[รีวิว] Dell Latitude 7330: Notebook ทำงาน บาง เบา ทนทาน ตอบโจทย์การประชุมด้วยกล้องคมชัดและ AI เพิ่มคุณภาพเสียง ด้วยขุมพลังจาก Intel vPro® platform

0

ในปี 2022 นี้ Dell ก็ได้เปิดตัว Dell Latitude ซีรีส์ใหม่สำหรับตอบโจทย์ภาคธุรกิจองค์กรที่ต้องการเครื่อง Notebook สำหรับรองรับการใช้ทำงานประชุมงานได้อย่างมั่นใจ โดยในครั้งนี้ทีมงาน TechTalkThai และ ADPT.news ได้รับเครื่อง Dell Latitude 7330 มารีวิวกัน โดยมีความโดดเด่นที่น่าสนใจดังนี้

  • ตัวเครื่องขนาดเล็กที่มีจอ 13 นิ้ว น้ำหนักเบาเพียง 1.13 กิโลกรัม พกพาไปใช้ทำงานได้อย่างสะดวกสบาย
  • CPU Intel® Core™ i5-1240U processor พร้อม 16GB RAM และ 256GB SSD ประสิทธิภาพสูง ใช้Windows 11 Pro ได้อย่างคล่องตัว
  • กล้องความคมชัด 1080p รองรับการใช้งานในห้องที่ไฟน้อยได้ ประชุมงานได้ตลอดเวลา
  • ไมโครโฟนพร้อม AI จาก Dell Optimizer ช่วยตัดเสียงระบบต่างๆ ระหว่างประชุมได้เป็นอย่างดี
  • Packaging และตัวเครื่องที่ให้ความสำคัญต่อการใช้วัสดุ Recycle ตอบโจทย์เป้าหมายด้านความยั่งยืนของธุรกิจ

สำหรับรีวิวฉบับเต็ม สามารถรับชมได้ดังนี้ครับ

Dell Latitude 7330: Notebookทำงานระดับพรีเมี่ยมตอบทุกโจทย์การทำงานได้อย่างมั่นใจและยั่งยืน

Credit : Dell

Dell Latitude 7330 นี้ถูกวางตัวมาให้เป็น Notebook หน้าจอ 13 นิ้วสำหรับตลาดภาคธุรกิจในระดับพรีเมี่ยม ที่ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ดูดี บางเบา รวดเร็ว ทนทาน และรองรับการใช้ลูกเล่นใหม่ๆ ทางด้าน AI จาก Dell ได้อย่างรอบด้าน โดยสามารถเลือกวัสดุภายนอกได้ด้วยกันถึง 3 แบบ ได้แก่

  • Carbon Fiber Reinforced น้ำหนักเริ่มต้น 1.13 กิโลกรัม
  • Magnesium Alloy น้ำหนักเริ่มต้น 0.967 กิโลกรัม
  • Aluminum Titan Grey น้ำหนักเริ่มต้น 1.21 กิโลกรัม

ส่วนสเป็คของ Hardware ภายใน Dell Latitude 7330 ก็ยังคงเปิดให้เราเลือกปรับแต่งได้ตามต้องการอย่างหลากหลาย ดังนี้

  • CPU: เลือกได้ระหว่าง
    • 12th Gen Intel® Core™ i5-1235U processor (12 MB cache, 10 cores, 12 threads, up to 4.40 GHz)
    • Intel vPro® with 12th Gen Intel® Core™ i5-1245U processor (12 MB cache, 10 cores, 12 threads, up to 4.40 GHz)
    • Intel vPro® with 12th Gen Intel® Core™ i5-1265U processor (12 MB cache, 10 cores, 12 threads, up to 4.40 GHz)
    • 12th Gen Intel® Core™ i7-1255U processor (12 MB cache, 10 cores, 12 threads, up to 4.70 GHz)
  • RAM: 8-32GB DDR4 3200MHz
  • SSD: PCIe NVMe Gen4 x4 SSD ขนาด 256GB – 1TB เลือกออปชัน Self-Encrypting ได้
  • GPU: Intel® Iris® Xe Graphics
  • Display: 13.3-inch, FHD 1920 x 1080, 60 Hz, anti-glare เลือกได้ระหว่าง Touch และ Non-Touch
  • Network: Intel® AX211, 2×2 MIMO, 2.40 Gbps, 2.40 GHz/6 GHz, Wi-Fi 6E (WiFi 802.11ax), Bluetooth® 5.2 (onboard) สามารถเพิ่มออปชัน LTE ได้
  • Audio: Stereo speakers with Waves MaxxAudio® Pro, 2 W x 2 = 4 W total, 2 Noise Canceling Microphones, Intelligent Audio with Neural Noise Cancellation
  • Camera: เลือกได้ระหว่าง 2.7 mm 720p at 30 fps HD RGB webcam, 6 mm 720p at 30 fps HD RGB webcam, 3.25 mm 1080p at 30 fps FHD RGB+IR webcam with Human Presence Detection and ALS, 6 mm 1080p at 30 fps FHD RGB+IR webcam with Human Presence Detection and ALS สามารถเลื่อนเปิดปิดกล้องได้
  • OS: เลือกได้ระหว่าง Windows 11 Pro 64-bit, Windows 11 Home 64-bit, Windows 10 Pro 64-bit, Windows 10 Home 64-bit, Ubuntu® Linux® 21.04 LTS 64-bit
Credit : Dell

