ความร่วมมือกันทั่วทั้งระบบนิเวศยานยนต์ คือ กุญแจสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงด้านแรงงานที่สำคัญในภาคการผลิตยานยนต์ของประเทศไทย จากเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ไปสู่นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) และด้วยความร่วมมือระหว่าง “แดสสอลท์ ซิสเต็มส์” กับ “สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย” นั้นมีเป้าหมายร่วมกันจัดการความท้าทายและเพิ่มโอกาสด้านแรงงานภายในระบบนิเวศยานยนต์ พร้อมกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม ผ่านแพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE และประสบการณ์ Virtual Twin ของแดสสอลท์ ซิสเต็มส์ ที่จะเป็น Game-Changer สำคัญ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
โดย แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ (Euronext Paris: FR0014003TT8, DSY.PA) ร่วมมือกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ภาคธุรกิจ ภาควิชาการและภาครัฐบาล ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางยานยนต์ระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่ง
หัวใจสำคัญในเป้าหมายการเปลี่ยนจากฐานการผลิตของประเทศไทยไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม การวิจัยและพัฒนาที่เข้มข้นยิ่งขึ้น คือ บุคลากรที่มีทักษะสูงในด้าน R&D และเทคโนโลยีดิจิทัล ที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดในการเป็นผู้นำความก้าวหน้าของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยความร่วมมือกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ ได้สานต่อความร่วมมือไปยังสถาบันการศึกษาระดับสูง (Institutions of Higher Learning หรือ IHL) และศูนย์ฝึกอาชีพ (Vocational Training Centre) เพื่อหารือถึงวิธีการในการร่วมกันพัฒนาโปรแกรม “ทักษะแห่งอนาคต หรือ Skills of the Future” อย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อเปิดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้รับการพัฒนาโดยเน้นโครงการเป็นศูนย์กลาง (Project Centric) ให้แก่นักวิชาการในสถาบันเหล่านี้ได้ใช้ศักยภาพจากแพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE ที่อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกต่างใช้แพลตฟอร์มนี้พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านการจำลองเสมือนจริง (Virtual Twin) และใช้บริหารจัดการวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านการแข่งขันในการเป็นศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่โดดเด่น และอยู่บนเป้าหมายนโยบาย 30@30 ของประเทศ ซึ่งเป็นแผนการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของประเทศไทย โดยตั้งเป้าผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero-Emission EVs) ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในประเทศ ภายในปี ค.ศ. 2030
บุคลากรที่เป็นรากฐานสำคัญผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นฐานการผลิตรถยนต์รายใหญ่ของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสามารถสร้างความได้เปรียบให้แก่ประเทศไทยและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของภาคการผลิตยานยนต์ของประเทศไทยจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) ไปสู่ศูนย์กลางนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEVs)
แม้ว่าอาจเกิดความท้าทายในด้านช่องว่างทักษะ แต่ก็มีโอกาสในการเร่งให้ประเทศไทยเป็น EV Hub ที่โดดเด่นระดับภูมิภาค ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการทำงานและการร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา สถาบันอาชีวศึกษา ผู้นำในอุตสาหกรรม และพันธมิตรด้านเทคโนโลยี
