[Guest Post] SAS และคณะบัญชี จุฬาฯ จัดกิจกรรม Hackathon เสมือนจริงเป็นเวลา 4 วัน เพื่อกระตุ้นการผลิตนวัตกรรมระบบวิเคราะห์

0

SAS ผู้นำด้านระบบวิเคราะห์ร่วมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ Chulalongkorn Business School (CBS) จัดกิจกรรมระดมสมองเสมือนจริงเป็นระยะเวลา 4 วันโดยได้รับความร่วมมือจากสถาบัน HEC Montreal เพื่อเป็นการริเริ่มพัฒนาวงการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ในประเทศไทย การจัดกิจกรรมออนไลน์ครั้งนี้จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ถึงวันที่ 10 ตุลาคมโดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนิสิตนักศึกษา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความตระหนักรู้ทางด้านความสำคัญของการศึกษาระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics)

นิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้เป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์ทั้งหมดซึ่งมาจากสาขาวิชาต่างๆ โดยกิจกรรม Hackathon ได้เปิดเวทีให้เหล่านิสิตได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมด้านนวัตกรรมระบบวิเคราะห์ การทำงานร่วมกันและการแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม  

ในแต่ละทีมต้องเล่นเกมจำลองออนไลน์และเรียนรู้ทักษะด้านระบบวิเคราะห์โดยใช้ SAS Enterprise Miner ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสร้างแบบจำลองสำหรับการทำนาย (Predictive Modelling) ไปด้วย โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้รับชุดข้อมูลจริง (Real-world Dataset) จากองค์กรการกุศลไม่แสวงหากำไรและจะต้องนำฐานข้อมูลผู้บริจาคทั้งหมดมาทำให้เกิดผลกำไรสูงสุด

มากกว่านั้นการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เร่งให้เกิดความต้องการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทย เช่น การดูแลสุขภาพ การเงิน การผลิต และภาครัฐใน แต่ก็ยังถูกจำกัดด้วยช่องว่างด้านทักษะที่เพิ่มขึ้น

คุณณัฐพล อภิลักโตยานันท์ กล่าวว่า “กิจกรรม hackathon ครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างทักษะความสามารถด้านการรับรู้ข้อมูล (Data Literacy) ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและต้องการบ่มเพาะนวัตกรรมด้านระบบวิเคราะห์ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในอาชีพของพวกเขาในอนาคต รวมถึงยังช่วยเพิ่มพูนทักษะต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปใส่ไว้ในประวัติส่วนตัวเพื่อการสมัครงานได้อีกด้วย”

ศ.ดร.อัษฎาพร ทรัพย์สมบูรณ์ หัวหน้าภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการกิจกรรมที่ครั้งนี้เอาไว้ว่า “Hackathon เป็นกิจกรรมที่ดีมากซึ่งอาจารย์สามารถนำประสบการณ์จากโลกความเป็นจริงมาสู่ห้องเรียน รวมถึงนิสิตสามารถนำประสบการณ์เหล่านี้ไปใส่ไว้ในประวัติส่วนตัวเพื่อใช้สมัครงานได้อีกด้วย อีกทั้งนิสิตยังได้แข่งขันกันอย่างสนุกสนานและเพิ่มโอกาสในการพัฒนาอาชีพในอนาคต”

ศ.ดร.อัษฎาพร กล่าวเสริมอีกว่า “ที่คณะของเรายังตระหนักว่า ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยและการแก้ปัญหาสังคมในด้านต่าง ๆ ดังนั้นการร่วมงานกับทาง SAS มาอย่างยาวนานจะช่วยรับมือกับความท้าทายเช่นนี้ได้”

CBS-SAS Hackathon เป็นโครงการแรกเริ่มที่ออกแบบโดยองค์กรพันธมิตรทั้งสองเพื่อช่วยเปิดประตูสู่เส้นทางอาชีพระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดให้แก่นิสิตนักศึกษา โดยทางคณะและบริษัท SAS ได้ริเริ่มโครงการนี้ในปี 2560 โดยมีนิสิตเกือบ 500 คนที่ได้รับการฝึกอบรมด้านระบบวิเคราะห์ของ SAS

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมดจะได้รับใบประกาศนียบัตรจากทาง SAS และคณะพาณิยชศาสตร์และการบัญชี ทีมที่ชนะพร้อมกับรองชนะเลิศอันดับ 1 และอันดับ 2 จะได้รับรางวัลเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมออนไลน์ SAS Certified Specialist: Machine Learning (การเรียนรู้ของเครื่อง) โดยใช้แพลตฟอร์ม SAS Viya

โดยโครงการนี้จัดขึ้นหลังจากการเปิดตัวโครงการ SAS Software Certified Young Professionals (SCYP) สำหรับนักศึกษาในประเทศไทยในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันนี้

หากมหาวิทยาลัยใดสนใจร่วนจัด SAS Hackathon กับทาง SAS สามารถติดต่อได้ที่ [email protected]