ตอบโจทย์การบริหารจัดการมากขึ้นด้วย Intel vPro® platform

จุดที่น่าสนใจในส่วนของ CPU นั้นก็คือการเปิดให้เราเลือกใช้ 12th Gen Intel® Core™ processors รุ่นที่รองรับ Intel vPro® platform สำหรับใช้ในการบริหารจัดการผ่าน Software ระดับองค์กรได้เป็นอย่างดี ซึ่งก็ถือว่าสอดคล้องกับทิศทางของ Intel® ที่จะผลักดันด้านการบริหารจัดการ PC, Notebook ด้วย Intel vPro® platform ให้มีการใช้งานมากขึ้นในภาคธุรกิจองค์กร โดยทุกรุ่นที่มีให้เลือกนี้จะเป็นรุ่น 10 Cores / 12 Threads ทั้งหมด จุดต่างที่เหลือจึงมีแค่ประเด็นด้านความเร็ว และฟีเจอร์จาก Intel® เท่านั้นส่วนทางด้าน RAM, SSD, GPU ก็ถือว่ามาตรฐาน สามารถเลือกได้หลายออปชันอย่างที่ผ่านมา

รองรับ Wi-Fi 6E เพิ่ม LTE ได้

สำหรับ Wi-Fi รุ่นนี้ก็รองรับได้ถึง Wi-Fi 6E และ Bluetooth 5.2 เรียกได้ว่ารองรับมาตรฐานใหม่ล่าสุด ใช้งานได้อีกหลายปีสอดคล้องไปกับการลงทุนอัปเกรด Wi-Fi ในองค์กรอย่างแน่นอน และยังมีออปชัน LTE ให้เสริมสำหรับองค์กรที่ต้องการปรับการทำงานไปสู่ Hybrid Work อย่างเต็มตัว ให้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อ Internet ได้จากทุกที่ทุกเวลา

นอกจากนี้ ตัวเครื่องยังมาพร้อมกับความสามารถในการทำ Network Optimization หลายส่วน ทั้งการจัดลำดับความสำคัญ App ประชุมให้สูงขึ้นเพื่อให้การประชุมเป็นไปได้อย่างลื่นไหล การรองรับการเชื่อมต่อ LAN/WLAN พร้อมกันได้เพื่อให้เครือข่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น

พร้อมประชุมงานด้วยกล้องและเสียงคุณภาพสูง

จุดที่ถือว่าทำมาได้ดีขึ้นกว่าในอดีตมากสำหรับ Dell Latitude 7330 รุ่นนี้ก็คือเรื่องของเสียงและกล้อง ที่ปรับมาให้ตอบโจทย์การประชุมงานเป็นหลักเลย ด้วยไมโครโฟนแบบ Noise Canceling 2 ชุด พร้อม AI ที่ช่วยตัดเสียงรบกวนได้เป็นอย่างดี และกล้องที่อัปเกรดได้ถึง 1080p พร้อมความสามารถ Human Presence Detection สำหรับนำมาใช้เป็นลูกเล่นใหม่ๆ ทางด้าน AI ภายในเครื่อง