แพลตฟอร์ม 3DEXPERIENCE และประสบการณ์ Virtual Twin ของ แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพให้แก่บุคลากรในภาคยานยนต์ ด้วยโซลูชั่นการวิจัยและพัฒนา แนวคิดในการออกแบบและด้านวิศวกรรม การผลิต ไปจนถึงบริการหลังการขาย จะช่วยเพิ่มทักษะความสามารถใหม่ ๆ แก่บุคลากร อาทิ การจัดการโครงการ, การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการออกแบบ (Computer-Aided Design หรือ CAD), การใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต (Computer-Aided Manufacturing หรือ CAM), การทำวิศวกรรมระบบและการคำนวณโครงสร้างโดยละเอียด นอกจากนี้ยังรวมถึงเทคโนโลยี Immersive และการจำลองระบบที่ซับซ้อน ระบบมัลติฟิสิกส์สำหรับสร้างแบบจำลอง และกระบวนการในการผลิตต่าง ๆ โดยยังมีประสิทธิภาพใช้วางแผนสายการผลิตและการประกอบ (Assembly Line) ไปจนถึงการพัฒนาเป็นโรงงานยุค Industry 4.0
นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) กล่าวว่า “ความพยายามในการ Upskill และ Reskill ทักษะต่าง ๆ ให้แก่บุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ เมื่ออุตสาหกรรมกำลังเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาปแบบเดิมไปเป็นระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าถือเป็นภารกิจสำคัญของสมาคมฯ เราเชื่อว่าประโยชน์จากแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำสมัยของ Dassault Systèmes สามารถก่อให้เกิดโอกาสใหม่ ๆ ภายในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้นี้ และสามารถยกระดับประเทศไทยจากการเป็นศูนย์กลางการผลิต ไปสู่ ศูนย์กลางด้านนวัตกรรม ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบทางวิศวกรรม การวิจัยและพัฒนาได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น”
ผศ.ดร.อุเทน สุปัตติ อุปนายกฯ ฝ่ายการศึกษาและการพัฒนาบุคลากร สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) และหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยการประยุกต์ใช้งานอิเล็กทรอนิกส์กำลังและการจัดการพลังงาน (PEEM) คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา กล่าวว่า “การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะกำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะบุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลและวิศวกรรมขั้นสูง ซึ่งความร่วมมือของสถาบันการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม และผู้ให้บริการเทคโนโลยีโดยเฉพาะการพัฒนาแนวทางการศึกษาเรียนรู้แบบครบวงจรคือคำตอบสำหรับการพัฒนากำลังคนให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งบุคลากรไม่เพียงได้รับความรู้ทางทฤษฎีเท่านั้น แต่ยังได้รับทักษะการปฏิบัติที่จำเป็นด้านการออกแบบ พัฒนา และปรับใช้โซลูชันซอฟต์แวร์ขั้นสูงร่วมด้วย โดยสมาคมฯ กำลังศึกษาและเตรียมปรับปรุงหลักสูตรการเรียนรู้ EV เพิ่มเติม ผ่านการร่วมมือกับ Dassault Systèmes”
มร. เบนจามิน ตัน ผู้อำนวยการฝ่ายขาย Customer Role Experience ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใต้ แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ กล่าวว่า “เราเป็นพันธมิตรกับ EVAT เมื่อปีที่ผ่านมา และร่วมมือกันเชิญชวนสถาบันอาชีวศึกษาและสถาบันการเรียนรู้ในท้องถิ่นมาร่วมสนับสนุนการเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) แบบเดิมไปเป็นยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV) มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรามีองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่สามารถเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรด้วยทักษะที่ไม่เพียงตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน แต่ยังตอบโจทย์ความต้องการในอนาคตของอุตสาหกรรม จากการร่วมมือกันอย่างบูรณาการระหว่างภาควิชาการและผู้มีส่วนได้เสียในระบบนิเวศทั้งหมด ทำให้เราไม่เพียงแต่ขยับลดช่องว่างด้านทักษะเท่านั้น แต่ยังร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เวทีโลกในฐานะศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า”
