มัดรวมเครื่องมือ AI ขับเคลื่อน Productivity ขั้นสุด! กับ ดร.โอม ชูศิลป์

0

เวลาเป็นสิ่งมีค่า แต่จะทำอย่างไรให้เวลาที่มีจำกัดสามารถสร้างมูลค่าได้มากที่สุด?

บทความนี้ ADPT ร่วมกับ ดร.โอม ชูศิลป์ เมธีไชยพงศ์ วิทยากรด้านการสร้าง Productivity ให้องค์กร และผู้บริหารด้านการตลาดบริษัทชื่อดังของประเทศ ขอพาทุกท่านไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคุณกับเครื่องมือ AI ผู้ช่วยอัจฉริยะอย่าง ChatGPT, Bard AI, Perplexity พร้อมสูตรป้อนคำสั่งง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้

พิเศษ! แจกโพยเครื่องมือ AI by Dr.Ohm ท้ายบทความ พร้อมรับชมวิดีโอบันทึกย้อนหลัง ADPT Webinar: ChatGPT & AI Tools for Productivity: Maximizing Efficiency and Effectiveness (10 ต.ค. 2023) ได้ที่นี่

รู้จัก ChatGPT

ChatGPT ย่อมาจาก Chat Generative Pre-trained Transformer มีความสามารถในการค้นคว้าหาคำตอบ ระดมสมอง หาไอเดีย สรุปวิเคราะห์ข้อมูล เขียนบทความ เรียบเรียงให้สละสลวย รวมไปถึงการวางแผน Traning roadmap การเตรียมคำถามสำหรับแบบสอบถาม สัมภาษณ์ต่าง ๆ ด้วย

และด้วยความสามารถที่ครอบคลุมหลากหลาย จึงทำให้ ChatGPT เติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับบริการออนไลน์เจ้าอื่น ด้วยจำนวนผู้ใช้งาน 100 ล้านคน หลังเปิดตัวภายในเวลาแค่ 2 เดือนเท่านั้น

Image credit: ดร.โอม ชูศิลป์ (Source: netscribes)

ดร.โอม ได้เปรียบเทียบ ChatGPT เป็นเหมือนเด็กฝึกงานที่มีคุณลักษณะ 4 อย่าง ได้แก่

  1. เก่งอังกฤษ → เพราะ ChatGPT พัฒนามาจากโมเดลภาษาอังกฤษ
  2. ฉลาดกลาง ๆ → ข้อมูลล่าสุดไม่ได้อัปเดตเป็นปัจจุบัน แต่อัปเดตถึงแค่กันยายน 2021
  3. จำได้บ้าง → ผู้ใช้งานต้องคอยสอนงาน ป้อนข้อมูลอยู่เรื่อย ๆ
  4. มั่วนิ่มบ้าง → คำตอบที่ ChatGPT ประมวลผลออกมานั้นอาจไม่ได้ถูกต้องเสมอไป

ดังนั้น ผู้ใช้งาน ChatGPT จึงเปรียบเสมือนหัวหน้า ต้องคอยตรวจคำตอบที่ได้จาก ChatGPT เสมอ

Image credit: ดร.โอม ชูศิลป์

เริ่มต้นใช้ ChatGPT

สำหรับมือใหม่หัดใช้ ChatGPT สามารถสมัครใช้งานฟรีได้ที่ https://chat.openai.com/

เมื่อสมัครใช้งานเรียบร้อย จะปรากฏหน้าจอตามภาพด้านล่าง

  1. New chat เปรียบเสมือนกระทู้หัวข้อ เพื่อถาม ChatGPT เป็นเรื่อง ๆ โดยผู้ใช้งานสามารถป้อนข้อมูลเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องเพื่อถาม ChatGPT ได้ หากต้องการถามเรื่องอื่น ให้เริ่มต้น Chat หัวข้อใหม่
    Dr.Ohm’s Tip – ตั้งวัตถุประสงค์ก่อนใช้งาน แล้วไปที่หัวข้อแชตนั้น ๆ ที่เคยทำงานไว้ เพื่อให้ ChatGPT สามารถใช้ข้อมูลอ้างอิงเดิมต่อยอดประกอบกับคำตอบได้
  2. Model – สามารถเลือกเป็น GPT-3.5 (ฟรี) หรือ GPT-4 (เวอร์ชันเสียเงิน) ก็ได้
    Dr.Ohm’s Tip – เนื่องจากในท้องตลาดมี AI ให้เลือกใช้หลากหลาย หากใช้งานทั่วไป ก็สามารถใช้ ChatGPT เวอร์ชันฟรีไปก่อนได้
  3. ช่องใส่ Prompt หรือคำสั่ง
  4. ปุ่ม Enter เพื่อป้อนคำสั่งให้ ChatGPT

นอกจากฟีเจอร์พื้นฐานข้างต้นแล้ว ดร.โอม ยังได้แนะนำเคล็ดลับวิธีการใช้งาน ChatGPT อีกมากมาย เช่น

  • Regenerate response: เพื่อให้ ChatGPT ประมวลผลคำตอบใหม่ ในกรณีที่ผู้ใช้ไม่ชอบคำตอบที่ ChatGPT ตอบมาในตอนแรก
  • Stop generating: สั่งให้ ChatGPT หยุดประมวลผลกลางคัน โดยไม่ต้องเสียเวลารอให้ตอบเสร็จ
  • Edit หัวข้อ Chat หรือสั่งลบทั้งหัวข้อได้
  • Copy คำตอบได้ง่าย ๆ ไม่เสียฟอร์แมต โดยกดปุ่มมุมขวาบนของคำตอบ (ข้างปุ่ม Like)
  • Feedback คำตอบของ ChatGPT ได้ด้วยการกด Like หรือ Dislike มุมขวาบนของคำตอบ
    ถ้าเราให้ฟีดแบกเรื่อย ๆ ChatGPT ก็จะเก่งขึ้นด้วย
  • ใช้ ChatGPT เป็นภาษาไทยได้ แต่คำตอบที่ได้อาจไม่ดีเท่าภาษาอังกฤษ
    • ใช้ Google Translate ร่วมด้วยก็ได้ในการแปลคำสั่ง ภาษาอังกฤษ < – > ไทย

รวม Prompt น่ารู้ใน ChatGPT

  1. กำหนดบทบาท ตัวตน หรือบุคลิก 
    • act as an L&D Specialist
    • pretend to be a newbie
  2. กำหนดให้ ChatGPT ทำหรือตอบอะไร
    • write a step-by-step instruction
  3. ตั้งค่าสภาพแวดล้อมและบริบท (scope down ลงมาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น)
    • in HR Business Partner
  4. กำหนดเป้าหมาย
    • for brand awareness
    • for employee engagement
  5. กำหนดรูปแบบ
    • in table
    • in bullet
    • in paragraph
  6. กำหนดลักษณะการตอบ
    • explain to 5-year-old kid
    • in one sentence
    • in 30 words

สูตรป้อน Prompt ใช้ได้กับทุก AI Tools

ดร.โอม ได้แชร์สูตรป้อน Prompt (คำสั่ง) ที่ใช้ได้กับทุกแพลตฟอร์ม Generative AI ไม่ใช่แค่เฉพาะ ChatGPT ด้วย โดยมี 2 วิธี คือ

1. Basic Prompt

Verb + Use cases + Format
Image credit: ดร.โอม ชูศิลป์

  • Verb = คำกริยา เช่น Write, Plan
  • Use cases = สิ่งที่ต้องการจาก ChatGPT หรือ AI อื่น ๆ เช่น Job Description, Company Outing
  • Format = รูปแบบที่ต้องการ เช่น in bullets (ลิสต์เป็นข้อ), in table (แบบตาราง)

ตัวอย่างเพิ่มเติม

  • Create a job description for a [ใส่ชื่อตำแหน่ง]. Include [A, B & C] responsibilities.
  • Provide 10 screening interview questions for a [ใส่ชื่อตำแหน่ง].
  • List 5 best practices for onboarding a new employee.
  • Draft a work-from-home policy for an employee handbook.
ตัวอย่าง Verbs สำหรับ ChatGPT Prompt (Image credit: ดร.โอม ชูศิลป์)

2. Contextual Prompt

Contextual prompt เป็นการต่อยอดมาจาก Basic prompt โดยเพิ่มบริบทของคำสั่งมากขึ้น เพื่อให้คำตอบที่ได้จาก ChatGPT หรือเครื่องมือ AI อื่น ๆ มีความเฉพาะเจาะจง และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