พอร์ตครบ พร้อมใช้งาน

1. USB Type-C Thunderbolt™ 4.0 with Power Delivery & DisplayPort 1.4

2. USB 3.2 Gen 1 with PowerShare

3. HDMI 2.0

4. Wedge Shaped Lock slot

5. USB Type-C Thunderbolt™ 4.0 with Power Delivery & DisplayPort 1.4

6. Universal Audio Jack

7. Contacted Smart Card Reader (optional)

ตัวเครื่องรุ่นนี้ถือว่าให้พอร์ตมาไม่เยอะมากนัก แต่ก็เพียงพอต่อการใช้งานเบื้องต้นได้อย่างครบถ้วน รองรับการต่อ Dock เพิ่มเติมสำหรับเพิ่มพอร์ตและต่อจอได้อย่างสะดวก โดยสามารถเชื่อมต่อจอได้ทั้งทาง USB-C และ HDMI 2.0

ตอบโจทย์ความยั่งยืนด้วยวัสดุ Recycle

ถือเป็นอีกไฮไลท์ของ Dell Latitude 7330 เลยกับการนำวัสดุ Recycle มาใช้ในตัวเครื่องให้มากที่สุด ตั้งแต่ตัวหีบห่อบรรจุเครื่องที่เลือกใช้ 100% Recycled หรือ Renewable ให้สามารถนำกลับไปแปรรูปใช้ซ้ำได้, การใช้ 39% Bio-based Rubber ใต้เครื่อง, การใช้ 50% Recycled Plastic ใน Battery Frame, การใช้ 35% Recycled Plastic ที่บริเวณแป้นวางมือ และสำหรับรุ่น Carbon Fiber ก็มีการใช้ 18% Recycled Carbon Fiber ตรงฝาด้วย เรียกได้ว่าจับไปตรงไหนก็ใช้วัสดุ Recycle มาแทบทั้งนั้น

เช่นเคย ประกันที่มากับตัวเครื่องก็ยังคงเป็นแบบ 3 ปี Onsite ทั่วประเทศไทยตามสไตล์ของ Dell ที่ให้ความสำคัญเรื่องบริการหลังการขายเป็นอย่างดี

แกะกล่อง ทดลองใช้งานของจริง

ตัวกล่องของ Dell Latitude 7330 จะระบุว่าใช้วัสดุ Recycle ทั้งหมด ซึ่งในระหว่างที่เปิดออกมานั้นก็ไม่มีส่วนใดที่เป็นพลาสติกเลย จะเน้นการใช้กระดาษเป็นหลัก โดยภายในกล่องก็จะมีตัวเครื่องและสายชาร์จ พร้อมคู่มือพื้นฐานให้เราครับ

ตัวเครื่องถือว่าทำน้ำหนักมาได้ดีมากเพียงแค่ 1.13 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเป็นรุ่นที่มีน้ำหนักสูงที่สุดในบรรดา Option ทั้งหมดที่มีให้เลือกแล้วสำหรับเครื่องรุ่นนี้ ถือว่าเบามากๆ ยกมือเดียวได้สบายๆ ง่ายต่อการพกพาไปใช้นอกสถานที่ และด้วยตัวเครื่องที่มีขนาดเล็กสำหรับจอ 13 นิ้ว ก็ถือเป็นขนาดที่ดีมากๆ

ตัวบอดี้แบบ Carbon Fiber เองก็ให้สัมผัสดีที่ ลายตารางหลังเครื่องเองก็ทำให้รู้สึกว่าไม่จำเจกับ Dell Latitude ในรุ่นก่อนๆ อีกทั้งยังมีการเคลือบมาให้ผิวภายนอกเรียบเนียน ให้ความรู้สึกที่พรีเมี่ยม และยังมีการผสมวัสดุ Recycle เข้ามาทำให้มี Story ที่น่าสนใจ

Keyboard และ Track Pad ถือว่าวาง Layout มาได้กำลังดี ไม่เล็กจนเกินไป พิมพ์สนุกมือ แต่ Track Pad มีการเปลี่ยนไปจากรุ่นก่อนๆ ให้มีความลื่นมากขึ้นพอสมควร ดังนั้นใครที่ใช้ Dell Latitude มาจนชินมือก็อาจต้องปรับตัวเล็กน้อยครับในจุดนี้

ในส่วนของสายชาร์จเองก็ใช้สายขนาดที่เล็กลงและอ่อนลง ทำให้สามารถม้วนเก็บสายได้ง่ายขึ้น และใช้งานจริงได้ง่ายกว่าเดิมมาก โดยพอร์ตชาร์จจะเป็น USB-C เพื่อให้เครื่องมีขนาดบางเบา

สำหรับการเปิดเครื่องนั้นก็ไม่ถึงกับเปิดปุ๊บติดปั๊บ เพราะจะมีส่วนของ Dell ที่เช็คการทำงานของ Hardware ส่วนต่างๆ และความมั่นคงปลอดภัยก่อนเล็กน้อย แต่ก็ใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่วินาทีสำหรับการเปิดครั้งแรก หลังจากนั้นก็แทบไม่ต้องปิดเครื่องอีกเลย ซึ่งก็จะทำให้การเปิดหน้าจอปุ๊บตัวเครื่องก็แทบจะพร้อมใช้งานได้ทันที เป็นประสบการณ์การทำงานที่คล่องตัว

ตัวเครื่อง Dell Latitude 7330 ที่ได้มารีวิวในครั้งนี้จะมีสเป็คดังนี้

  • CPU: Intel vPro® with 12th Gen Intel® Core™ i5-1245U processor (12 MB cache, 10 cores, 12 threads, up to 4.40 GHz)
  • RAM: 16GB ((อัปเกรดได้สูงสุด 32GB)
  • SSD: 256GB (อัปเกรดได้สูงสุด 1TB)
  • GPU: Intel® Iris® Xᵉ graphics
  • Network: Wi-Fi 6
  • OS: Windows 11 Pro

การใช้งานโดยรวมถือว่ารวดเร็วว่องไวไม่ติดขัดอะไร การอัปเดตระบบปฎิบัติการตาม Patch ต่างๆ ก็ทำได้อย่างไม่มีปัญหา ส่วนการเปิดคลิป 4K นั้นก็สามารถทำได้อย่างลื่นไหล และกินทรัพยากรของ CPU, GPU น้อยกว่า Dell Latitude รุ่นก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด

ทางด้านงานประมวลผล 2D ด้วย CAD นั้นก็สามารถทำได้สบายๆ แบบแทบไม่เปลือง CPU เลยสำหรับงานเล็กๆ

ส่วนงาน 3D ที่ต้องมีการแสดงผลปรับเปลี่ยนมุมของวัตถุนั้นก็สามารถทำได้ดีกว่าเดิมมากทีเดียว โดยใน Dell Latitude รุ่นก่อนๆ นั้น GPU จะพุ่งถึง 100% เป็นช่วงๆ ทุกครั้งที่วัตถุจะมีการเปลี่ยนมุมมอง แต่ใน Dell Latitude 7330 เครื่องนี้ GPU จะพุ่งถึง 100% เป็นแค่ช่วงแรกๆ เท่านั้น แต่หลังจากนั้นจะค่อยๆ ใช้น้อยลงเรื่อยๆ ครับ

Dell Optimizerกับลูกเล่นใหม่ๆ มากมาย

Dell Optimizer คือเครื่องมือในการปรับแต่งการทำงานของเครื่องเบื้องต้นเพื่อให้ Dell Latitude สามารถส่งมอบประสบการณ์การใช้งานที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งานได้ โดย Dell ก็ได้พัฒนา Dell Optimizer ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในอดีต พร้อมมีการเสริม AI ใหม่ๆ เพื่อช่วยสร้างประสบการณ์ในการใช้งานที่ดี โดยการเปิดใช้งานความสามารถเหล่านี้จะแทบไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องเลย เพราะการใช้ Intel® Core™ i5-1245U processor และ Intel® Iris® Xᵉ graphics นั้นมีประสิทธิภาพที่สูงพอสำหรับการประมวลผลด้าน AI เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี ใน Dell Optimizer รุ่นล่าสุดบน Dell Latitude 7330 นี้ จะมีลูกเล่นที่น่าสนใจ ดังนี้

สำหรับในหมวด Applications นั้นยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก โดยเราสามารถเลือกให้ AI ทำการเรียนรู้พฤติกรรมการใช้งาน Application ต่างๆ ของเราและทำ Performance Tuning ให้เราได้โดยอัตโนมัติ แต่ส่วนที่เพิ่มมาคือคำสั่ง Prioritize Foreground Applicationsที่เราเลือกได้ว่าถ้าเราเปิดใช้งาน App ไหนเป็นหน้าต่างบนสุด Dell จะทำการจองทรัพยากรให้กับ App นั้นๆ เป็นอันดับต้นๆ เพื่อให้ประสบการณ์การทำงานของเราดีที่สุดอยู่เสมอ ก็เหมาะกับคนที่เปิดใช้งานหลาย App แล้วสลับหน้าต่างไปมา แต่อาจจะไม่สลับบ่อยมากนักครับ

