ส่องสถิติสำรวจคนไทยยุคดิจิทัลในรายงาน Digital Lives Decoded จาก Telenor Asia เผย 5 แรงขับเคลื่อนยกระดับชีวิตดิจิทัล

0

Telenor Asia เผยผลรายงาน Digital Lives Decoded ชี้ คนไทยร้อยละ 86 ใช้เวลากับมือถือมากกว่าครึ่งวัน เป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย (89%) ส่วนใหญ่ใช้เพื่อทำธุรกรรมการเงิน เรียนรู้สิ่งใหม่เพื่อพัฒนาตนเองและหารายได้ แต่กลับละเลยเรื่องความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยขณะใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ

Telenor Asia ได้จัดทำรายงาน Digital Lives Decoded สรุปปัจจัยขับเคลื่อน 5 ประการ ชี้ให้เห็นว่าอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile devices) ช่วยยกระดับชีวิตดิจิทัลของผู้คนได้อย่างไร

รายงานดังกล่าวสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือ 8,087 ราย ใน 8 ประเทศในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ บังกลาเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม

Image credit: Telenor Asia

รายงานฉบับนี้ระบุแรงขับเคลื่อนที่ยกระดับชีวิตดิจิทัล 5 ประการ ดังนี้

1. ไลฟ์สไตล์และสุขภาวะ: การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมออนไลน์ที่ดี

  • คนไทย (86%) ใช้เวลาเกินครึ่งวันกับมือถือ โดย 20% นำมือถือติดตัวอยู่ตลอด และคาดว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะมีการใช้งานเพิ่มขึ้นอีก (83%)
Image credit: Telenor Asia

  • ผู้หญิง (35%)  ใช้งานมือถือมากกว่าผู้ชาย (28%) ซึ่งมักใช้บริการออนไลน์ต่าง ๆ (78%) ทำงาน (73%) และการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (67%)
Image credit: Telenor Asia

  • คนไทย (93%) ใช้มือถือเพื่อจัดการธุรกรรมการเงิน มีการเปรียบเทียบราคาและหาดีลที่ดีที่สุดก่อนตัดสินใจซื้อ รวมถึงบันทึกติดตามค่าใช้จ่าย
Image credit: Telenor Asia

  • Facebook ยังเป็นแอปยอดนิยมสำหรับเชื่อมโยงความสัมพันธ์ (57%) และรับข้อมูลข่าวสาร (52%) แต่แพลตฟอร์มเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุผู้ใช้งาน อย่างเยาวชนช่วงอายุ 18 – 29 ปี ติดตามข่าวจาก TikTok แทน
  • คนไทยใช้ 5G สตรีมวิดีโอหรือเพลง (84%) ทำงานหรือเรียน (69%) เล่นเกม (66%)
  • คนไทยมีแนวโน้มใช้มือถือเล่นเกมมากที่สุดใน 8 ประเทศ โดยเล่นเกมทุกวัน (44%) มากกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคที่ 30%
  • ถ้าใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือไม่ได้ คนไทย (55%) จะมีแนวโน้มรู้สึกหงุดหงิดมากกว่าคนประเทศอื่น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 39%

2. การทำงาน: ปลดล็อกโอกาสใหม่ในการทำงาน

  • การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่สามารถช่วยส่งเสริมให้คนไทยมีความก้าวหน้าในการทำงานได้ (53%) ช่วยเปลี่ยนอาชีพ (37%) หรือจัดตั้งธุรกิจตนเอง (31%)
  • 2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยเชื่อว่า การใช้ Generative AI ในการทำงานจะเพิ่มขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้า

  • องค์กรของผู้ตอบแบบสอบถาม 82% สนับสนุนให้พนักงานใช้ Generative AI ในที่ทำงาน ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจไทยเปิดรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
  • มีองค์กร 10% ที่ห้ามหรือไม่สนับสนุนการใช้ AI ซึ่งถือว่าประเทศไทยเปิดรับเทคโนโลยีมากกว่าประเทศอื่น ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 15%

3. ความปลอดภัย: ประสบการณ์ออนไลน์ที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

  • คนไทยกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยบนมือถือน้อยที่สุด เทียบกับคนประเทศอื่น โดยฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ประชาชนมีความกังวลต่อประเด็นนี้มากที่สุด (69%)
  • มีคนไทยเพียง 17% เท่านั้นที่แสดงความกังวลต่อประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่น ๆ ที่ 44%
Image credit: Telenor Asia

  • แต่คนไทยก็แสดงความกังวลต่อความเสี่ยงทางไซเบอร์ของผู้สูงอายุ (75%) และเด็ก (72%)
  • วิธีที่ดีที่สุดในการให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยทางออนไลน์ คือ การแนะนำแนวทางสำหรับการใช้งานออนไลน์ (71%) และการพูดคุยอย่างเปิดเผย (61%) 

4. ทักษะ: เรียนรู้และพัฒนาตนเอง

  • คนไทย (91%) ใช้มือถือเรียนทักษะใหม่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา
    • 67%: ทักษะการสื่อสาร เรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ
    • 63%: การจัดการโซเชียลมีเดีย
    • 59%: ทักษะการถ่ายตัดต่อวิดีโอ
    • 56%: ทักษะการถ่ายรูป
Image credit: Telenor Asia

  • คนไทยใช้มือถือลงทุนออนไลน์ (55%) ขายของออนไลน์ (40%) ผลิตคอนเทนต์ (38%) เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่
Image credit: Telenor Asia

5. รักษ์โลก: ลดผลกระทบต่อโลก

  • ผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทย (71%) รู้สึกว่า การใช้โทรศัพท์มือถือช่วยให้พวกเขามีชีวิตที่ยั่งยืนมากขึ้นโดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการขนส่งสาธารณะ ลดความจำเป็นในการเดินทาง และลดการใช้กระดาษ 
  • แม้ว่าคนส่วนใหญ่ (72%) แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้โทรศัพท์มือถือ แต่มีเพียง 10% เท่านั้นที่ไม่ตระหนักถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากโทรศัพท์มือถือของตนเลย
  • คนไทยในกลุ่มช่วงอายุ 18-29 ปี ตระหนักรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูงที่สุด โดย 40% ของคนในกลุ่มอายุนี้กล่าวว่า สภาพภูมิอากาศและตำแหน่งความยั่งยืนของผู้ให้บริการโทรคมนาคมมีความสำคัญมากสำหรับพวกเขา และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเลือกผู้ให้บริการของพวกเขา

สำหรับผู้ที่สนใจอ่านรายงาน Digital Lives Decoded ฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีที่ https://www.telenorasia.com/stories/telenor-asia-digital-lives-decoded-2023/