Hyperautomation เป็นหนึ่งในเทรนด์เทคโนโลยีประจำปี 2020 ที่ Gartner คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดในบรรดาเทคโนโลยีสำหรับองค์กรทั้งหมด โดย Hyperautomation นั้น หมายถึงการนำเทคโนโลยีต่างๆ เช่น AI และ Process mining เข้ามาเสริมให้เทคโนโลยี Automation ดั้งเดิมสามารถทำงานได้อย่างชาญฉลาดและหลากหลายมากกว่าเดิม
ทีมงาน ADPT.news ได้มีโอกาสฟังเสวนาจากคุณ Param Kahlon – Chief Product Officer บริษัท UiPath SRL และคุณแอนดรูว์ แม็คบีน ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย บริษัท UiPath ในงาน Techsauce Global Summit: Special Edition – Evolving Stronger ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งคุณ Param ได้บรรยายถึง Hyperautomation และหนทางในการนำเทคโนโลยีนี้เข้าไปใช้งานในองค์กรให้เราได้เข้าใจอย่างครบถ้วน เนื้อหาสาระจะมีอะไรบ้างนั้น ADPT ขอสรุปมาให้อ่านกันในบทความนี้
The Evolution of RPA
เพียงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ความคาดหวังที่มีต่อเทคโนโลยี Robotic Process Automation (RPA) ยังเป็นเพียงการเข้ามาช่วยลดการทำงานที่คนต้องทำซ้ำๆหรือมีปริมาณมาก แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าขึ้นและ RPA สามารถทำงานร่วมกับ AI ได้ง่ายยิ่งขึ้น ทำให้ RPA ได้กลายเป็นเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ไปใช้งานได้หลากหลายและทำงานที่ซับซ้อนได้อย่างเฉลียวฉลาดกว่าเดิม
อีกหนึ่งความเปลี่ยนแปลงคือกระแสความคิดและทัศนคติของผู้คน จากเดิมที่มีความกังวลกันว่า RPA และ AI จะเข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์ หลายองค์กรได้เริ่มมีการใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติมากขึ้น เราจึงเห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าเทคโนโลยีอัตโนมัติเข้ามามีบทบาทเป็นผู้ร่วมงานที่มาช่วยเพิ่มประสิทธิผล เพิ่มความแม่นยำและลดเวลาในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพในระดับบุคคล หรือในระดับองค์รกรก็ตาม
ทั้งสองปัจจัยที่กล่าวมานี้ ประกอบกับแนวโน้มประชากรวัยทำงานที่ลดลงทั่วโลก และความต้องการปรับตัวเข้าสู่วิถีดิจิทัลของธุรกิจ ส่งผลให้ RPA ได้รับความสนใจและเริ่มได้รับการนำไปใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
What do you get from Automation?
ดังที่ได้กล่าวไปว่าการที่เทคโนโลยีอัตโนมัติเข้ามามีบทบาทช่วยแบ่งเบาการทำงานให้กับพนักงาน กับงานซ้ำๆ จำนวนมาก นั่นจึงกลายเป็นหนึ่งเหตุผลอันดับแรกๆ ของการเลือกใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติในหลากหลายธุรกิจ และเมื่อเทคโนโลยีนี้มีขอบเขตความสามารถที่มากขึ้น พนักงานก็สามารถนำเวลาที่เคยใช้ในการทำงานเหล่านี้ไปทำอย่างอื่นที่มีคุณค่าต่อธุรกิจมากกว่าได้ ประโยชน์ในส่วนนี้นั้นมีทั้งในแง่ของตัวบุคคลและธุรกิจ กล่าวคือผู้ทำงานจะมีประสบการณ์ในการทำงานที่ดีขึ้น ได้ทำงานที่มีความหมายมากขึ้น ซึ่งส่งเสริมความรู้สึกถึงคุณค่าในตัวเอง และในขณะเดียวกันองค์กรก็สามารถประหยัดเวลาและงบประมาณได้มากขึ้นเช่นกัน
RPA เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีความคุ้มค่าในการลงทุนสูง สามารถให้ผลตอบแทนการลงทุนได้ในเวลาเพียงหนึ่งปี และองค์กรสามารถเห็นผลลัพธ์การใช้การและประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในเวลาอันรวดเร็ว โดยในการลงทุนในเทคโนโลยี RPA ธุรกิจไม่จำเป็นที่จะต้องลงทุนแบบครบวงจรทั้งหมดตั้งแต่แรก และสามารถเลือกลงทุนเป็นส่วนๆก่อนจะขยายระบบออกไป ดังจะพูดถึงต่อไปนี้
องค์กรจะเริ่มต้นกับ Hyperautomation อย่างไร?
