Esri แนะใช้เทคโนโลยี GIS ช่วยพัฒนาความยั่งยืนขององค์กร ขานรับเทรนด์ ESG [Guest Post]

0

Esri สบโอกาส แนะนำเทคโนโลยี GIS ปรับใช้ ช่วยพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนตามแนวคิด ESG หรือ Environment Social และ Governance โชว์เคสธุรกิจใช้ GIS ดำเนินธุรกิจแบบคำนึงถึงความรับผิดชอบที่มีต่อ 1. สิ่งแวดล้อม 2. สังคม และ 3. การกำกับดูแล หวังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ โดยเฉพาะกับนักลงทุนที่ปัจจุบันมีแนวโน้มให้ความสำคัญในการลงทุนแบบยั่งยืน พบการศึกษาของ Global Impact Investing Network เกี่ยวกับมุมมองนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ของโลก 300 ราย พบนักลงทุนกว่า 68% เลือกลงทุนในบริษัทที่ให้ความสำคัญกับ ESG และจากข้อมูล Royal Bank of Canada ที่สำรวจความคิดเห็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่ พบ 45% ของกลุ่มตัวอย่างคาดหวังผลตอบแทนสูงขึ้น จากการลงทุนในบริษัทที่ให้ความสำคัญกับ ESG

ดร.ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธานบริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เทคโนโลยี GIS ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาบริหารจัดการธุรกิจตามแนวคิด “การดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน” (ตามหลัก Environmental, Social, Governance: ESG)  ซึ่งสามารถช่วยให้องค์กรมีการตัดสินใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการทรัพยากร รวมถึงการประเมินผลและติดตามการดำเนินงานขององค์กรในด้าน ESG โดย Esri ได้นำเทคโนโลยี GIS มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับแนวคิด ESG ตอบรับเทรนด์ภาคธุรกิจและการลงทุนที่เริ่มหันมาให้ความสำคัญต่อแนวคิดการลงทุนแบบยั่งยืนมากขึ้น โดยไม่คำนึงแค่เพียงรายได้เพียงอย่างเดียว แต่มองถึงประโยชน์ระยะยาว

ดร.ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธานบริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด

ทั้งนี้ แนวคิดการดำเนินธุรกิจแบบ ESG ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากบริษัทต่างๆ ตลอดจนนักลงทุนทั่วโลก สามารถเห็นได้จากการศึกษาของ Global Impact Investing Network เกี่ยวกับมุมมองนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ของโลก 300 ราย พบนักลงทุนกว่า 68% เลือกลงทุนในบริษัทที่ให้ความสำคัญกับ ESG ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูล Royal Bank of Canada ที่ทำการสำรวจความคิดเห็นของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ พบ 45% ของกลุ่มตัวอย่างคาดหวังผลตอบแทนสูงขึ้น ซึ่งเทคโนโลยี GIS เข้ามามีส่วนช่วยองค์กรในการบริหารจัดการในหลายมิติ เช่น

  1. มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) ช่วยวางแผนพัฒนาทรัพยากรและจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้การวิเคราะห์และจัดเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เพื่อติดตามและควบคุมปัญหาทางสิ่งแวดล้อม เช่น การปรับเส้นทางการขนส่งให้เหมาะสมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การควบคุมการปล่อยสารพิษในอากาศและน้ำ การจัดการสิ่งเสีย หรือการตรวจสอบการทำงานของโรงงานเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสิ่งแวดล้อม สามารถคาดการณ์และการป้องกันสาธารณภัยเพื่อให้มีการเตรียมความพร้อมในกรณีเกิดภัยธรรมชาติ สามารถวางแผนการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว
  2. มิติด้านสังคม (Social) ช่วยให้สามารถแสดงผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์และการสื่อสารได้อย่างชัดเจน นำไปใช้ในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภาคธุรกิจ สังคม รวมไปถึงการใช้ข้อมูลภูมิศาสตร์ในการวางแผนการพัฒนาเมืองที่มีการกระจายทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. มิติด้านการกำกับดูแล (Governance) ช่วยบริหารจัดการอย่างประสิทธิภาพ เพื่อการวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจ สามารถมอนิเตอร์เหตุการณ์หรือกระบวนงานต่าง ๆ ในรูปแบบแดชบอร์ดที่สรุปผลข้อมูลอย่างเป็นระบบ เข้าใจง่าย มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ง่าย

ดร.ธนพร กล่าวเพิ่มเติมว่า ตัวอย่างการนำเทคโนโลยี GIS มาประยุกต์ใช้ พบบริษัทขนส่งและโลจิสติกส์ชื่อดังแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ได้นำเทคโนโลยี GIS มาใช้บริหารจัดการการขนส่ง ในการวิเคราะห์เส้นทางการขนส่งที่เร็วที่สุด ทำให้ประหยัดเวลา ประหยัดน้ำมัน และเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ขับขี่ ซึ่งจากการบริหารจัดการนี้บริษัทลดการเดินทางไปได้มากถึง 100 ล้านไมล์ต่อปี เท่ากับประหยัดน้ำมัน 10 ล้านแกลลอน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน 100,000 เมตริกตัน ทั้งยังช่วยพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย หรือบริษัทผลิตกาแฟรายใหญ่ของโลกรายหนึ่ง ใช้เทคโนโลยี GIS เพื่อวิเคราะห์สภาพอากาศและภูมิศาสตร์ที่ครอบคลุมพื้นที่ไร่กาแฟ เพื่อศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงและผันผวนในพื้นที่รอบๆ ไร่ เพื่อช่วยรักษาคุณภาพของผลผลิต รวมไปถึงคาดการณ์ผลกระทบจากไร่ไปสู่สิ่งแวดล้อมที่จะมีผลต่อชุมชน

หากองค์กรที่ยังไม่ได้เริ่มต้นดำเนินการในส่วนนี้ สามารถเริ่มได้โดยการนำเทคโนโลยี GIS มาช่วยในการวิเคราะห์และประเมินความสอดคล้องระหว่างสถานะธุรกิจปัจจุบันกับแนวคิด ESG โดยการนำข้อมูลต่างๆ ทั้งในส่วนธุรกิจเอง เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลขนส่ง ข้อมูลการใช้สาธารณูปโภคต่างๆ มาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลแวดล้อมภายนอก เช่น ข้อมูลสภาพอากาศ ข้อมูลทางสังคม ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เพื่อที่สามารถตั้งเป้าหมายและวางแผนการดำเนินการอย่างเหมาะสม

อย่างไรก็ดี การเตรียมพร้อมใช้เทคโนโลยี GIS ที่สอดคล้องกับแนวคิด ESG เป็นกระบวนการที่ต้องมีการวางแผนและการดำเนินงานอย่างรอบด้าน ทั้งการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การวางแผนการใช้งาน เทคโนโลยีที่เหมาะสม การฝึกอบรมและการสนับสนุน และการติดตามผลเพื่อให้องค์กรมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแนวคิด ESG อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ดร.ธนพรกล่าวทิ้งท้าย