บรรยากาศงานแถลงข่าว “iCreator Camp Gen 2 Presented by SONY” แคมป์ที่จะพาเติมไฟ ตามฝัน สู่การเป็นท็อปครีเอเตอร์ จาก RAiNMaker [PR]

0

จบไปแล้วกับงานแถลงข่าว “iCreator Camp Gen2” เมื่อวานนี้ ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา ชั้น 3 อาคาร 1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในงาน คุณเอ็ม – ขจร เจียรนัยพานิชย์ บรรณาธิการบริหาร RAiNMaker และผู้จัด iCreator Camp ได้เผยถึงภาพรวมวงการครีเอเตอร์ไทยที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะผลักดันภาคพื้นการศึกษาให้สามารถก้าวทันตามโลกคอนเทนต์ที่เปลี่ยนแปลงในทุกวัน การสร้างครีเอเตอร์คอมมูนิตี้เพื่อผลักดันวงการครีเอเตอร์ในส่วนของการศึกษาอย่างโปรเจกต์ iCreator Camp จึงเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดให้กลายเป็นคอมมูนิตี้ที่แข็งแกร่ง

จากความสำเร็จครั้งแรกของ iCreator Camp เมื่อปีที่แล้ว ปีนี้ RAiNMaker ได้จับมือกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ในการจัดแคมป์ปั้นครีเอเตอร์เป็นปีที่ 2 เพื่อมุ่งมั่นอัปสกิลให้กับเหล่าครีเอเตอร์ไทยที่เข้าร่วมทั้ง 100 คน เป็นเวลาตลอด 5 สัปดาห์

ซึ่งวันนี้เรากลับมาพร้อมธีม “Pave to the Top เติมไฟ ตามฝัน สู่ท็อปครีเอเตอร์” ที่รวมเวิร์กชอปกว่า 20+ คลาส จาก 20+ Camp Instructors ที่ได้ชื่อว่าเป็นครีเอเตอร์แถวหน้าของวงการ ให้ทุกคนได้เรียนรู้ทุกสกิลการทำคอนเทนต์รอบด้าน

รวมถึงภายในงานยังได้มีการเปิดตัว THAILAND’S FIRST CREATORS REPORT รีพอร์ตเกี่ยวกับวงการครีเอเตอร์เล่มแรกในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “iCreator REPORT” ที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับครีเอเตอร์ในประเทศไทย รวมถึงข้อมูลจากทุกแพลตฟอร์มสำหรับครีเอเตอร์ เพื่อเป็นแหล่งรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อครีเอเตอร์ทุกวงการ และจะเปิดตัวในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2568 นี้


นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้พูดถึง “Creator & Education Opportunity” โอกาสและการศึกษาเพื่อผลักดันอาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์ไทย ให้สามารถก้าวไปพร้อมกับการเติบโตของโลกปัจจุบัน ให้การศึกษาช่วยยกระดับอาชีพคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของหลักสูตรที่ยังคอยพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการปรับตัวด้านกายภาพ เช่น ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ หรือกระบวนการโปรดักชันที่เข้ากับยุคสมัย อีกทั้งยังครอบคลุมไปถึงงานวิจัยที่จะเพิ่มองค์ความรู้ให้ภาคการศึกษาเป็นหนึ่งในแรงผลักดันของวงการครีเอเตอร์ไทยต่อไป

รวมถึงอีกไฮไลต์สำคัญของงานแถลงข่าวในครั้งนี้ คือ Talk Session ที่ได้แขกรับเชิญพิเศษอย่าง ผศ.ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคุณดาร์ท – ธนทร ศิริรักษ์ (yesiamdart) มาร่วมพูดคุยกันถึงประเด็น “Trends & Creator Economy 2025” เทรนด์และอนาคตต่อยอดสู่คอมมูนิตี้วงการครีเอเตอร์ไทย ปัญหาและการปรับตัวของครีเอเตอร์หน้าใหม่ในวงการ รวมถึงสิ่งที่จะรองรับและผลักดันวงการครีเอเตอร์ในอนาคต

โดยคุณเอ็มได้กล่าวถึงเรื่องเทรนด์ในการทำคอนเทนต์ ที่ปัจจุบันเรียกได้ว่ายังคงเปลี่ยนแปลงและเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ครีเอเตอร์ต้องคอยอัปเดตสกิลอยู่เสมอ โดยเฉพาะครีเอเตอร์หน้าใหม่ที่ต้องเรียนรู้และปรับตัวเพื่อหาแนวทางของตัวเองในยุคที่การทำคอนเทนต์วิดีโอเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้ต้องมีการทำความเข้าใจในรูปแบบของคอนเทนต์แต่ละประเภท เพื่อให้ได้มาซึ่งคอนเทนต์ที่มีคุณภาพที่สุด

ส่วนผศ.ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม ยังได้กล่าวว่า ครีเอเตอร์ ถือเป็นอาชีพสำคัญสำหรับคนในยุคปัจจุบัน ทำให้ภาคพื้นการศึกษานั้นก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับความสนใจที่เปลี่ยนแปลงไป การมีสิ่งที่ช่วยผลักดันวงการครีเอเตอร์ได้อย่าง หลักสูตรการศึกษา จะช่วยสร้างคอมมูนิตี้อันแข็งแกร่งเพื่ออัปสกิล และต่อยอดการเป็นครีเอเตอร์ได้ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อีกทั้งคุณดาร์ท ธนทร ศิริรักษ์ ยังได้พูดถึงประเด็นสำคัญอย่าง ปัญหาและการปรับตัวของคอนเทนต์ครีเอเตอร์หน้าใหม่ของวงการ พร้อมทั้งแชร์สกิลสำคัญที่ครีเอเตอร์หน้าใหม่ควรมี เพื่อที่จะปรับตัวในยุคที่คอนเทนต์วิดีโอมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้งยังได้แชร์สิ่งสำคัญสำหรับการสร้างคอนเทนต์คือ “Storytelling” ร่วมกับ “ความเป็นธรรมชาติ” เพราะคอนเทนต์ต่างๆ มักสะท้อนความเป็นตัวตนของเราออกมา และผู้ติดตามก็เลือกที่จะเสพคอนเทนต์ผ่านความธรรมชาตินั้นที่เรานำเสนอออกมา  และความมีคุณภาพของคอนเทนต์นั่นเอง จะเป็นสิ่งที่ทำให้ครีเตอร์สามารถยืนระยะได้อย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นครีเอเตอร์ดั้งเดิมหรือครีเอเตอร์หน้าใหม่ 

ในส่วนของโครงการ iCreator Camp Gen 2 Presented by SONY ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมแคมป์ จะได้เรียนรู้ประสบการณ์จริงกับครีเอเตอร์ระดับท็อปของเมืองไทย เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึง 17 มีนาคม 2568 และ แคมป์จะเริ่มครั้งแรกในวันเสาร์ที่ 19 เมษายน 2568 โดยจะจัดขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2568  ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา ชั้น 3 อาคาร 1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย