[Guest Post] 7 ความท้าทายทางเทคโนโลยีในครึ่งหลังของปี 2020

0

หลายคนอาจต้องทำงานจนลืมเวลาเมื่อเผชิญกับความกดดันในการแก้ไขปัญหาทางเทคโนโลยีอย่างมากในปี 2020 นี้ การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสได้ทำให้ธุรกิจองค์กรทั่วโลกต้องปรับตัวเข้ากับความเป็นจริงในรูปแบบใหม่ที่ยังคงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจจะเริ่มผ่อนคลายและหลายธุรกิจเริ่มกลับมาเปิดทำการแล้ว แต่การดำเนินธุรกิจเหล่านี้ก็ต้องเป็นไปอย่างระมัดระวังและจับตามองดูความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจากโรคระบาดนี้อยู่ตลอด และถึงแม้อนาคตจะยังไม่ชัดเจน แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนก็คือการที่ผู้คนปรับตัวสู่ “New Normal” ที่กิจกรรมต่างๆ ถูกย้ายไปอยู่บนโลกออนไลน์แทน อัตราการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีนี้ก็สูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ปัจจัยเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงโอกาสสำหรับธุรกิจในการพัฒนากลยุทธ์ทางดิจิทัลขึ้นมาใหม่ และค้นหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ อย่างไรก็ดี แนวทางนี้ก็ยังมีความท้าทายและมีความเสี่ยงบางประการที่ผู้บริหารต้องคำนึงถึงอยู่ตลอด

และนี่ก็คือ 7 ความท้าทายทางเทคโนโลยีที่ธุรกิจองค์กรจะต้องเผชิญในครึ่งหลังของปี 2020 เป็นต้นไป

1. Information Security

เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นทางเลือกหลัก ธุรกิจจึงต้องเสริมประเด็นด้านการตรวจจับและป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ให้มากยิ่งขึ้น

อ้างอิงจากรายงาน CSO Pandemic Impact Survey 26% ของผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถามระบุว่าพวกเขาพบภัยคุกคามไซเบอร์มากขึ้นทั้งในเชิงปริมาณ, ความรุนแรง และความครอบคลุมตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา และเช่นเดียวกัน การทำงานจากระยะไกลก็กลายเป็นเรื่องที่พบเห็นได้มากขึ้น โดย 61% ระบุว่ามีความกังวลเป็นอย่างมากต่อการที่พนักงานที่ทำงานจากที่บ้านจะตกเป็นเหยื่อของการโจมตี

การโจมตีแบบ Phishing, Malspams และ Ransomware ที่แฝงตัวเข้ามาเสมือนเป็น Application เกี่ยวกับ COVID-19 จริงๆ นั้นกลายเป็นการโจมตีที่ถูกพบเห็นได้มากที่สุด และส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางไม่เพียงแต่กับผู้ที่ทำงานจากระยะไกลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงลูกค้าของธุรกิจด้วย

2. Cloud Computing

วิกฤต COVID ได้ทำให้เกิดการใช้งาน Cloud Computing มากยิ่งขึ้น ในรายงาน Flexera 2020 State of the Cloud Report ระบุว่า 59% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการใช้ Cloud ของพวกเขา สูงขึ้นกว่าที่เคยวางแผนเอาไว้ตั้งแต่ก่อนที่ไวรัสจะแพร่ระบาด และท่ามกลางความไม่แน่นอนนี้ที่ซึ่งพนักงานต้องทำงานจากที่บ้าน Cloud Computing ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้เหมือนในอดีตที่ผ่านมา

ถึงแม้ว่าประโยชน์ของ Cloud จะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขยายได้ง่าย การเข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์ในทุกที่ทุกเวลา และการคิดค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริง แต่ก็ยังมีประเด็นที่ผู้บริหารต้องไม่ลืมและให้ความสำคัญ ได้แก่ การจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล, ความซับซ้อนในการบริหารจัดการ, การต้องถูกผูกติดกับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง, ประสิทธิภาพ และความเร็วในการเข้าถึงระบบ