ถัดมาในส่วนของ Audio ก็ถือว่าน่าประทับใจมากๆ กับความสามารถในการลดเสียงรบกวนด้วย AI อย่าง Remove My Background Noise สำหรับตัดเสียงพื้นหลัง เช่น เสียงเพลง เสียงกระทบกันของวัตถุต่างๆ รอบตัว ทำให้สามารถประชุมงานในพื้นที่สาธารณะได้โดยเสียงเงียบเหมือนประชุมในห้องส่วนตัว และ Remove Others’ Background Noise สำหรับใช้ในกรณีที่ในห้องทำงานมีคนนั่งทำงานด้วยกันหลายคน ประชุมกันหลายคน ระบบก็จะตัดเสียงของคนอื่นรอบตัวออกไปให้ครับ ทำให้เสียงประชุมไม่ตีกันเอง ส่วน 3D Audio อันนี้ต้องสารภาพตรงๆ ว่าทีมรีวิวไม่ได้มีหูฟังที่ดีนักสำหรับใช้ทดสอบความสามารถนี้ จากที่ทดสอบดูเลยไม่รู้สึกต่างมาก แต่สำหรับ Audio Device Pop-Up ถือเป็นอีกความสามารถที่ประทับใจมากๆ เพราะที่ผ่านมาเวลาใช้ Dell Latitude แล้วมีการเสียบหูฟังเข้าไป ระบบจะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เราเลือกทุกครั้งว่าอุปกรณ์นั้นเป็นอุปกรณ์ใด เพื่อให้ระบบสามารถปรับแต่งการทำงานให้เหมาะสมได้ แต่หลายๆ ครั้งบางทีการใช้งานของเราก็เป็นแค่การเสียบหูฟังธรรมดาจะได้ประชุมแบบเงียบๆ ได้เท่านั้น การมีหน้าต่างขึ้นมาให้ต้องเลือกทุกครั้งก็ถือว่ากวนใจอยู่ไม่น้อย คราวนี้ใน Dell Optimizer ก็เลยมีให้เราเลือกเปิดปิดหน้าต่างนั้นได้ ทำให้การใช้งานสะดวกขึ้นมากทีเดียวครับ

ในฝั่งของ Network ก็ถือว่ามีลูกเล่นที่น่าสนใจเช่นกัน อย่างเช่น Simultaneous Data Transfer ที่สามารถเชื่อมต่อ LAN และ WLAN และทำการ Upload/Download จากทั้งสองการเชื่อมต่อพร้อมๆ กันได้ ทำให้ประสิทธิภาพของเครือข่ายดีขึ้นอย่างชัดเจน ส่วน Conference Bandwidth Performance ก็จะทำการจอง Network Bandwidth เอาไว้สำหรับ App ประชุมโดยเฉพาะเพื่อให้ภาพและเสียงไม่กระตุก ใช้งานได้จริงในระดับหนึ่ง และสุดท้ายก็คือ Automatic Network Switching ที่เราสามารถเลือก List ของ Network ที่เราจะให้ Dell Latitude ทำการเชื่อมต่อเอาไว้ได้กลุ่มหนึ่ง ช่วยให้การจัดการด้านการเชื่อมต่อ Wi-Fi มีความชัดเจนมากกว่าการใช้งานเมนูปกติบน Windows ได้ดีขึ้นครับ

สำหรับเมนู Power นั้นก็จะเปิดให้เราทำการปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานของ Dell Latitude ได้ด้วยตนเอง เช่น Adaptive Battery Performanceที่จะให้ AI ปรับการใช้พลังงานของเราให้สอดคล้องกับ App ที่เราใช้งานโดยอัตโนมัติ เพื่อยืดอายุการใช้ Battery ในแต่ละวันให้คงทนยาวนานยิ่งขึ้น Dynamic Charge Policyปรับพฤติกรรมการชาร์จไฟและใช้ไฟในกรณีที่เสียบสาย เพื่อถนอมอายุของ Battery ให้เสื่อมช้าลง Thermal Managementปรับระบบระบายอากาศในเครื่องให้เหมาะกับความต้องการของเรา เช่น ต้องการให้เครื่องทำงานเงียบๆ หรือให้เครื่องทำงานเต็มประสิทธิภาพ และสุดท้าย เราก็สามารถเลือกได้ว่าจะให้ระบบทำการชาร์จไฟหรือใช้ไฟในช่วงเวลากี่โมงบ้างของแต่ละวัน เพื่อให้ถึงแม้จะยังเสียบสายอยู่ ระบบก็จะผลัดไปใช้พลังงานจาก Battery บ้างจะได้สมดุล เป็นต้นครับ

