วิศวกรจาก MIT แปลงปวยเล้งให้เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับสารระเบิดในดินที่สามารถส่งสัญญาณแจ้งเตือนเพื่อส่งอีเมล์ไปยังนักวิทยาศาสตร์ได้
คณะนักวิจัยSCIENTISTS HAVE TAUGHT SPINACH TO SEND EMAILS AND IT COULD WARN US ABOUT CLIMATE CHANGEจาก MIT ใช้ความรู้ด้าน Plant Nanobionics ตัดต่อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของต้นปวยเล้ง โดยเมื่อรากของปวยเล้งตรวจพบสาร Nitroaromatics ซึ่งมักเป็นส่วนประกอบของสารระเบิดและกับระเบิดในน้ำบาดาล Nanotube คาร์บอนในต้นปวยเล้งก็จะส่งสัญญาณออกไปในอากาศ สัญญาณนี้จะถูกอ่านโดยกล้องอินฟราเรด และถูกแปลงออกเป็นอีเมล์เพื่อแจ้งเตือนนักวิทยาศาสตร์และผู้เกี่ยวข้อง
การพัฒนาปวยเล้งตรวจจับสารระเบิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพืช โดยศาสตราจารย์ Michael Strano ผู้นำคณะนักวิจัยนี้กล่าวว่าพืชเป็นนักวิเคราะห์ทางเคมีที่ดี เพราะพืชมีรากที่ชอนไชไปในดิน สัมผัสกับตัวอย่างน้ำบาดาลอย่างสม่ำเสมอ และมีระบบในการลำเลียงน้ำขึ้นไปยังใบไม้ได้
งานวิจัยชิ้นนี้ ยังคงเป็นงานวิจัยในช่วงต้นของแนวคิดการนำชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไปอยู่ในพืช โดยนักวิจัยเชื่อว่าการทำเช่นนี้จะช่วยให้พืชเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยเตือนนักวิจัยเกี่ยวกับมลพิษและปัญหาทางสิ่งแวะล้อมอื่นๆ ซึ่งก่อนหน้านี้ทีมวิจัยก็เคยคิดค้นการปรับเปลี่ยนกลไกสังเคราะห์แสงของพืชให้ตรวจจับ Nitric Oxide ซึ่งเป็นมลพิษที่เกิดจากการสันดาบเครื่องยนต์ได้
Strano กล่าวว่าพืชนั้นตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมได้ดี และสามารถตรวจพบความเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยๆในดินและน้ำได้ และหากเราสามารถใช้ประโยชน์จากตรงนี้ เราก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อีกมาก