6 เทรนด์ Digital Workplace ประจำปี 2020 จาก Gartner Hype Cycle

0

เป็นประจำทุกปีที่ Gartner จะทำการศึกษานวัตกรรมและเทคโนโลยีในด้านต่างๆเพื่อนำมาสรุปเป็น Hype Cycle ที่บอกเล่าสถานะของ Hype ความคาดหวัง และ Maturity ของนวัตกรรมในตลาดในช่วงปีนั้นๆ

และในปีนี้ เมื่อ Hype Cycle ในหัวข้อ Digital Workplace ได้ถูกเผยแพร่ออกมา Gartner ก็ได้สรุปเทรนด์ของ Digital Workplace ออกมา 6 ข้อได้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

1. เครื่องมือพื้นฐานใหม่ในการทำงาน

แพลตฟอร์ม Cloud Office ที่รวมเครื่องมือด้าน Productivity, Collaboration, และ Communication เช่น อีเมล์ แชท แชร์ไฟล์ ประชุมออนไลน์ จัดการและแก้ไขเอกสาร ไว้ในแพลตฟอร์มเดียวได้กลายมาเป็นเครื่องมือพื้นฐานชนิดใหม่ในการทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถานการณ์ในปีนี้ส่งผลให้มีการทำงานแบบรีโมตมากขึ้น

Cloud Office นั้นมีการใช้อย่างแพร่หลายเพราะองค์กรมีแนวโน้มนิยมซอฟต์แวร์บนคลาวด์ ต้องการลดค่าใช้จ่าย และต้องการมอบเครื่องมือที่ดีขึ้นให้กับพนักงานภายในองค์กร ในขณะเดียวกันผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเหล่านี้ก็มีการพัฒนาแพลตฟอร์มเหล่านี้ด้วยการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานนอกสถานที่ การเพิ่ม Content Discover และการประยุกต์ AI เข้ามาช่วยงาน

2. Bring Your Own Thing

ผู้คนเริ่มมีการใช้อุปกรณ์มากขึ้นในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ IoT หรืออุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะต่างๆ เช่น Smart Light, สายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพ, หูฟังอัจฉริยะ, หรืออุปกรณ์ VR ซึ่งจากแนวโน้มนี้ ในอนาคตจะมีการใช้อุปกรณ์ที่ซับซ้อนขึ้น เช่น หุ่นยนต์และโดรน ในการสนับสนุนการทำงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในออฟฟิศหรือแบบรีโมตก็ตาม

3. ระยะทาง

การเกิดขึ้นของ COVID-19 พลิกให้การทำงานผ่านระยะทางกลายเป็นเรื่องปกติในสังคม ก่อให้เกิดกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่พึ่งพาการพบปะต่อหน้าดังเดิม และธุรกิจที่เคยดำเนินการด้วยการพบปะต่อหน้าและจัดอีเวนทก์ก็ได้ปรับตัวไปดำเนินการผ่านช่องทางเสมือนแทน

กิจกรรมต่างๆในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการประชุภายใน การพบปะลูกค้า การสัมภาษณ์งาน ล้วนเปลี่ยนไปทำให้รูปแบบออนไลน์ และก่อให้เกิดโซลูชันด้านการประชุมใหม่ๆที่พยายามถอดแบบการพบปะต่อหน้าให้ได้มากที่สุด

4. Smart Workspace

Smart Workspace จะใช้ประโยชน์จากเทรนด์การแปลงสิ่งของให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อสร้างวิธีการทำงานแบบใหม่และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Smart Workspace นั้นก็มีตั้งแต่ IoT ป้ายดิจิทัล ระบบจัดการสถานที่ทำงาน ระบบที่ทำงานเสมือน จนถึงเซ็นเซอร์และระบบรู้จำใบหน้า โดย Workspace ในที่นี้หมายถึงที่ใดๆก็ตามที่มีการทำงานเกิดขึ้น

ตัวอย่างหนึ่งของ Smart Workspace คือการใช้เทคโนโลยีเพื่อทำความเข้าใจในพฤติกรรมของพนักงาน วิเคราะห์ และวางกลยุทธ์การกลับเข้ามาทำงานอย่างปลอดภัยหลัง COVID-19

5. Desktop-as-a-service (DaaS)

บริการ Desktop-as-a-service เช่น Virtualised Desktop Infrastructure (VDI) นั้นเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในตลาดมาระยะหนึ่งแล้วแต่ยังไม่แพร่หลายนักด้วยความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ทว่าวิกฤตการณ์โควิด 19 ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญและคุณค่าของการเข้าถึง Virtualised Desktop Environment จากการทำงานระยะไกล และส่งผลให้เกิดความสนใจและการนำเทคโนโลยี DaaS เข้าไปใช้งานในองค์กรมากขึ้น

6. เทคโนโลยีสำหรับทุกคน

ในอนาคตผู้ที่ใช้งานบริการเทคโนโลยีต่างๆจะเป็นผู้ก่อร่างสร้างบริการเหล่านั้นขึ้นมาเอง โดยเทรนด์ที่เราจะเห็นคือเครื่องมือที่มอบความสามารถในการสร้างนวัตกรรมให้กับผู้ใช้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ และการเกิดขึ้นของทักษะใหม่ๆ เช่น Citizen Developer ที่ใช้แพลตฟอร์ม Low-code หรือ No code ที่ทีม IT ขององค์กรจัดเตรียมให้เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์, Citizen Integrator ที่สามารถดำเนินการเชื่อมต่อแอปพลิเคชัน ข้อมูล และขั้นตอนการทำงานต่างได้แม้ไม่เชี่ยวชาญด้าน IT, และ Citizen Data Scientist ซึ่งใช้เครื่องมือเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงโดยไม่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล