แม้ว่าเทรนด์ Digital Transformation จะเกิดขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตก็ยังคงมีความท้าทายในการทรานส์ฟอร์มให้เข้าสู่โลกดิจิทัลได้อย่างเต็มรูปแบบ รวมทั้งความสามารถในการใช้ประโยชน์จาก “ข้อมูล” ที่มีอยู่อย่างมหาศาลให้ได้มีประสิทธิภาพ ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสำคัญนั่นคือ “พื้นที่จัดเก็บ” ที่ต้องสามารถขยายขนาดได้ตามจำนวนข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
และ Synology คือหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญในโซลูชันจัดเก็บข้อมูลที่มีผลิตภัณฑ์มากมายที่พร้อมสนับสนุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งทีมงานมีโอกาสพูดคุยกับคุณรหัท บุญตันจีน Sales Account Manager, International Business Department แห่ง Synology ที่มีส่วนช่วยสนับสนุนองค์กรให้ทรานส์ฟอร์มได้สำเร็จมาแล้วมากมายในภูมิภาคไทย เมียนมาร์ และลาว
โดยคุณรหัทได้มาแชร์มุมมองเกี่ยวกับตลาดอุตสาหกรรมการผลิตในไทย ซึ่งทำให้เห็นว่ายังมีความท้าทายในการทำ Digital Transformation และการจัดการข้อมูลอยู่พอสมควร พร้อมทั้งแนะนำแนวทางและยก Case Study ที่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยการปรับใช้ผลิตภัณฑ์โซลูชันของ Synology ได้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว อะไรคือกุญแจสำคัญที่ทำให้ทรานส์ฟอร์มองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการผลิตได้ ติดตามได้ในบทความนี้
ความท้าทายในเรื่อง Digital Transformation ของภาคการผลิตของไทย
ภาคอุตสาหกรรมการผลิตคือหนึ่งในกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทย ณ วินาทีนี้ ซึ่งจากมุมมอง Synology ที่เห็นภาคการผลิตของไทยเป็นฐานลูกค้าคนสำคัญนั้น ทางคุณรหัทเผยว่าองค์กรในภาคการผลิตของไทยยังคงมีความท้าทายในหลากหลายประเด็น
“เราจะคุ้นหูกับคำว่า Digital Transformation แต่จริง ๆ แล้วคำนี้เป็นคำที่พูดกันมาหลายปีแล้ว เหตุผลเป็นเพราะมันติดเงื่อนไขทางธุรกิจหลาย ๆ อย่าง ที่ทำให้ไม่สามารถทรานส์ฟอร์มองค์กรไปเป็นรูปแบบดิจิทัลได้เต็มตัว” คุณรหัทกล่าวถึงมุมมองเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทย
โดยคุณรหัทได้ยกตัวอย่างความท้าทายในการทำ Digital Transformation ที่ได้พบเจอจากการพูดคุยกับองค์กรมากมาย อาทิ
- แรงงานขาดแคลน องค์กรในภาคอุตสาหกรรมการผลิตมักจะขาดบุคคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่เพียงพอในการดำเนินการ Digital Transformation ได้สำเร็จ
- ระบบดิจิทัลที่หลากหลาย มีให้เลือกใช้งานได้จำนวนมาก จนทำให้ไม่รู้ระบบใดคือระบบที่เหมาะสมสำหรับองค์กรในแต่ละส่วน
- การจัดการข้อมูลขนาดมหาศาล ข้อมูลที่มีอยู่จำนวนมหาศาล แต่ไม่สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขยายพื้นที่จัดเก็บได้ค่อนข้างลำบาก และยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างที่ควรจะเป็น
แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยจะยังคงมีความท้าทายในการทำ Digital Transformation อยู่ แต่ในมุมมองของ Synology ยังคงมองเห็นศักยภาพและเชื่อว่าจะยังคงสามารถเติบโตไปได้อีกมาก จึงทำให้ Synology ได้เข้าร่วมงาน Secutech 2023 ในช่วงปลายปีที่แล้ว และจัดงานสัมมนาโซลูชันสำหรับภาคการผลิตจาก Synology เพื่อแสดงโซลูชันที่ Synology มีความพร้อมสนับสนุนการทำ Digital Transformation ในหลากหลายรูปแบบ
ข้อมูลมีแต่จะเพิ่มขึ้น ที่เก็บข้อมูลยิ่งต้องมีประสิทธิภาพ
ตามที่เห็นในหลาย ๆ องค์กรที่สามารถ Digital Transformation ได้สำเร็จ จะเห็นว่าข้อมูลองค์กรถูกแปลงมาอยู่ในรูปแบบดิจิทัลเป็นจำนวนมหาศาล และมีข้อมูลเกิดใหม่เพิ่มขึ้นทุกวันโดยไม่มีทางลดลงอีกต่อไป ดังนั้น การจัดการข้อมูลที่มีได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง คือหนึ่งในกุญแจสำคัญในการทรานส์ฟอร์มองค์กรให้สำเร็จ
“เพราะข้อมูลจะโตขึ้นไปตลอด และทุกคนต้องการที่จัดเก็บข้อมูล ซึ่งถ้าหากองค์กรสามารถจัดการข้อมูลได้ง่ายมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้มากขึ้นเท่านั้น” คุณรหัทกล่าวเสริม
ตัวอย่างในภาคการผลิต เช่น ข้อมูลเซ็นเซอร์ที่ติดอยู่บนเครื่องจักร หรือข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ ซึ่งสายการผลิตที่ไม่สามารถหยุดได้หลังทรานส์ฟอร์มเข้าสู่ระบบดิจิทัลแล้ว นั่นหมายความว่าจะมีข้อมูลเกิดใหม่ขึ้นมาทุกวันและต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ซึ่งองค์กรสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ต่อยอดได้หลากหลายมาก เช่น การทำ Dashboard ดูภาพรวมสถานะอุปกรณ์ว่ายังคงปกติดีหรือไม่ หรือการทำโมเดล AI คาดการณ์ช่วงเวลาที่ต้องซ่อมบำรุง เป็นต้น
ในส่วนนี้เอง Synology มีโซลูชัน Data Management และโซลูชันการสำรองและกู้คืนข้อมูล ไปจนถึงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ถึงระดับเพตะไบต์ (Petabyte-scale) จะทำให้องค์กรสามารถจัดการการเก็บข้อมูลได้อย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ ช่วยปกป้องข้อมูลให้ปลอดภัย และทำให้จัดการความยุ่งยากซับซ้อนในข้อมูลได้ง่ายขึ้นกว่าที่ผ่านมา ที่สำคัญผลิตภัณฑ์ Synology ยังสามารถขยายขนาด (Scalability) ไปได้เรื่อย ๆ อีกด้วย
ยิ่งข้อมูลมากขึ้น ที่จัดเก็บยิ่งต้องใช้พื้นที่เยอะ
นอกจากพื้นที่จัดเก็บข้อมูลอย่างฮาร์ดดิสก์ที่ต้องใช้มากขึ้นแล้ว ยังต้องมีพื้นที่บนอาคารหรือสำนักงานที่ต้องวางอุปกรณ์เหล่านั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน เพราะยิ่งองค์กรมีข้อมูลเก็บไว้มากเพียงใด ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะนำข้อมูลที่มีเอาไปต่อยอดได้ข้อมูลเชิงลึก (Insight) ที่แม่นยำกว่าได้นั่นเอง จึงทำให้องค์กรต้องสำรองพื้นที่ไว้ในกรณีที่จะต้องขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลด้วย
ตัวอย่างเช่น ข้อมูลปริมาณมากในสายการผลิตที่สามารถนำไปวิเคราะห์ได้ว่าจุดใดเป็นคอขวดของกระบวนการ หรือกรณีที่โรงงานต้องเก็บวีดีโอจากกล้อง CCTV ต่าง ๆ ภายในเป็นเวลา 1-2 ปีเป็นอย่างน้อย เผื่อกรณีที่ถ้าหากพบเจอปัญหาจากล็อตการผลิต ก็สามารถย้อนกลับมาดูวีดีโอที่จัดเก็บบันทึกไว้ว่าเกิดเหตุอะไรขึ้น เป็นต้น
