Oracle เผยรายงาน 2023 Decision Dilemma เกี่ยวกับบทบาทของข้อมูลในการตัดสินใจทั้งในชีวิตส่วนตัวและด้านการทำงาน รวมถึงแนวทางปัจจุบันในการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูล ชี้พนักงานและผู้บริหารรู้สึกว่ามีปริมาณข้อมูลในมือเยอะ แต่ไม่ค่อยช่วยในการตัดสินใจเท่าใดนัก
รายงานดังกล่าวจัดทำโดย Oracle ร่วมกับ Seth Stephens-Davidowitz ผู้แต่งหนังสือ Everybody Lies and Don’t Trust Your Gut นักเขียนติดอันดับหนังสือขายดีของ New York Times ซึ่งได้สำรวจความคิดเห็นพนักงานและผู้นำธุรกิจกว่า 14,000 คน จาก 17 ประเทศทั่วโลก
สาระสำคัญของรายงาน มีรายละเอียด ดังนี้
ข้อมูลเยอะไม่ได้แปลว่าดี
- 74% ระบุว่า จำนวนการตัดสินใจในแต่ละวันได้เพิ่มขึ้น 10 เท่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และ 78% รู้สึกว่าได้รับข้อมูลท่วมท้น จากแหล่งต่าง ๆ มากกว่าที่เคย
- 83% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นตรงกันว่า การเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้นช่วยให้การตัดสินใจง่ายขึ้น แต่ 86% รู้สึกไม่ค่อยมั่นใจกับการตัดสินใจแม้มีข้อมูลมากขึ้นก็ตาม ในขณะที่ 59% เผชิญกับภาวะลังเลในการตัดสินใจมากกว่าหนึ่งครั้งในแต่ละวัน
- 35% ไม่รู้ว่าข้อมูลหรือแหล่งใดที่เชื่อถือได้ และ 70% ถึงขั้นยอมแพ้เลิกตัดสินใจเพราะข้อมูลมีมากเกินไป
- 85% เผยว่า การไม่สามารถตัดสินใจได้ส่งผลเชิงลบต่อคุณภาพชีวิตของพวกเขา เช่น ความกังวล (36%) การรู้สึกเสียโอกาส (33%) และการใช้จ่ายเกินจำเป็น (29%)
- ดังนั้น 93% ได้เปลี่ยนวิธีการตัดสินใจในช่วงสามปีที่ผ่านมา โดยที่ 39% รับฟังจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น ส่วน 29% เชื่อในความรู้สึกสัญชาตญาณเพียงอย่างเดียว
ความกังวลในการตัดสินใจทำให้องค์กรเดินหน้าช้าลงกว่าเดิม
- 85% ของผู้นำธุรกิจรู้สึกทุกข์ต่อการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกผิดหวัง รู้สึกผิดหรือคลางแคลงใจต่อการตัดสินใจในปีที่ผ่านมาแม้จะมีข้อมูลมารองรับอย่างท่วมท้นก็ตาม และ 93% เชื่อว่า การมีเครื่องมือ Decision intelligence ที่ใช่เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร
- 97% ต้องการข้อมูลเข้ามาช่วยเหลือในการตัดสินใจที่ดีขึ้น (44%) ลดความเสี่ยง (41%) ตัดสินใจได้เร็วขึ้น (39%) สร้างรายได้เพิ่ม (37%) และวางแผนรับมือต่อสิ่งที่คาดไม่ถึง (29%)
- 72% ยอมรับว่า ปริมาณข้อมูลที่มีมากเกินไปและการขาดความเชื่อมั่นในข้อมูลได้หยุดยั้งการตัดสินใจของพวกเขาทั้งหมด และ 89% เชื่อว่า จำนวนของแหล่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้นได้จำกัดความสำเร็จขององค์กร
- การจัดการแหล่งข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ กัน จำเป็นต้องมีทรัพยากรเพิ่มเติมที่เก็บข้อมูลทั้งหมด (40%) ทำให้การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ช้าลง (36%) และมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดมากขึ้น (26%)
- ผู้นำธุรกิจไม่เชื่อว่า วิธีการจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์สามารถแก้ปัญหาความท้าทายเหล่านี้ได้ โดย 77% กล่าวว่า หน้าแดชบอร์ดและชาร์ตที่ได้นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเสมอไป และ 72% เชื่อว่า ข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีอยู่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ IT หรือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data scientist) เท่านั้น
- ผู้นำธุรกิจตระหนักว่าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง พวกเขาเชื่อว่าข้อมูลที่ใช่และข้อมูลเชิงลึกช่วยให้การตัดสินใจด้านต่าง ๆ ดีขึ้น ทั้งด้านทรัพยากรบุคคล (94%) การเงิน (94%) ห่วงโซ่อุปทาน (94%) และประสบการณ์ลูกค้า (93%)
ข้อมูลจำต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ มิเช่นนั้น ข้อมูลจะเสียเปล่า
- 70% เผย รับไม่ไหวกับการเก็บข้อมูลมหาศาลและทำความเข้าใจกับข้อมูล
- ผู้นำธุรกิจ 78% กล่าวว่า ผู้คนมักตัดสินใจ จากนั้นค่อยนำข้อมูลมายืนยัน ส่วนพนักงาน 74% เชื่อว่า หลายธุรกิจมักให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของผู้ได้รับเงินเดือนสูงสุดมากกว่าใช้ข้อมูล และ 24% รู้สึกว่า ผลการตัดสินใจส่วนใหญ่ในธุรกิจไม่ค่อยสมเหตุสมผล
- สถานการณ์มีความท้าทายมาก ถึงขั้นว่า 64% ของผู้คน และ 70% ของผู้นำธุรกิจต้องการให้ความยากลำบากทั้งหมดเหล่านี้หมดไป และใช้ระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยตัดสินใจแทน
- แม้จะรู้สึกเหนื่อยล้ากับข้อมูลทั้งชีวิตส่วนตัวและโลกของการทำงาน คนต่างรู้ดีว่า ถ้าขาดข้อมูลไป การตัดสินใจก็จะแม่นยำน้อยลง (44%) ประสบความสำเร็จน้อยลง (27%) และเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดมากขึ้น (39%)
- กลุ่มสำรวจเชื่อว่า องค์กรที่ใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนการตัดสินใจด้วยข้อมูลมีความน่าเชื่อถือมากกว่า (79%) ประสบความสำเร็จได้มากกว่า (79%) เป็นบริษัทที่น่าลงทุน (76%) ร่วมเป็นพาร์ตเนอร์ด้วย (77%) และร่วมทำงานด้วย (78%)