เมื่อประโยชน์ของเทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation) เป็นที่เข้าใจกันแล้ว คำถามที่มักจะตามมาคือองค์กรจะเริ่มต้นใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัตได้อย่างไร และจะทำอย่างไรให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดจากเทคโนโลยีนี้ ในส่วนนี้คุณ Param แนะนำว่าควรเริ่มจากการตั้งทีมดูแลด้านเทคโนโลยีอัตโนมัตเฉพาะกิจหรือ CoE (Center of Excellence) ที่จะเป็นผู้นำร่องนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้งาน โดยสิ่งแรกที่พวกเขาต้องทำคือการพิจารณาว่าขั้นตอนใด หรืองานส่วนที่สามารถเปลี่ยนมาใช้ขั้นตอนอัตโนมัติได้ และควรลำดับความสำคัญอย่างไร จากนั้นก็เริ่มเรียนรู้และพัฒนา RPA ขึ้นมาใช้งาน
ลำดับต่อมา คือการแนะนำการใช้งาน RPA ไปยังทุกภาคส่วนขององค์กร ผ่านการเทรนนิ่งหรือวิธีอื่นๆ จากนั้นเมื่อพนักงานภายในองค์กรเริ่มใช้งาน RPA กันเป็นปกติ และมีความรู้เกี่ยวกับ RPA แล้ว ทีมเฉพาะกิจก็สามารถผันตัวจากผู้พัฒนา RPA ไปเป็นผู้กำกับดูแลการใช้งานแทน โดยทั้งหมดนี้คุณ Param เรียกว่าขั้นตอนแรกของการนำ RPA มาใช้งานภายในองค์กร
ขั้นตอนที่สองของการใช้งานจะว่าด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ RPA ให้ได้มากที่สุด โดยองค์กรสามารถนำเทคโนโลยี AI และวิทยาศาสตร์ข้อมูลเข้ามาเสริมการทำงานเทคโนโลยีอัตโนมัติ เช่น เพิ่มความสามารถให้ Robot ทำความเข้าใจ Unstructured Data ด้วย AI การทำ Process Mining เพื่อค้นหาขั้นตอนการทำงานที่สามารถเปลี่ยนให้เป็นงานของ RPA ได้เพิ่ม หรือการเก็บข้อมูลการทำงานเพื่อวิเคราะห์และวัดผลลัพธ์ของการใช้ RPA เพื่อนำไปปรับปรุงต่อไป ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะทำให้การใช้งาน RPA ได้อย่างสมบูรณ์ ยั่งยืน และพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
ทั้งสองขั้นตอนนี้แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของ RPA ภายในองค์กรตามทรรศนะของ UiPath และสิ่งนี้เองก็สะท้อนมายังเครื่องมือ Automation Platform ที่ UiPath ได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการ ที่มีตั้งแต่การพิจารณาค้นหา ออกไอเดียในการ Automation การพัฒนา Robot การเสริม AI เข้ามาใช้ร่วมกับ RPA การ Deploy ใช้งานและรองรับการใช้งานที่มากขึ้นในอนาคต (Scale) ด้วยการกำกับดูแลโดย Robot ทั้งหมดในองค์กร การสร้างความเข้าใจและประสบการณ์การทำงาน ไปจนถึงการวิเคราะห์วัดผลการทำงานของเทคโนโลยีอัตโนมัติ
โดยในการเรียนรู้พื้นฐานของเทคโนโลยี RPA ทาง UiPath ได้จัดเตรียม Resource ในการเรียนรู้ไว้อย่างครบครัน ดังนี้
- คอร์สเรียนออนไลน์เพื่อเสริมทักษะด้าน RPA ( https://bit.ly/3ovSEEW )
- การใช้ซอฟต์แวร์จาก UiPath, White Papers ให้ความรู้, โปรแกรมทดลองใช้ฟรี ( https://bit.ly/34xeArf )
- และชุมชนนักพัฒนาที่มีผู้เข้าร่วมหลายแสนคน (https://bit.ly/2HHnfyx)
Automation จะเป็นอย่างไรในอนาคต และเราทุกคนต้องเตรียมตัวอย่างไร
เทคโนโลยีอัตโนมัติจะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย และกลายเป็นวิธีการทำงานของพนักงานทุกคนในองค์กร โดย UiPath มองว่าในอนาคตนั้น ทุกคนจะสามารถพัฒนา Robot ส่วนตัวขึ้นมาคอยช่วยในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาผ่านรูปแบบ Low-code หรือการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อน และจะมีการประยุกต์ AI เข้ามาใช้กับ RPA เพื่อทำงานที่ซับซ้อนกว่าเดิม
ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอัตโนมัติไม่ว่าจะเป็นในขั้น Citizen Developer ที่สามารถสร้าง Robot อย่างง่ายๆขึ้นมาใช้งานแบบ Low-code หรือ No-code หรือจะเป็นขั้นสูงไปกว่านั้นก็ต่างจะเป็นทักษะติดตัวที่สำคัญต่อการทำงานที่ทุกคนสามารถเริ่มศึกษากันได้ตั้งแต่วันนี้