ทางด้าน Presence Detection จะเป็นการปรับแต่ง AI ที่ใช้กับกล้องของเราให้เครื่องมีความชาญฉลาดมากขึ้นครับ อย่างเช่น Onlooker Detection ก็จะใช้กล้องวิเคราะห์ว่ากำลังมีคนแอบมองจอของเราจากข้างหลังหรือเปล่า และถ้าพบว่ามีคนแอบมองอยู่ จอก็จะปรับไปเป็นแบบนี้ครับ

ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้มีคนมาแอบมองจอแล้วเห็นข้อความหรือเนื้อหาที่อาจเป็นความลับทางธุรกิจนั่นเอง ซึ่งเราก็สามารถเลือกได้ว่าจะให้หน้าจอนี้แสดงขึ้นมาเองเลย หรือมีแจ้งเตือนก่อน และสามารถสั่ง Snooze ได้เผื่อกรณีที่เราให้เพื่อนร่วมงานมาดูจอทำงานด้วยกัน ก็ปิดการทำงานของฟังก์ชันนี้ชั่วคราวได้ตามระยะเวลาที่เราต้องการครับ

ส่วน Look Away Detectก็จะใช้กล้องตรวจว่าเราไม่ได้มองหน้าจออยู่หรือไม่ ถ้าเราไม่ได้มองหน้าจออยู่จริงๆ ระบบก็จะหรี่ความสว่างหน้าจอลง เพื่อช่วยประหยัดพลังงานให้ ในขณะที่ Walk Away Lockระบบจะตรวจว่าเราไม่ได้อยู่ที่หน้าเครื่องต่อเนื่องเป็นเวลาที่กำหนดหรือไม่ ถ้าใช่ ระบบจะทำการ Lock เครื่องให้อัตโนมัติเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีบุคคลอื่นแอบมาใช้เครื่องของเรา รวมถึงเรายังเลือกได้ด้วยว่าจะเปิดใช้ความสามารถ Presence Detection นี้ในระหว่างที่เชื่อมต่อจอนอกสำหรับการนำเสนออยู่หรือไม่ เพราะบางครั้งในการนำเสนองาน เราก็อาจจะไปยืนอยู่ข้างจอนอกที่เชื่อมต่อแทนนั่นเอง

จะเห็นได้ว่าการนำ AI มาประยุกต์ใช้เสริมการทำงานนี้จะทำให้ตัวเครื่องมีลูกเล่นที่หลากหลายขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งบางความสามารถก็อาจจะเหมาะกับงานบางประเภท และบางความสามารถก็อาจจะไม่เหมาะกับงานบางประเภท ดังนั้นใน Dell Optimizer จึงเปิดให้เราเลือกปรับแต่งการใช้งานแต่ละความสามารถได้ตามต้องการ ซึ่งผู้ใช้งาน Dell Latitude ทุกท่านก็ควรต้องทำการเรียนรู้เบื้องต้นและเลือกเปิดปิดความสามารถให้ตอบโจทย์กับการทำงานของแต่ละคนด้วยตนเองครับ

กล้อง 1080p ที่คมชัดมากยิ่งกว่าเดิม และใช้งานในที่แสงน้อยได้

อีกส่วนหนึ่งที่ดีขึ้นมากก็คือการใช้กล้อง 1080p สำหรับการประชุม โดยกล้องสามารถเปิดใช้งานในที่แสงน้อยได้ อย่างเช่นในภาพทดสอบนี้ทำการทดสอบในช่วงเวลากลางคืน โดยมีไฟเพียงแค่หลอดเดียวจากเพดาน ถ้าเป็นกล้องจากรุ่นเก่าๆ ภาพจะมืดกว่านี้มากครับ