ผศ.ดร.กิตติ์ชนน เรืองจิรกิตติ์ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ชี้มุมมองในแง่ของภาคการศึกษาที่จะต้องเร่งปรับเปลี่ยนให้ทันและนโยบายที่จะต้องเปิดโอกาสพร้อมสนับสนุน ซึ่งความท้าทายในปัจจุบันนั้นคือเรื่อง “คน” ทั้งเรื่ององค์ความรู้และเรื่อง Digital Literacy จึงควรต้องส่งเสริมให้เฟรมเวิร์กการเรียนการสอนที่เป็นแบบ Life-Long Learning และส่งเสริมให้บรรดา Top Talent ได้มีโอกาสเห็นประสบการณ์จริงได้มากขึ้น
มร. ฉี่ ฮ๊าว หวง หัวหน้าฝ่ายทรัพยากรบุคคล ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มองว่าประเทศไทยมีโอกาสอย่างมากที่จะเป็นฮับในด้าน EV โดยแนะนำให้สร้าง “Talent Competence Framework” ที่มุ่งเน้นในทั้ง 4 ด้านพร้อม ๆ กันคือ
- เทคโนโลยี ที่ทั้ง 3 ส่วนของตลาด EV ควรจะต้องให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน
- ทักษะของแรงงาน ที่ต้องปรับเปลี่ยน Mindset ให้มีความเป็นผู้นำและความต้องการพัฒนาตนเอง
- การทำงานร่วมกับ AI ที่จะต้องมี Critical Thinking คิดอย่างเป็นระบบ และปรับใช้ในอุตสาหกรรม
- ความยั่งยืน ที่ต้องยกระดับให้เป็นไปตามมาตรฐานต่าง ๆ พร้อมทั้งมีความโปร่งใสและมีศีลธรรม
มร. ไซม่อน อึง ผู้อำนวยการฝ่ายขายพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ Customer Role Experience ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกใต้ แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ ได้ชี้ให้เห็นว่าในอุตสาหกรรมยานยนต์นั้น มีการทำวิจัยและพัฒนา (Research & Development หรือ R&D ) ในทุก ๆ ระดับ ซึ่ง R&D ในทุกระดับล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น และเมื่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นมา ก็ยิ่งทำให้เกิดงานวิจัยใหม่ ๆ ซึ่งตามภาพด้านล่างนี้ที่ไฮไลท์สีแดง คือตำแหน่งความรับผิดชอบหรือทักษะที่ยังคงขาดแคลนอยู่ในปัจจุบัน หากแต่เป็นสิ่งที่ “ต้องมี” สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ดังนั้น เรื่องการพัฒนาศักยภาพใหม่ ๆ ของ “คน” จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
เกี่ยวกับ แดสสอลท์ ซิสเต็มส์
แดสสอลท์ ซิสเต็มส์ คือบริษัท 3DEXPERIENCE ที่นำเสนอโลกเสมือนจริงให้แก่ผู้คนและองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับ การสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างยั่งยืน ด้วยโซลูชันระดับชั้นนำของโลกที่ปรับปรุงแนวทางการออกแบบ ผลิต และ สนับสนุนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ โซลูชันการประสานงานร่วมกันของแดสสอลท์ ซิสเต็มส์ ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคม ขยายความเป็นไปได้สำหรับโลกเสมือนจริงเพื่อปรับปรุงโลกแห่งความเป็นจริง บริษัทฯ มอบคุณประโยชน์ให้แก่ ลูกค้าองค์กรทุกขนาดกว่า 300,000 รายในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในกว่า 150 ประเทศ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.3ds.com
3DEXPERIENCE, the 3DS logo, the Compass icon, IFWE, 3DEXCITE, 3DVIA, BIOVIA, CATIA, CENTRIC PLM, DELMIA, ENOVIA, GEOVIA, MEDIDATA, NETVIBES, OUTSCALE, SIMULIA และ SOLIDWORKS เป็นเครื่องหมายการค้า จดทะเบียนของแดสสอลท์ ซิสเต็มส์ หรือเป็นของบริษัทในเครือ ทั้งที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา และ/หรือ ประเทศอื่น ๆ
เกี่ยวกับ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT)
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (Electric Vehicle Association of Thailand) เป็นสมาคมที่ไม่เเสวงหาผลกำไร โดยแนวทางของสมาคมมุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการเเลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ยังรวมไปถึงการให้คำปรึกษาข้อบังคับมาตรฐาน และการดำเนินงานในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย สมาชิกของสมาคมฯ ประกอบด้วย ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา รัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป รวมกว่า 370 ราย โดยสมาคมฯ กำหนดการประชุมทุกเดือนและจัดตั้งคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ติดตามข่าวสารล่าสุดของสมาคมฯ ได้ที่ www.evat.or.th