การที่ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่องนั้น มีส่วนผลักดันให้สังคมไร้เงินสดได้ขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ โดย 71% ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อซื้อสินค้าออนไลน์
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 ประเทศไทยมีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี พ.ศ. 2563 พบว่ามีผู้ใช้กว่า 53.57 ล้านคน และข้อมูลล่าสุดโดย Statista ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลด้านการตลาดและผู้บริโภคระดับโลก คาดว่าจะมีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 60 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2569 แม้ว่าการเพิ่มขึ้นดังกล่าวนั้นอาจเป็นผลที่สอดคล้องกับจำนวนประชากรไทยที่เพิ่มขึ้น แต่ตัวขับเคลื่อนหลักคือการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
การที่สมาร์ทโฟนสามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างกว้างขวางกระตุ้นให้แอปพลิเคชันสำหรับชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลได้รับความนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระเป๋าสตางค์ดิจิทัล (e-wallet) จากการสำรวจ Global Consumer Insights Survey 2019 ของ PwC พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เติบโตเร็วเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเรื่องของการชำระเงินผ่านอุปกรณ์มือถือ โดยเป็นรองจากประเทศเวียดนาม
ผู้บริโภคชำระเงินผ่านระบบมือถือมากขึ้น
แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นของการชำระเงินผ่านระบบมือถือมีข้อมูลสนับสนุนจากรายงาน Global Payment Trends ปี 2019 โดย JP Morgan ที่ว่าประชากรเกือบ 37 ล้านคน หรือ 71% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย สั่งซื้อสินค้าออนไลน์โดยใช้โทรศัพท์มือถือ โดย 1 ใน 5 ของผู้ใช้กลุ่มนี้นิยมใช้ e-wallet ในการชำระเงิน e-wallet จึงเป็นช่องทางการชำระเงินที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 4 ในประเทศไทย ผู้บริโภคในประเทศไทยสามารถเลือกชำระเงินผ่านมือถือได้มากถึง 23 ช่องทาง อ้างอิงข้อมูล ณ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 จึงกล่าวได้ว่าสังคมไร้เงินสดในประเทศไทยนั้นจัดเป็นเรื่องลำดับต้นๆของวาระแห่งชาติ
รายงานล่าสุดของ International Data Corporation (IDC) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก 2C2P ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงิน พบว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการผลักดันจากระบบชำระเงินทางดิจิทัล โดยในระหว่างปีพ.ศ. 2560 – 2563 จำนวนผู้ใช้ e-wallet เพิ่มขึ้นจาก 500 ล้านเป็น 2.8 พันล้านคน และมีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดจากช่องทางการชำระเงินทางอีคอมเมิร์ซ โดยคาดว่าตลาดขนาดใหญ่ที่สุดเป็นประเทศอินโดนีเซีย (ด้วยมูลค่า 83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) รองลงไปเป็นประเทศเวียดนาม (29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) และประเทศไทย (24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
รายงานดังกล่าวยังเปิดเผยว่า ภายในปีพ.ศ. 2568 การใช้จ่ายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซทั่วทั้งภูมิภาคจะเพิ่มสูงขึ้นไปแตะ 162% หรือคิดเป็นมูลค่า 179.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยการชำระเงินทางระบบดิจิทัลมีส่วนแบ่งคิดเป็น 91% ของขนาดธุรกรรมทั้งหมด การเพิ่มขึ้นนี้จะได้รับแรงหนุนจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคและการค้าปลีก โดยการมีตัวเลือกการชำระเงินที่ครอบคลุมมากขึ้น ณ จุดขาย และการเกิดขึ้นของวิธีการชำระเงินรูปแบบใหม่อื่นๆ