นอกจากนี้หากมีการเปิดใช้งานไมโครโฟน เช่น ประชุมงาน หรือบันทึกเสียง ระบบก็จะมีหน้าต่างแจ้งเตือนด้วยว่าตอนนี้ AI สำหรับปรับแต่งเสียงกำลังทำงานอยู่ เผื่อบางกรณีเราอาจจะอยากไปปรับให้ AI มันเหมาะกับสภาพแวดล้อมที่เราใช้ได้นั่นเองครับ

สรุปข้อดีข้อเสีย

ข้อดี

  • บอดี้เครื่องให้สัมผัสที่ดีมากๆ เมื่อเทียบกับรุ่นที่เป็น Carbon Fiber ก่อนหน้า ให้ความรู้สึกที่พรีเมี่ยมยิ่งขึ้นไปอีก และยังใช้วัสดุ Recycle หลายส่วน ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืนให้กับโลกได้
  •  สเป็คเครื่องที่ให้มาถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะ Intel® Core™ i5-1245U processor และIntel® Iris® Xᵉ graphics ที่สามารถใช้ได้ทั้งการทำงานทั่วไป การเปิดคลิป 4K และการทำงานกับงานออกแบบ 2D, 3D เบื้องต้น ที่ CPU และ GPU ยังคงเหลือทรัพยากรสำหรับรองรับงานอื่นได้อยู่พอสมควร
  • Keyboard ยังคงพิมพ์สนุกและใช้งานง่ายมากๆ อาจมีจุดต่างจากรุ่นก่อนๆ บ้าง แต่โดยรวมคือแทบไม่ต้องปรับตัวเลยในการใช้งาน
  • กล้องที่มีความคมชัดมากถึง 1080p และทำงานได้ในสภาวะที่แสงน้อย ใช้งานได้ดีทั้งในการประชุมงานและการอัดคลิปแบบง่ายๆ
  • Dell Optimizer มีลูกเล่นใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานหลายส่วนมาก เช่น การจัดการกรณีที่มีคนมาแอบมองหน้าจอ, การจัดการ AI ตัดเสียงรบกวน, การจัดการพฤติกรรมของระบบเมื่อมีการเสียบหูฟัง, การจัดการด้านการเชื่อมต่อ Wi-Fi เฉพาะวง SSID ที่ต้องการได้อย่างเป็นระบบและการจัดลำดับความสำคัญในการรับส่งข้อมูลสำหรับ App ต่างๆ ซึ่งช่วยให้ประสบการณ์การใช้งานดีขึ้นจริง แต่อาจต้องลองใช้งานให้เข้าใจการทำงานในส่วนนี้ด้วย

ข้อเสีย

  • มีการเปิดเครื่องอัตโนมัติแทบทุกครั้งที่มีการเปิดฝาเครื่องและการเดินผ่านหน้าเครื่อง ต้องปรับตัวเล็กน้อยให้ชินในการใช้งาน
  • Trackpad ลื่นกว่ารุ่นก่อนหน้ามากๆ ในหลายๆ ครั้งก็ช่วยให้สะดวกและทำงานได้เร็วขึ้น แต่หลายครั้งก็เร็วเกินไปจนทำให้เกิดอาการคลิกพลาดได้บ้าง ต้องปรับตัวในการใช้งานให้ชินพอสมควร แต่โดยรวมก็เป็นสัมผัสที่ดี
  • Port ที่ให้มาน้อย และไม่มีช่อง LAN แลกกับการที่ได้เครื่องบางเบามาใช้งาน
  • ตัวเครื่องร้อนบ้างเมื่อใช้งานหนักๆ บริเวณใต้เครื่องส่วนมุมซ้ายบน ถ้าวางบนตักอาจจะไม่ไหว แต่ถ้าใช้งานทั่วไปไม่มีปัญหาเลย และเครื่องก็ทำงานได้เงียบมาก

ผู้ที่สนใจสามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dell.com/en-th/work/shop/laptops-2-in-1-pcs/latitude-7330-laptop-or-2-in-1/spd/latitude-13-7330-2-in-1-laptop   

สนใจ Dell Latitudeติดต่อทีมงาน Dell ได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจใช้งาน Dell Latitude หรือโซลูชันอื่นๆ จาก Dell สามารถติดต่อทีมงาน Dell Technologies ประจำประเทศไทยได้ที่ E-mail: [email protected] โทร 090-949-0823 (คุณวศิน)