สัมภาษณ์พิเศษ คุณ Orapa Tachochavalit CEO (Thailand) ที่ Intrepid Group Asia บริษัทสตาร์ทอัพด้านอีคอมเมิร์ซ

0

ทีมงาน TechTalkThai ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษแบบส่วนตัวกับคุณ Orapa Tachochavalit – CEO บริษัท Intrepid  Group Asia

จุดเริ่มต้นในปี 2562 เมื่อครั้งที่ Intrepid Group Asia ขยายธุรกิจมายังประเทศไทยเป็นครั้งแรก เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่เธอมาพร้อมกับประสบการณ์ที่เคยผ่านการทำงานในธุรกิจ Retail กับบริษัทระดับ Global ซึ่งเป็นสิ่งที่จะสามารถช่วยขยายความร่วมมือกับแบรนด์ระดับชั้นนำทั่วโลก รวมถึงความเชี่ยวชาญและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในตลาดอีคอมเมิร์ซที่สำคัญในประเทศไทยเป็นอย่างดี

Intrepid Group Asia ผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซและโซลูชันดิจิทัลระดับภูมิภาคทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้บริการลูกค้าทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านด้วยเทคโนโลยีชั้นยอด

ประวัติด้านการศึกษาของคุณ Orapa Tachochavalit

  • จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • จบการศึกษาระดับปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม

ก่อนเข้ามาร่วมงานกับ Intrepid คุณ Orapa เคยดำรงตำแหน่งรองประธานฝ่ายการขายสินค้าและปฏิบัติการที่ Central Group รวมถึงเป็นหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการด้านการจัดซื้อที่ Tesco Lotus ซึ่งเป็นสองบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน Retail ในประเทศไทย การตัดสินใจก้าวออกมาจากองค์กรระดับใหญ่เพื่อเริ่มต้นบทบาทใหม่กับบริษัทสตาร์ทอัพด้านอีคอมเมิร์ซ เธอมีแนวคิดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในตลาดอีคอมเมิร์ซที่สำคัญและเร่งการเติบโตช่องทางขายออนไลน์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

ทำไมคุณ Orapa Tachochavalit จึงสินใจเลือกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ก่อตั้ง และรับดำรงตำแหน่ง CEO (Thailand) ที่ Intrepid Group Asia

“ย้อนหลังไปเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ได้มองเห็นโอกาสในตลาดออนไลน์มีการเติบโตที่น่าสนใจ และคาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคตค่อนข้างสูง จึงตัดสินใจผันตัวเองเข้ามาอยู่ในตลาดนี้แบบเต็มตัวกับบริษัทสตาร์ทอัพที่เริ่มต้นธุรกิจมาได้ 4 ปีที่มีชื่อว่า Intrepid Group Asia นี่เป็นอีกปัจจัยที่มีความสนใจในเทรนด์ของกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพที่ในช่วง 3-4 ปีหลังที่ผ่านมามีการเติบโตขึ้นมาค่อยข้างมากพอสมควร จึงหันมามองด้านประสบการณ์ของตัวเองที่เคยสะสมในกลุ่มบริษัทระดับใหญ่มาน่าจะนำมาช่วยขับเคลื่อนในบริษัทระดับแรกเริ่มได้”

สาเหตุหลักที่เลือก Intrepid

  1. มองว่า Intrepid เป็นบริษัทที่มีความท้าทายที่น่าสนใจกับเทรนด์ปัจจุบัน
  2. มองว่า Intrepid เป็นบริษัทที่มีการการดำเนินธุรกิจเทรนด์ใหม่ๆ ที่ตรงกับเทรนด์ปัจจุบัน
  3. วัฒนธรรมขององค์กรระดับสตาร์ทอัพที่มีความแตกต่างกับบริษัทระดับกลางไปถึงใหญ่ คือ เราสามารถตัดสินใจได้ค่อนข้างเร็ว และสามารถมองเห็นการขับเคลื่อนด้านต่างๆ ว่าสามารถลงมือทำอะไรได้บ้างซึ่งเห็นผลลัพธ์จริงได้อย่างรวดเร็ว ส่วนนี้เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้กล้าตัดสินใจถึงแม้ว่าจะเป็นการเริ่มต้นจากศูนย์