ทางด้านผลิตภัณฑ์ของ UiPath เอง ก็จะมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้องค์กรใช้งานเทคโนโลยี Automation ได้อย่างเต็มรูปแบบอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายหนึ่งของ UiPath คือการสร้างแพลตฟอร์มที่ใครๆ ก็ใช้งานได้ (User friendly) และไม่ต้องพึ่งพาความเชี่ยวชาญด้าน IT มากนักเพื่อให้ เทคโนโลยีอัตโนมัติ เข้าถึงทุกๆ คนในองค์กรอย่างแท้จริง โดยในอนาคตอันใกล้ก็มีแผนจะเปิดตัวซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการพัฒนา Business Application ที่ใช้งาน RPA ได้โดยง่าย และมีการพัฒนาในด้านของ Process Mining และการค้นหาขั้นตอนที่ควรทำ Automation ต่อไป
เพียงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ หากเราพูดถึงซอฟแวร์หุ่นยนต์อัตโนมัติ (RPA) หรือ Robot
ภาพที่ปรากฏขึ้นในใจอาจเป็นโปรแกรมบนหน้าต่างสีดำที่ทำงานอย่างแข็งทื่อตามคำสั่ง และถูกเขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ แต่สิ่งที่ UiPath ได้แสดงให้เราได้เห็นในปัจจุบันคือ RPA ที่เติบโตและเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง จากโค้ดกลายเป็นการพัฒนาแบบลากวางที่ใครๆก็เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว จากความเชี่ยวชาญส่วนบุคคลกลายเป็นความเชี่ยวชาญซึ่งถูกออกแบบไว้แล้วในระบบ และจากการทำงานที่จำกัด ก็กลายเป็นการทำงานที่ยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ ด้วยเทคโนโลยีการจัดการและเทคโนโลยี AI อันชาญฉลาด
ในวันนี้ RPA คือเทคโนโลยีที่มี Ecosystem พร้อมใช้งานในระดับองค์กรที่ถูกพิสูจน์แล้วว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจได้จริง คุ้มค่าต่อการลงทุน และยืนหยุ่นรวดเร็วพอที่จะรับมือต่อความเร็วของการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน เทคโนโลยี RPA สามารถนำไปประยุกต์ได้กับธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม และการทำงานของทุกฝ่ายภายในองค์กร
หากท่านใดสนใจศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Hyperautomation อาจเริ่มต้นได้ด้วยการเข้าไปเรียนรู้เพิ่มเติมในคอร์สออนไลน์ของ UiPath ที่เว็บไซต์ https://academy.uipath.com
ทดลองใช้งานและเทรนนิ่ง บรรยายภาษาไทย โดยทีมงาน INETMS ฟรี! คอร์ส UiPath Tutorial for Beginners by INET MS ได้แล้ววันนี้
คลิกเข้าร่วมกลุ่มได้ที่ : https://bit.ly/2R6qXDG
แลกเปลี่ยน-สอบถามข้อมูลการใช้งานUiPath
Facebook group : UiPath RPA User Thailand
คลิกเข้าร่วมกลุ่มได้ที่ : https://bit.ly/2yvv3ic
ทำความรู้จักRPA
https://www.youtube.com/watch?v=V-8IX761lt4
INETMS พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ RPA และ UiPath เต็มรูปแบบ
INETMS พร้อมให้คำปรึกษาและตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี RPA ไปใช้งานในองค์กร ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนทางเทคนิค ไปจนถึงกลยุทธ์ในการเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้เข้าสู่ Automation Culture อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านทรานสฟอร์มองค์กรด้วยเทคโนโลยี RPA เพื่อเป็นส่วนช่วยเสริมศักยภาพทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ตอบรับการเคลื่อนธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน
สนใจข้อมูลผลิตภัณฑ์หรือบริการ และคำปรึกษาแนะนำด้านโซลูชันเพื่อใช้งานภายในธุรกิจ ติดต่อได้ที่
โทร: 0-2257-7100
อีเมล์: [email protected]
Facebook: https://www.facebook.com/INETManagedServices
เว็บไซต์: https://www.inetms.co.th/