Verb + Use cases + Format + Context

ตัวอย่างบริบทที่สามารถใส่ใน Prompt ได้ เช่น

  • กำหนดบทบาท
  • กำหนดความยาว
  • กำหนดน้ำเสียงของคำตอบ (Tone of Voice)
  • กำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Segments)
Image credit: ดร.โอม ชูศิลป์

มัดรวม AI Tools ตัวเด็ด ๆ

นอกจาก ChatGPT แล้ว ดร.โอม ยังได้แนะนำเครื่องมือ AI ตัวอื่น ๆ ได้แก่

Bard AI

Bard AI เป็น Generative AI จากค่าย Google ที่เปิดตัวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2023 โดยล่าสุดเมื่อเดือนกันยายน 2023 Google ก็ได้ประกาศอัปเดต Bard AI ผสานรวมเข้ากับชุดเครื่องมือต่าง ๆ ของ Google รวมถึง YouTube, Google Maps, Flights และ Hotels ด้วย

Screen capture: Bard AI

จุดเด่นของ Bard AI คือ ข้อมูลที่อัปเดตถึงปัจจุบัน เพราะเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต แต่ในแง่ของความคิดสร้างสรรค์นั้น Bard AI ยังสู้ ChatGPT ไม่ได้

Dr.Ohm’s Tip – ควรใช้ ChatGPT และ Bard AI ร่วมกัน โดยสามารถใช้ ChatGPT ในเชิงสร้างสรรค์ได้ และให้ Bard AI ตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบที่ได้จาก ChatGPT อีกทีได้

ข้อควรระวัง: หลีกเลี่ยงการป้อนข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลความลับของบริษัท ข้อมูลส่วนบุคคล

ฟีเจอร์อื่น ๆ ที่ Bard AI เหนือกว่า ChatGPT เช่น

  • ฟีเจอร์แก้ไขคำตอบที่สามารถ Customize คำตอบได้ เช่น สั้นกว่านี้ ยาวกว่านี้ เข้าใจง่ายกว่านี้ เป็นกันเองกว่านี้ เป็นมืออาชีพกว่านี้
  • ฟีเจอร์แชร์ โดยเชื่อมต่อกับ Google services ต่าง ๆ เช่น แชร์คำตอบ Copy – Paste ไปยัง Google docs หรือร่างจดหมายใน Gmail ต่อได้เลย
  • Cross-check คำตอบที่ได้กับอินเทอร์เน็ตได้ โดยกดที่โลโก้ Google ใต้คำตอบ
  • แสดงร่างคำตอบได้ทันที โดยไม่ต้องกด Regenerate response
  • ฟีเจอร์ Voice typing สามารถป้อนคำสั่งด้วยเสียงได้ โดยไม่ต้องพิมพ์
  • อัปโหลดภาพใส่เป็น Prompt ได้
  • ใช้เป็น Plug-in เชื่อมต่อกับ Google Services ต่าง ๆ ได้

Perplexity

Perplexity ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ Generative AI ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ ChatGPT เช่นกัน แต่จะมีความโดดเด่นในเรื่องที่มาของข้อมูล เหมาะสำหรับการใช้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อต่อยอด

Screen capture: Perplexity

ข้อดีอีกอย่างของ Perplexity คือ ผู้ใช้สามารถอัปโหลดไฟล์ PDF เป็นแหล่งข้อมูลตั้งต้น แล้วผู้ใช้ก็สามารถตั้งคำถาม โดยอ้างอิงข้อมูลจากในไฟล์นั้นได้ด้วย

นอกจากนี้ หากเราต้องการถามต่อเพิ่มเติม Perplexity ก็มีการแนะนำคำถามเป็นแนวทางตัวอย่างมาให้ โดยผู้ใช้งานก็สามารถคลิกเลือก เพื่อให้ AI Generate คำตอบต่อไปได้เลยทันที

เลือกใช้เครื่องมือ AI อย่างไรสำหรับงานของคุณ?