3. Integrations and Upgrades

เพื่อให้ธุรกิจยังคงแข่งขันได้ ธุรกิจองค์กรนั้นต้องมีการประเมินและปรับปรุงกระบวนการและเทคโนโลยีที่ใช้งานอยู่เสมอ แต่การปรับแต่งระบบที่มีให้พร้อมใช้งานหรือระบบที่มีอายุการใช้งานนานนั้นอาจต้องใช้เวลาและเงินมหาศาล โซลูชันที่ง่ายที่สุดนั้นก็คือการผสานเครื่องมือใหม่ๆ เข้ากับระบบเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม แทนที่จะต้องสร้างระบบขึ้นมาใหม่ทั้งหมดนั่นเอง

อย่างไรก็ดี หากแนวทางนี้ถูกดำเนินการโดยขาดการฝึกอบรมและการบริหารจัดการที่ดี ก็อาจส่งผลต่อการนำผลิตภัณฑ์ใหม่มาใช้งานได้

4. Automation and Robotics

ด้วยความต้องการในการเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ธุรกิจองค์กรที่เคยลงทุนในระบบ RPA, BPM และการทำ Automation ด้วยวิธีการอื่นๆ นั้นก็สามารถตอบรับต่อความต้องการทางธุรกิจใหม่ๆ ได้อย่างคล่องแคล่วยิ่งกว่า ธุรกิจองค์กรที่ยังคงใช้กระบวนการทำงานแบบเดิมๆ ก็จะถูกกดดันให้ทำงานจนถึงขีดจำกัดและขาดประสิทธิภาพหรือความมั่นคงจากกระบวนการทำงานแบบเดิมที่ใช้อยู่

ในช่วงเวลาวิกฤตนี้ที่ซึ่งธุรกิจองค์กรจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่าย การทำ Automation นั้นอาจไม่ได้รับความสำคัญมาก แต่สิ่งหนึ่งที่วิกฤตครั้งนี้ได้แสดงให้เราเห็นก็คือความสำคัญของการทำ Automation นั่นเอง

อย่างไรก็ดี ผู้บริหารก็ต้องระมัดระวังเมื่อจะนำ RPA และเทคโนโลยี Automation อื่นๆ มาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และมีการใช้งานโดยพนักงานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกี่ยวข้องกับประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัย

5. Artificial Intelligence and Machine Learning

เราได้ยินเรื่องราวของการใช้ AI และสิ่งที่ AI จะมาพลิกโฉมไปในอีกหลายสิบปีนับถัดจากนี้ แต่ AI ในทุกวันนี้ก็ยังเพิ่งเริ่มต้นสู่การเป็นกระแสหลักเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีรู้จำใบหน้า, การแปลภาษา ไปจนถึงการเป็นผู้ช่วยอย่างเช่น Siri หรือ Alexa ก็ตาม และทั้งหมดนี้ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของ New Normal ไปแล้ว

นอกจากนี้ ธุรกิจองค์กรก็ยังมีการนำ AI มาใช้งานในกระบวนกาทางธุรกิจเพื่อปรับกระบวนการทำงานให้เป็นอัตโมัติและสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าและพนักงาน AI สามารถช่วยให้พนักงานมีเวลามากขึ้นจากงานที่ต้องใช้แรงงานและเวลาเป็นหลัก เพื่อมามุ่งเน้นกับงานที่ต้องใช้ความสร้างสรรค์และโครงการด้านนวัตกรรมได้มากขึ้น ความท้าทายเชิงเทคโนโลยีก็คือธุรกิจองค์กรจะบริหารจัดการความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและ AI ได้อย่างไร เมื่อ AI นั้นจะมาทดแทนความต้องการทักษะบางประการและทำให้พนักงานต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แทน

6.  Skills Gap

จากรายงาน Speed of Change: How Fast Are You ที่เพิ่งถูกเผยแพร่ออกมาเร็วๆ นี้ ทั้งผู้นำทางด้านธุรกิจและผู้ตามนั้นต่างก็ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนพนักงานที่ทักษะและความสามารถเพื่อตอบรับต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในการใช้งานสถาปัตยกรรมทาง IT ที่ทันสมัยเพื่อสร้างความคล่องตัวให้กับธุรกิจ

ผู้ตามทางธุรกิจที่ระบุว่าการจ้าง “Full-Stack Developer” นั้นมีความยากหรือยากที่สุดนั้นมีจำนวนมากกว่าถึง 21% ในขณะที่กลุ่มผุ้นำนั้นจะมีความท้าทายที่น้อยกว่าในการจ้าง Full-Stack Developer เนื่องจากมีแนวทางและเครื่องมือที่ใช้อยู่แล้วและมีงานที่มีคุณภาพให้พนักงานทำ แทนที่จะต้องทำงานเกี่ยวกับการดูแลรักษาระบบเก่าๆ ให้ยังคงทำงานต่อไปได้ พนักงานในบริษัทผู้นำมักได้ทำงานในโครงการใหม่ๆ เสียมากกว่า

7. Business Continuity and Disaster Recovery Plans

แผนการทำ Business Continuity และ Disaster Recovery นั้นเป็นสิ่งที่มีมานานแล้ว แต่เมื่อธุรกิจองค์กรต้องเผชิญกับการขนาดแคลนพนักงานอย่างกระทันหัน และพนักงานหรือบริการต่างๆ ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ แผนการเหล่านี้ก็กลับมาได้รับความสำคัญอีกครั้งในปี 2020

ถึงแม้ว่าการแพร่ระบาดของโรคระบาดทั่วโลกในครั้งนี้จะไม่ใช่สิ่งที่พบเจอกันบ่อยๆ แต่ภัยธรรมชาติ, ภัยจากมนุษย์ และภัยคุกคามด้านความมั่นคงปลอดภัยอย่างเช่น Malware นั้นก็ล้วนเป็นสิ่งที่พบเจอกันได้เสมอ และธุรกิจองค์กรก็ควรที่จะเตรียมพร้อมเพื่อให้กระบวนการในการกู้คืนและทำงานได้อย่างต่อเนื่องนั้นสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น


ก้าวข้ามประเด็นปัญหาทางเทคโนโลยี

ประเด็นนี้และประเด็นอื่นๆ จะถูกนำมาถกเถียงอภิปรายกันในงานสัมมนาดิจิทัลใหญ่ที่มีชื่อว่า NextStep ซึ่งคุณสามารถลงทะเบียนมาร่วมงานกับเราได้ในวันที่ 15-16 กันยายนนี้ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมว่าคุณจะเปลี่ยนความท้าทายเหล่านี้ให้กลายเป็นโอกาสได้อย่างไร และประเด็นที่จะพูดคุยในงานครั้งนี้จะมีดังต่อไปนี้

  • รับชมข้อมูลเชิงลึกของตลาดจากผู้เชี่ยวชาญของ OutSystems และนักวิเคราะห์ชั้นนำของวงการ
  • เรียนรู้เกี่ยวกับโครงการที่ประสบความสำเร็จซึ่งถูกออกแบบและพัฒนาโดยพันธมิตรของ OutSystems
  • พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านความสำเร็จของลูกค้าของเราและเรียนรู้ว่าจะสร้างคุณค่าสูงสุดจาก OutSystems ได้อย่างไร
  • เชื่อมต่อกับโครงข่ายผู้เชี่ยวชาญ่จากทั่วโลก
  • รับฟังเรื่องราวจากลูกค้าของเราว่าพวกเขาทำงานอย่างรวดเร็วและขึ้นเป็นผู้นำในตลาดได้อย่างไรท่ามกลางวิกฤต COVID ครั้งนี้
  • มาร่วมสนุกและสัมผัสประสบการณ์เฉพาะกับการแสดงออนไลน์ ‘MAGIC’ ที่เปิดให้คุณมีส่วนร่วมได้

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ฟรี: https://www.outsystems.com/nextstep/?utm_source=techtalkthai&utm_medium=apac&utm_campaign=nextstep-2020&utm_content=event&utm_term=banner


ถ้าคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Low-Code และคุณค่าที่ธุรกิจจะได้รับ กรุณาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากตัวแทนของ OutSystems และพันธมิตรของเราเพื่อรับชมการสาธิตเทคโนโลยีได้ทันที