ช่วงก่อนเกิดการระบาดครั้งใหญ่ของ Covid-19 ถ้าเอ่ยถึงบริษัทสตาร์ทอัพด้าน E-commerce enable คงเกิดคำถามมากมายว่าคืออะไร ทำอะไรเป็นหลัก แต่พอผ่านวิกฤติเลวร้ายที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ หลายคนเริ่มเข้าใจธุรกิจด้านอีคอมเมิร์ซมากขึ้น เพราะวิถี New Normal ทำให้เราเดินเข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มรูปแบบ เพื่อการเอาตัวรอดและการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ๆ ได้อย่างคล่องตัว

Intrepid คาดการณ์ตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดด้านอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยไว้อย่างไรบ้าง

“ในปี 2566 คาดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยจะเติบโต 15 – 17% จากปีที่ผ่านมา จากรายงานของ SEA eCommerce ประจำปี 2565 ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยจะเติบโต 13% ภายในปี 2568”

Intrepid สร้างความแตกต่างอะไรบ้างที่ทำให้มีจุดเด่นในตลาด อีคอมเมิร์ซ ประเทศไทย

จุดเด่นที่สร้างความแตกได้เด่นชัดที่สุด คือ

  • Intrepid เป็นบริษัทที่ไม่ได้มีอยู่ในเฉพาะเมืองไทยเท่านั้น เรามีสำนักงานอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีกลุ่มผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าค่อนข้างคล้ายคลึงกันมาก ทำให้ Intrepid สามารถให้บริการได้อย่างครอบคลุมทั้งภูมิภาคและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในวงกว้าง
  • Intrepid ในประเทศไทยมีพนักงานประมาณ 100 คน ที่ทำงานร่วมกับทีม Tech Inhouse ประจำอยู่ที่เวียดนาม สำหรับพัฒนาระบบ E-commerce online ทั้งหมด จุดแข็งของทีม Tech คือ การวิเคราะห์การบริการที่เหมาะสมที่สุดให้แก่ลูกค้า เช่น การซื้อพื้นที่โฆษณาของลูกค้า ทีม Tech สามารถวิเคราะห์ตำแหน่งการลงโฆษณาที่เหมาะสมกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ นั่นหมายถึงการ Matching สินค้าและพื้นที่เป้าหมายที่มีความต้องการของผู้ซื้อได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้การลงทุนของลูกค้าที่คุ่มค่ามากที่สุด
  • Intrepid เป็นส่วนหนึ่งของ Ascential ซึ่งสามารถช่วยยกระดับด้านการปรับใช้ข้อมูลความต้องการในตลาด E-commerce ได้กว้างมากขึ้น

ในมุมมองของคุณ Orapa Tachochavalit เทรนด์ อีคอมเมิร์ซ ระดับโลกและในประเทศไทยที่น่าจับตามองที่สุดในปี 2023 มีอะไรบ้าง

เทรนด์แรก คือ “การนำเสนอในรูปแบบวิดีโอสั้น” เนื่องจากหลากหลายแพลตฟอร์มเริ่มเข้ามาเล่นวิดีโอแบบสั้นมากขึ้น เช่น Facebook, Line หรือ TikTok ต่างมุ่งเป้าไปที่รูปแบบวิดีโอแบบสั้นประมาณ 15 – 30 วินาที มุ่งเน้นคอนเทนท์ที่กระชับ ตรงประเด็น และครอบคลุมจุดขายเฉพาะของสินค้าได้ง่ายที่สุด “เราจะทำอย่างไรให้วิดีโอแบบสั้นเกิดยอดขายได้ง่ายที่สุด”  นี่คือโจทย์ที่ผู้ค้าบนอีคอมเมิร์ซต้องปรับกลยุทธ์สู่ผลลัพธ์ของความสำเร็จให้ได้

เทรนด์ที่สอง คือ “Social Commerce” ปัจจุบันแบรนด์ต่างๆ เริ่มให้ความสนใจกับช่องทาง Social Commerce เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสามารถโต้ตอบสื่อสารกับลูกค้าโดยตรงได้ นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างกลุ่มลูกค้าที่มีพฤติกรรมความชอบที่คล้ายๆ กันได้ เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้การนำเสนอได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและขยายวงกว้างได้มากขึ้น สิ่งสำคัญของช่องทาง Social Commerce คือ สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของแบรนด์ได้ เพราะเป็นการซื้อขายโดยตรงโดยที่ไม่ผ่านแพลตฟอร์มอื่นๆ ให้เสียเวลาการรอคอยและต้นทุนที่เพิ่มขึ้น