ความท้าทายนี้ Synology มีโซลูชันพื้นที่จัดเก็บหนาแน่นสูง (High Density Storage) อย่าง HD6500 ที่มีขนาดเพียงแค่ 4U แต่สามารถใส่ได้ถึง 60 ช่อง (Bay) อีกทั้งยังสามารถ Scale ได้สูงถึง 300 ไดร์ฟอีกด้วย ซึ่งจะทำให้องค์กรไม่เปลืองพื้นที่ในการจัดวางอุปกรณ์มากนัก ในขณะที่สามารถจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลได้ขนาดใหญ่มหาศาลได้
ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลคือสิ่งสำคัญที่สุด
ความมั่นคงปลอดภัยในข้อมูล (Data Security) คืออีกหนึ่งสิ่งที่องค์กรทุกแห่งมีความกังวลซึ่งไม่ใช่แค่องค์กรในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเท่านั้น เพราะทุกวันนี้ภัยคุกคามหรือการละเมิดข้อมูล (Data Breach) นั้นมีเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน
สำหรับเรื่องนี้ คุณรหัทพูดอย่างมั่นใจว่าในมุมของ Synology นั้น หากองค์กรนำผลิตภัณฑ์ Synology ใด ๆ ไปใช้งาน จะมีความมั่นใจในเรื่อง Data Security ได้เป็นอย่างสูง เนื่องจากมีการปกป้อง 3 ชั้น (Layer) ได้แก่
- Access Control ชั้นการกำหนดสิทธิให้เข้าถึงข้อมูลได้ว่าใครจะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนใดได้บ้าง รวมทั้ง Synology ยังมีแอปพลิเคชัน Secure Sign In ที่องค์กรใช้ยืนยันตัวตนผ่านรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว (One Time Pasword หรือ OTP) ซึ่งทุกคนสามารถใช้งานได้ฟรี
- Data Protection การปกป้องข้อมูลให้มีความปลอดภัยจากการถูกจารกรรม ซึ่ง Synology จะเข้ารหัส (Encryption) ข้อมูลที่จัดเก็บลงไปแบบ AES-256 ซึ่งเป็นการเข้ารหัสระดับ Military-Grade รวมทั้งยังมีโซลูชัน Backup ที่ครอบคลุม ที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลจะไม่สูญหายไปได้ง่าย ๆ แน่นอน
- System Layer การปกป้องระดับระบบของ Synology ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการอัปเดตซอฟต์แวร์หรือ Security Patch เฟิร์มแวร์ต่าง ๆ ให้อุปกรณ์ของ Synology มี Security ที่ดีที่สุดอยู่ตลอดเวลา พร้อมทั้งยังมีหน่วย Product Security Incident Response Team (PSIRT) ที่คอยเฝ้าระวังเหตุการณ์หรือตรวจสอบช่องโหว่ที่อาจมีอยู่อย่างต่อเนื่องอีกด้วย
Credit : Synology
“ตั้งแต่ปี 2021 เป็นต้นมา Synology ยังไม่เคยพบปัญหาช่องโหว่ใด ๆ ในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล Network Attached Storage (NAS) ของบริษัทเลย และบริษัทก็มีโปรแกรม Security Bug Bounty อยู่ตลอด ถ้าเจอบั๊กหรือช่องโหว่ ก็ให้เงินทันทีเลยด้วย” คุณรหัทกล่าวเสริม
นอกจากนี้ คุณรหัทยังเคลมด้วยว่าด้วย ผลิตภัณฑ์ของ Synology นั้นยังตอบโจทย์ตามมาตรฐาน ISO 9001 อันเป็นมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต รวมทั้งมาตรฐาน ISO 27001 ที่เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอีกด้วย จึงทำให้องค์กรที่เลือกใช้งาน Synology จะสามารถมั่นใจในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
การสำรองข้อมูลที่ดี ต้องเรียกคืนและใช้งานได้จริง
เพราะแม้ว่าจะปกป้องข้อมูลไว้ดีเพียงใด แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจนทำให้ต้องสูญเสียข้อมูลไปก็อาจจะเกิดขึ้นได้เสมอ ซึ่งหนึ่งในทางแก้ไขนั่นคือการสำรองข้อมูล (Data Backup) หากแต่แม้ว่าจะสำรองข้อมูลไว้ดีเพียงใด แต่ถ้าไม่สามารถเรียกคืน (Data Restore) ขึ้นมาใช้งานได้จริง ก็ถือว่าเปล่าประโยชน์
“สิ่งที่สำคัญมาก ๆ คือ Backup จะมีประโยชน์ ก็ต่อเมื่อสามารถเรียกคืนไปใช้งานได้” คุณรหัทกล่าว
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการสำรองข้อมูล ที่จะต้องสามารถเรียกคืนเพื่อนำกลับมาใช้งานได้เสมอ โดยเฉพาะในเวลาที่ต้องการ ซึ่ง Synology มี Hyper Backup สนับสนุนให้การสำรองข้อมูลจากพนักงานในองค์กรได้อย่างง่ายดาย พร้อมทั้งยังจัดการข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน (Deduplication) ได้อัตโนมัติ ที่ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมหาศาล
นอกจากนี้ ด้วยระบบไฟล์ข้อมูลแบบ BTRFS จึงทำให้ข้อมูลมีความทนทานต่อการเสียหาย สามารถทำการซ่อมแซมตัวเองได้ ซึ่งผู้ใช้งานยังสามารถเรียกคืนได้อย่างยืดหยุ่น เช่น ต้องการเรียกคืนเป็นรายไฟล์ หรือจะเรียกคืนทั้งเครื่องเลยก็ได้ และถ้าหากมีการสำรอง Virtual Machine (VM) มาเก็บแล้วเรียกกลับไปรันไม่ได้ ยังสามารถรัน VM บน NAS ได้เลยอีกด้วย
ความพร้อมใช้สูงคือหัวใจของการทำธุรกิจ
ความพร้อมใช้สูง (High Availability) คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญอย่างมากในการทำ Digital Transformation ให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งในภาคการผลิตที่จำเป็นต้องรันระบบได้อย่างต่อเนื่องคือสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เพราะหากสายการผลิตเกิดเหตุหยุดทำงาน (Downtime) นั่นคือมูลค่าความเสียหายที่องค์กรต้องแบกรับ
ในส่วนนี้ Synology สามารถรองรับการออกแบบให้มีลักษณะ “High-Availability Cluster” ด้วยการติดตั้ง NAS 2 ตัวให้ทำสำเนา (Replicate) ข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งเมื่อเครื่องหลักมีปัญหาก็จะสามารถย้ายมาใช้งานเครื่องสำรองได้ภายในเสี้ยววินาที
นอกจากนี้ Synology ยังสนับสนุนการทำสำรองข้อมูลเป็น Snapshot หรือทำ Disaster Recovery (DR) ได้ผ่านซอฟต์แวร์ของ Synology เองทั้งหมดโดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์อื่นใดอีกแล้วด้วย จึงทำให้องค์กรมั่นใช้ได้ว่าหลัง Digital Transformation สำเร็จด้วย Synology แล้ว จะสามารถดำเนินการทางธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องแน่นอน
Surveillance ปกป้องสินทรัพย์ให้กับองค์กร
โดยทั่วไปหากคิดถึงระบบที่จะช่วยดูแลปกป้องทรัพย์สินภายในบ้านหรือโรงงานแล้ว มักจะนึกถึงการติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ซึ่งจะช่วยทำให้สบายใจได้มากขึ้น เนื่องจากมีส่วนช่วยให้โจรอาจจะเปลี่ยนใจไปที่อื่นแทนเพื่อไม่ให้ถูกจับได้ง่าย ๆ เพราะมีเหตุอะไรเกิดขึ้นก็สามารถเข้ามาดูได้ว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง
Synology นอกจากจะมีผลิตภัณฑ์พื้นที่จัดเก็บข้อมูลแล้ว ยังมีโซลูชันระบบเฝ้าระวัง (Surveillance) ที่สามารถปรับใช้ NAS มาเชื่อมต่อกับกล้อง CCTV เพื่อจัดเก็บวีดีโอจากกล้องได้เลยด้วย ซึ่งนอกจากกล้องแบรนด์ Synology เองแล้วยังรองรับกล้องแบรนด์อื่นได้ถึง 140 แบรนด์กว่า 8,300 รุ่น ที่สำคัญยังมีฟีเจอร์ AI ที่สามารถตรวจจับติดตามวัตถุหรือบุคคลได้เลยในรุ่น DVA อีกด้วย
“แต่ก่อน NAS คือกล่องอุปกรณ์ใส่ฮาร์ดดิสก์จัดเก็บข้อมูลธรรมดา ๆ แต่ปัจจุบัน NAS กลายเป็นเหมือน Magic Box ไปแล้ว” คุณรหัทกล่าว
Case Study ในภาคการผลิตเลือกใช้ Synology
ทุกวันนี้มีองค์กรมากมายทั่วโลกที่เลือกใช้งานผลิตภัณฑ์ของทาง Synology แล้ว โดยตัวอย่างในภาคอุตสาหกรรมการผลิตนั้น เช่น
Toyota Motor Vietnam
Toyota Motor Vietnam ที่ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลที่มีความเชื่อถือได้ (Reliability) สูง เพื่อให้รองรับกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติธรรมชาติหรือถูกแรนซัมแวร์โจมตีแล้ว จะสามารถเรียกข้อมูลกลับคืนมาให้ใช้งานได้อย่างมั่นใจแน่นอน
ด้วยเหตุนี้ บริษัทเลือกใช้เทคโนโลยี Immutable Snapshot ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้มาประยุกต์ใช้ในอุปกรณ์ของ Synology จึงทำให้ Toyota Motor Vietnam มีความยืดหยุ่นทางธุรกิจมากขึ้น และค่าใช้จ่ายในการสำรองข้อมูลขององค์กรลดลงกว่า 75%
ไทยนิปปอนฟู้ดส์
ไทยนิปปอนฟู้ดส์ (Thai Nippon Foods) คืออีกหนึ่งองค์กรที่ถูกโจมตีจากแรนซัมแวร์ ซึ่งข้อมูลที่สำรองไว้นั้นอยู่ใน Cloud สาธารณะ จึงทำให้การนำข้อมูลที่สำรองมาใช้งานในองค์กรนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องแบนด์วิดช์ (Bandwidth) ที่ต้องเสียเวลาหลายวันกว่าจะสามารถดึงข้อมูลมาใช้งานได้จริง
เพื่อให้เวลาหยุดทำงานของสายผลิตน้อยที่สุด จึงเลือกใช้โซลูชัน Synology ด้วยการทำ Snapshot ร่วมกับ Synology High Availability ในการดึงข้อมูลกลับมาได้เร็วกว่าในราคาที่ถูกกว่า จึงทำให้องค์กรเปิดระบบกลับมาได้เร็วกว่า อีกทั้งยังทำให้ระบบมีความพร้อมใช้ที่มากกว่า ประหยัดต้นทุนและเวลาด้วยโซลูชันที่ไม่มีค่าใช้จ่ายอีกด้วย
บริษัท น้ำตาลไทยกาญจนบุรี จำกัด
บริษัท น้ำตาลไทยกาญจนบุรี จำกัด นั้นมีปัญหาพื้นที่การจัดเก็บวีดีโอจากกล้องวงจรปิดนั้นมีไม่เพียงพอ จนแทบไม่สามารถเรียกวีดีโอย้อนกลับมาได้เลย รวมทั้งกล้องที่ใช้งานมีหลายยี่ห้อมาก ๆ จึงทำให้การจัดการและตรวจสอบมีความยากลำบากในการใช้งาน
ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงตัดสินใจเปลี่ยนระบบมาใช้ผลิตภัณฑ์ NAS ของ Synology เพื่อมาเชื่อมกับกล้องวงจรปิดที่มีหลากหลายแบรนด์มาจัดการผ่านเครื่องมือของ Synology แบบรวมศูนย์ที่เดียว อีกทั้งยังสามารถแชร์ข้อมูลไปมาภายในองค์กรได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย
Synology ไม่ใช่มีแค่ฮาร์ดแวร์ แต่ยังมีซอฟต์แวร์ให้ใช้ได้เยอะมาก ฟรีด้วย
หากเข้าไปดูในเว็บไซต์จะเห็นผลิตภัณฑ์หมวดหนึ่งคือ “Productivity” ที่ปัจจุบันคือ Synology Office Suite อันเป็นชุดเครื่องมือซอฟต์แวร์สำหรับสนับสนุนการทำงานต่าง ๆ ขององค์กรได้ทั้งหมดผ่าน NAS ที่ซื้อไปปรับแต่งให้กลายเป็น Private Cloud ได้แบบฟรี ๆ เลย อาทิ
- Synology Office ซอฟต์แวร์เครื่องมือสำหรับงานเอกสารโดยมี Synology Document, Spreadsheet และ Slide ที่ใช้สร้างสรรค์ไฟล์งานที่จัดเก็บไว้บน NAS ได้ร่วมกันผ่านเบราว์เซอร์แบบเดียวกับค่ายอื่น ๆ ให้บริการบนเว็บไซต์ยอดนิยม
- Synology Drive ซอฟต์แวร์บริหารจัดการไฟล์บน NAS ที่ทำให้การแชร์ไฟล์ กำหนดสิทธิ และเข้าถึงไฟล์ได้อย่างปลอดภัย
- Synology MailPlus ซอฟต์แวร์โซลูชันอีเมลแบบ On-Premises ที่ทำให้การตั้ง Mail Server เป็นเรื่องที่ง่ายและสามารถทำได้ผ่าน NAS ของ Synology ที่เดียว
โดย Synology มีซอฟต์แวร์อื่น ๆ อีกมากมายที่สนับสนุนการทำงานเสริม Productivity ขององค์กรได้ ที่สำคัญยังสามารถใช้งานได้ฟรีอีกด้วย โดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของ Synology
“ทุกวันนี้ เราไม่ได้มองว่าเป็นบริษัทฮาร์ดแวร์แล้ว แต่มองตัวเองเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ ซึ่ง Synology เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เหล่านี้เองทั้งหมด โดยไม่มี 3rd Party มาช่วยพัฒนาแต่อย่างใด โดยปัจจุบัน Synology มีพนักงานราว 1,200 คน หากแต่กว่า 70% นั้นคือนักพัฒนาระบบ” คุณรหัทกล่าวเสริม
Synology พร้อมสนับสนุนโซลูชันให้กับทุกองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการผลิต
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่คุณรหัท บุญตันจีน Sales Account Manager, International Business Department แห่ง Synology ได้มาบอกเล่าให้กับทีมงานเห็นมุมมองของ Synology ต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทย ที่มีความท้าทายในการทำ Digital Transformation และผลิตภัณฑ์โซลูชันที่ Synology มีตอบโจทย์ในแต่ละประเด็น โดยเฉพาะเรื่อง “ข้อมูล” อันเป็นเหมือนสินทรัพย์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากองค์กรต้องการความมั่นใจในการจัดเก็บข้อมูล Synology คือผลิตภัณฑ์ที่ทุกองค์กรต้องพิจารณาอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ ยังมี Case Study เรื่องราวความสำเร็จขององค์กรอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถประยุกต์ใช้ Synology สำเร็จมาแล้วทั่วโลก โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
สำหรับโซลูชันอื่น ๆ ของ Synology สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ “รู้จัก 4 โซลูชันจาก Synology ที่ตอบโจทย์ได้ทุกองค์กร ในงาน Synology Solution Day 2023” ที่ Synology มาจัดงานแสดงในประเทศไทยเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่ง Synology มีผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบมาก ๆ ตั้งแต่ NAS หรือ SAN ขนาดเล็กที่สามารถใช้ภายในบ้าน ไปจนถึงระดับ Appliance ขนาดใหญ่ที่พร้อมตอบโจทย์ทุกขนาดองค์กร
สำหรับผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์โซลูชันใด ๆ ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมจาก Synology ได้ที่ https://sy.to/j2lvu
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับใช้โซลูชันของ Synology สำหรับ Smart Manufacturing: https://sy.to/yf8zw