมดาและ YouTube
เมื่อกดไปที่รูปปลอมเพื่อดูรายละเอียด ก็จะเห็นข้อความจากแหล่งที่ตรวจสอบแล้วที่ระบุว่ามีอะไรแปลกปลอม และนำเสนอลิงก์ไปยังบทความที่แสดงให้เห็นว่าภาพนั้นเป็นภาพปลอม เมื่อทราบว่ารูปนั้นเป็นภาพไม่จริงแล้วก็จะทำให้ผู้ใช้งานตระหนักได้ก่อนที่จะเริ่มแชร์ส่งต่อให้เพื่อนๆ เชื่อกันอย่างผิดๆ ตามกันไป
บริษัทใช้วิธี open ClaimReview แบบเดียวกับที่ใช้บน YouTube เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงจากแหล่งที่มาอิสระและมีอำนาจอย่าง PolitiFact
ช่วงเวลาที่ Google ปล่อยฟีเจอร์นี้ออกมาก็ใกล้กับช่วงที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าพอดี และมีความกังวลว่าจะมีกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดีทั้งประเทศที่เป็นปรปักษ์และนักการเมืองภายในประเทศเองที่จะใช้ภาพตัดต่อมาทำให้ผู้ลงคะแนนเสียงเข้าใจผิด
แม้ว่าระบบจะไม่ได้จับภาพปลอมได้ทุกภาพ แต่ก็น่าจะช่วยป้องกันไม่ให้ภาพเหล่านั้นเผยแพร่ออกไปบนฟีดทางโลกโซเชียลแล้วหลอกผู้ใช้ไปทั่วได้