เทรนด์ที่สาม คือ “On-Demand Commerce” ธุรกิจการจัดส่งอาหาร Food Delivery เริ่มเข้ามาโลดเล่นในตลาด On-Demand Commerce เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น GrabFood, Foodpanda, Lineman, Shopee และ Robinhood นอกจากที่กล่าวมายังมีผู้เล่นหน้าใหม่ที่ก่อตัวขึ้นมาให้พบเห็นในตลาดนี้เช่นกัน เป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นถึงความเข้มข้นในการแข่งขันที่เริ่มมีรายย่อยเข้ามาลงสนาม คำถามที่พบเยอะบ่อยที่สุด คือ On-Demand Commerce มีความแตกต่างกับ e-Market Place ยังไง ชัดเจนที่สุด คือ เรื่องระยะเวลาการรอคอยสินค้า ภาคส่วนของ e-Market Place มีความคาดหวังที่จะได้รับสินค้าประมาณ 1-2 วัน แต่ภาคส่วนของ On-Demand Commerce นั้้น ลูกค้าคาดหวังไว้ที่ 1-2 ชั่วโมงที่สินค้าจะมาส่งถึงหน้าบ้าน

ที่ผ่านมากลุ่มสินค้าของ On-Demand Commerce จะเป็นอาหารที่พร้อมบริโภคได้ทันที แต่ต่อไปจากนี้ จะมีสินค้าประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช้กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มเข้ามาอยู่ในช่องทาง On-Demand Commerce พร้อมกับการคาดหวังว่าจะได้รับสินค้าภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังจากส่งคำสั่งซื้อออกไป

เทรนด์ที่สี่ คือ “MarTech” แนวคิดหรือแนวทางของเทคโนโลยีทางการตลาด เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในภาคส่วนการตลาด MarTech จะทำให้แบรนด์สามารถติดตามพฤติกรรมของลูกค้าที่มีความต้องการปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลเหล่านี้ถูกจัดเก็บไว้เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอให้แม่นยำกับกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น ในยุคดิจิทัล MarTech หรือ เทคโนโลยีการตลาดจะเป็นสิ่งจำเป็นกับอนาคตของการตลาดสมัยใหม่ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เข้ามาช่วยปรับปรุงกระบวนการการสื่อสารระหว่างคู่ค้าและลูกค้า เข้ามาช่วยปรับปรุงเชื่อมโยงธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ “เราจะต้องมีข้อมูลที่ดีที่สุด เพื่อทำการตลาดที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า”

คุณ Orapa Tachochavalit มองเห็นตลาด อีคอมเมิร์ซ และ Intrepid ได้รับประโยชน์จาก ChatGPT อย่างไร

“เรามองเห็นศักยภาพที่สูงใน CX domains ซึ่งเรากำลังสำรวจศักยภาพของ ChatGPT ที่สนับสนุนความสามารถในการแชทบางส่วนของเรา เพื่อปรับปรุงความเร็วและยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า

นอกจากนี้ เรายังมองเห็นโอกาสในการทำให้การเขียนคำโฆษณาเป็นไปโดยอัตโนมัติสำหรับเนื้อหา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแสดงรายการสินค้า การเขียนคำอธิบายที่น่าสนใจและการผสมผสานคำหลักอย่างราบรื่นภายใต้การดูแลของทีมงานภายในของเรา”

บทสรุป

สุดท้ายนี้ ทาง Intrepid ต้องการให้กลุ่มลูกค้าที่กำลังขายหรือกำลังจะเริ่มต้นบนช่องทางอีคอมเมิร์ซ นึกถึง Intrepid ในฐานะพันธมิตรที่สามารถให้คำปรึกษาตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ไม่ต้องลงมือสร้างหรือทำด้วยตัวเองทั้งหมด Intrepid มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาช่วยปูแผนเส้นทางการขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จทางการขายออนไลน์ได้อย่างยั่งยืน

เป้าหมายของ Intrepid สำหรับในปี 2023 นี้ เราจะสร้างผลลัพธ์ที่น่าประทับใจให้กับลูกค้าปลายทางที่เข้ามาซื้อสินค้า ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพ จัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว และได้รับบริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม สิ่งนี้จะสามารถสร้างประตูของการกลับมาซื้อกับเราได้อีกครั้ง เราให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียมทั้งลูกค้ารายใหม่และรายเดิม

หากสนใจในบริการของ Intrepid หรือต้องการขอคำปรึกษาเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้จากช่องทางด้านล่างนี้

Intrepid Ecommerce Services (Thailand) Co., Ltd.

E-mail : [email protected]

Websit :https://www.intrepid.asia/