คนไทยเพิ่มความนิยมเข้าใช้ Lazada หรือ Shopify รวมถึงโซเชียลมีเดีย และแพลตฟอร์มไลฟ์สไตล์อื่นๆ เช่น Pantip และ Sanook บนอุปกรณ์มือถือมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคนี้ยังเป็นที่สนใจของแฮกเกอร์ในโลกไซเบอร์ที่แสวงหาแนวทางใหม่ๆตลอดเวลาเพื่อแทรกซึมเข้าไปบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งรวมถึงการโจมตีด้วยการทำวิศวกรรมสังคม (social engineering)
อันตรายที่แอบแฝงมากับระบบการชำระเงินออนไลน์
แม้ว่าบางคนอาจคิดว่าธุรกรรมอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ทำบนเดสก์ท็อปหรือแล็ปท็อป แต่ในความเป็นจริงนั้นโทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์หลักที่ผู้ใช้งานในทุกๆวัยเลือกใช้มากขึ้นเมื่อต้องการซื้อสินค้าและทำธุรกรรมออนไลน์เนื่องจากสามารถทำได้จากทุกที่ ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงสูงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์เพราะอุปกรณ์มือถือของพวกเขาอาจไม่ได้ถูกปกป้องด้วยซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสหรือมัลแวร์
ที่สำคัญกว่านั้นคือแอปพลิเคชันการชำระเงินบนอุปกรณ์มือถือสามารถถูกแฮ็กได้ แอปพลิเคชันเหล่านี้มักใช้การตรวจสอบสิทธิ์ด้วยการป้อนรหัสผ่านหรือ PIN ที่แฮกเกอร์สามารถโจมตีได้ด้วยการรันสคริปต์ที่ป้อนข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้งานจากข้อมูลที่ขโมยมาจากช่องทางอื่นๆได้อย่างง่ายดาย (credential stuffing) สคริปต์เหล่านี้ทำงานโดยใช้คู่ของชื่อบัญชีและรหัสผ่านที่เป็นมีความน่าจะเป็นไปได้ป้อนเข้าระบบจนกว่าจะพบคู่ที่ทำให้ผ่านการตรวจสอบสิทธิ์ได้
เมื่อแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงกระเป๋าสตางค์ดิจิทัลบนมือถือ ข้อมูลอื่นๆ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ประวัติการทำธุรกรรม และพฤติกรรมการซื้อสินค้า อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อใช้ในการหลอกลวงแบบฟิชชิง หรือการนำไปขายต่อ ซึ่งก่อให้เกิดการฉ้อโกงบัตรเครดิต การเรียกเงินคืนจากธุรกรรมปลอม การหลอกลวงการชำระเงินหรือที่ร้ายแรงกว่านั้นคือการฟอกเงินที่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากช่องโหว่ในแอปพลิเคชันที่คุณใช้
การใช้อุปกรณ์มือถือของคุณเป็นเครื่องมือสำหรับการชำระเงินทางออนไลน์และเข้าถึงโลกโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องสะดวกสบาย แต่การทำให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ของคุณมีระบบที่ดีในการปกป้องการโจมตีทางไซเบอร์นั้นเป็นเรื่องสำคัญและถึงเวลาแล้วที่เราต้องให้ความสนใจ หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยรายงานข่าวการหลอกลวงแบบต่างๆรวมถึงการทำฟิชชิง และสัญญาณอันตรายที่เกิดจากการทำวิศวกรรมสังคมที่แฮกเกอร์ไซเบอร์ใช้ในการเข้าควบคุมอุปกรณ์และเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับของคุณ
ใช้มือถือให้ปลอดภัยด้วยการปกป้องแบบหลายชั้น
การโจมตีทางไซเบอร์บนอุปกรณ์มือถือสามารถเกิดขึ้นได้ในหลายรูปแบบและในหลายจุด หลายคนอาจบอกว่า “ติดตั้ง VPN ก็พอแล้ว” แต่ที่จริงยังไม่พอ เพราะ VPN ปกป้องเฉพาะการถ่ายโอนข้อมูลที่ใช้งานอยู่ผ่านทาง VPN เท่านั้น ส่วนการทำงานอื่นๆภายในแอปพลิเคชันจะไม่ได้รับการปกป้องและข้อมูลอื่นๆ เช่น รายชื่อบุคคลและข้อความที่เก็บไว้ภายในมือถือจะไม่ได้รับการปกป้องเช่นกัน แม้ว่า VPN มีความสำคัญ แต่ไม่ใช่โซลูชันที่ใช้รักษาความปลอดภัยบนอุปกรณ์มือถือได้ทั้งหมด
นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและมัลแวร์ทั่วไปไม่ได้ป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์รูปแบบใหม่ๆ เพราะเป็นภัยคุกคามที่ไม่มีซิกเนเจอร์ระบุตัวตนได้ชัดเจนว่าเป็นมันเป็นการโจมตี ในยุคการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการก่อการร้ายทางไซเบอร์รูปแบบล้ำสมัยนั้นจะทำให้คุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอุปกรณ์ของคุณถูกจู่โจม ดังนั้นการยกระดับมาตรฐานการป้องกันภัยทางไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพและการป้องกันเชิงกลยุทธ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ
zIPS โดย Zimperium นำเสนอการป้องกันภัยคุกคามบนอุปกรณ์มือถือแบบองค์รวมด้วยโซลูชันเต็มรูปแบบที่ป้องกันการโจมตีจากหลายด้าน โดย zIPS ได้รับความเชื่อถือจาก Gartner และเป็นที่รู้จักทั่วโลก และ zIPSเป็นซอฟแวร์ระดับองค์กรที่มีการให้บริการแบบส่วนบุคคลที่ถูกพัฒนาโดยองค์กรจากประเทศสหรัฐอเมริกา
zIPS ใช้เทคโนโลยีกลไกการตรวจจับที่ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้วเรียกว่า z9 ซึ่งติดตั้งอยู่บนอุปกรณ์มือถือ ดังนั้น zIPS จึงให้การปกป้องอย่างต่อเนื่องไร้รอยต่อแม้ในขณะที่อุปกรณ์ไม่ได้ต่อออนไลน์ zIPS ไม่จำเป็นต้องมีการอัปเดตซอฟต์แวร์ จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้อุปกรณ์มือถืออย่างมาก เนื่องจากโซลูชันป้องกันไวรัสอื่นๆ ต้องการให้อุปกรณ์ต่อออนไลน์เพื่อทำงานได้ตามปกติ
ทุกวันนี้ การโจมตีทางไซเบอร์จำนวนมากเกิดขึ้นแบบเรียลไทม์โดยไม่มีสัญญาณเตือนภัยใดๆ และไม่มีซิกเนเจอร์ที่ชัดเจนเพื่อให้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสหรือมัลแวร์ตรวจจับได้อย่างถูกต้อง แต่ zIPS สามารถตรวจจับการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นได้เพราะมันมีระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สร้างบนการทำให้อุปกรณ์เรียนรู้ข้อมูลและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง (machine learning) ในการตรวจจับกิจกรรมที่น่าสงสัยที่ไม่เป็นไปตามการใช้งานปกติ
zIPS ใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์จึงสามารถเฝ้าระวังภัยไซเบอร์ที่โจมตีระบบปฏิบัติการ ระบบเครือข่าย และแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือตลอดจนการโจมตีแบบฟิชชิ่ง หากเกิดการพยายามในการแก้ไขโปรไฟล์ แก้ไขระบบ หรือโจมตีระบบปฏิบัติการ zIPSจะตอบโต้กลับและจะแจ้งเตือนเกี่ยวกับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่น่าสงสัยทั้งหมดเพื่อรักษาข้อมูลบนอุปกรณ์มือถือให้ปลอดภัย zIPS จะทำการตรวจจับการสกัดกั้นข้อมูลการสื่อสาร ตรวจจับการเข้าถึงและการสอดแนมที่ไม่ได้รับอนุญาต และตรวจจับการดักจับข้อมูลระหว่างผู้ใช้มือถือและเว็บเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น
zIPS ปกป้องคุ้มครองผู้ใช้อุปกรณ์มือถือที่ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันใช้งานบ่อยๆ โดยจะตรวจจับแอปพลิเคชันที่ไม่ปลอดภัย น่าสงสัย หรือเป็นอันตราย และยังตรวจจับการโจมตีแบบ “ดาวน์โหลดและสั่งการ” (download and execute) นอกจากนี้ zIPS ยังเพิ่มความมั่นใจด้วยการตรวจจับการพยายามโจมตีแบบฟิชด้วยการตรวจจับ URL ที่เป็นอันตราย และการฟิชชิงผ่านทางอีเมลและทางข้อความตัวอักษร
zIPS เป็นโซลูชันเดียวที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ครบถ้วน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการใช้งานส่วนตัว โซเชียล องค์กร และผู้ประกอบธุรกิจผ่านอุปกรณ์มือถือ
สำหรับลูกค้าองค์กรหรือลูกค้าทั่วไปที่สนใจ zIPS by Zimperium สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ [email protected]
โปรโมชั่นพิเศษสำหรับสมาชิก ADPT เพียงใช้โค้ด THPROMO เมื่อสั่งซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ https://sasiapac.com/shop/
บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจาก SA Solutions for Asia – Thailand.