ดร.โอม ได้ให้แนวทางการเลือกใช้เครื่องมือ AI ให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับงานของคุณ โดยมี 6 ขั้นตอน ดังนี้

1. กำหนดวัตถุประสงค์และปัญหาของงาน

ก่อนเลือกใช้เครื่องมือ AI ต่าง ๆ ผู้ใช้งานจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า ตนเองต้องการอะไร ซึ่งนั่นก็คือวัตถุประสงค์นั่นเอง 

เมื่อรู้วัตถุประสงค์และปัญหาที่ต้องการให้ AI ช่วยแล้ว ค่อยไปสู่ขั้นตอนเลือกใช้ AI ที่ตอบโจทย์ได้อย่างเหมาะสม เช่น 

  • เลือกใช้ ChatGPT กับงานเชิงสร้างสรรค์ คิดแคปชัน
  • เลือกใช้ Bard AI เพื่อข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำกว่า
  • เลือกใช้ Perplexity สำหรับการค้นคว้าที่มีแหล่งข้อมูลสนับสนุน

2. รู้เรื่องการใช้งาน

ผู้ใช้งานจำเป็นต้องศึกษาและเข้าใจเรื่อง AI และการประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับงานของแต่ละคน รวมถึงความเข้าใจในเรื่องชนิดและประเภทของ AI ต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้เชิงลึก การประมวลผลภาษาธรรมชาติ การวิเคราะห์ข้อมูล การปรับปรุงกระบวนการธุรกิจ

3. ทดลองใช้เครื่องมือต่าง ๆ

สมัยนี้มีเครื่องมือ AI หลากหลายให้เราได้ทดลองใช้งาน โดยเครื่องมือ AI แต่ละตัวก็ตอบโจทย์การใช้งานแตกต่างกันออกไป 

ดังนั้น ผู้ใช้ควรทดลองใช้เครื่องมือ AI หลากหลาย และดูว่าเครื่องมือ AI ตัวไหนสอดคล้องกับความต้องการของตนและรูปแบบของงานได้ดีที่สุด

Image credit: Shutterstock/sdecoret

4. คิดรายละเอียดเรื่องราคา

หลังจากที่ทดลองใช้งานเครื่องมือ AI ต่าง ๆ แล้ว คุณอาจพบว่า หลาย ๆ เครื่องมือ AI ที่เปิดให้ใช้ฟรีก็สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้แล้ว 

แต่หากคุณยังต้องการใช้งานฟีเจอร์ของเวอร์ชันที่ต้องจ่ายเงิน ก็ทำได้เช่นกัน แต่ต้องพิจารณาถึงงบประมาณของคุณด้วย

5. ปรับเปลี่ยนการใช้งาน

เครื่องมือที่คุณเลือกใช้นั้นอาจมีฟีเจอร์ปรับแต่งที่ช่วยให้ผลลัพธ์ที่ประมวลผลออกมาดียิ่งขั้นได้อีก ดังนั้น ผู้ใช้ก็ควรลองปรับแต่งพารามิเตอร์หรือเทคนิคการใช้งานให้ตรงโจทย์ของตัวเอง

6. เรียนรู้ตลอดเวลา

เพราะ AI เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่เสมอ ในฐานะผู้ใช้ทั่วไปก็ควรติดตามข่าวสารอยู่ตลอด เพื่ออัปเดตความรู้และอัปเกรดงานได้อย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น

บทสรุป

และทั้งหมดนี้คือ เครื่องมือ AI ส่วนหนึ่งที่ ดร.โอม ได้แนะนำให้กับทุกท่านค่ะ ซึ่ง ดร.โอม ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า เราควรเลือกใช้เครื่องมือ AI ที่สอดคล้องกับความต้องการและวัตถุประสงค์ของงาน โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ประสิทธิภาพ ราคา และการใช้งานที่ง่ายในการปรับเปลี่ยน

สุดท้ายนี้ การปรับใช้เครื่องมือ AI ให้เหมาะสมกับงานของคุณก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเปิดโอกาสใหม่ในการดำเนินธุรกิจของคุณค่ะ

ติดตาม ดร.โอม ชูศิลป์ กับสาระความรู้เพื่อสร้าง Productivity ให้ชีวิตคุณได้ในทุกช่องทาง Social Media 

=======================================

[แถม] แจกโพย AI by Dr.Ohm

AI

Mindmap

Write

Design

Slides 

Text to Video/Image

Data Visualisation

Name the Brand

Design Branding Product

Summary of the Online Meeting

Speech to Text

Data Analysis

Long Clip to Short Clip Generator

Compose Songs

Create Business Plan

Update about AI

Update about AI Design