IoT เพื่อ Smart Community: สังคมที่ดีขึ้น ชีวิตที่ปลอดภัยขึ้น และเมืองที่น่าอยู่มากขึ้น

0

ฝ่ายปกครองของเมืองอาจเคยเป็นหน่วยงานที่ดูเชื่องช้าล้าสมัย แต่ไม่ใช่ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีนั้นแทรกซึมไปในทุกภาคส่วนของชีวิต โดยเฉพาะเทคโนโลยี Internets of Things ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้อยู่อาศัยในเมืองได้อย่างมาก

เมืองที่ดีหมายถึงคุณภาพชีวิตที่ดี

เมืองใหญ่ๆหลายเมืองเริ่มหันมาสนใจเทคโนโลยี Internet of Things มากขึ้นในฐานะเครื่องมือที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในเมืองให้ทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการ มอบความปลอดภัยที่ดีขึ้น วิถีชีวิตที่สะดวกสบายขึ้น และเสริมสร้างชุมชนที่ดีกว่าเก่า ฝ่ายปกครองของเมืองใหญ่ๆในสหรัฐฯเริ่มมีการจับมือกันแบ่งปันและพัฒนากลยุทธการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกับภาครัฐและชีวิตของคนในเมือง

ประสิทธิภาพในการดำเนินการที่สูงขึ้น

IoT ทำให้เมืองสามารถเก็บข้อมูลของสินทรัพย์ในเมืองได้แทบทุกอย่าง ตั้งแต่ไฟจราจร ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ไปจนถึงจุดเล็กๆอย่างหลุมบ่อที่อาจเกิดขึ้นบนท้องถนน การนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์ช่วยให้เมืองสามารถแก้ไขปัญหา วางแผน กำหนดนโยบาย และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงประเด็นมากขึ้น ยิ่งในยุคปัจจุบันการนำข้อมูลมาใช้นั้นไม่ใช่เพียงการวิเคราะห์เรื่องราวในอดีต แต่ยังสามารถทำนายไปได้ถึงอนาคตแล้ว ข้อมูลที่ได้จาก IoT จึงทำให้เมืองสามารถดำเนินการได้อย่างชาญฉลาด ป้องกันความเสี่ยง และลดความไม่พอใจของผู้อยู่อาศัยไปได้

ความปลอดภัยที่มากขึ้น

ความสามารถในการจับตาสถานการณ์และเฝ้าระวังต่างๆที่เมืองได้รับจากการใช้เทคโนโลยี IoT จะทำให้การประสานงานรักษาความปลอดภัยและหน่วยฉุกเฉินเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เครือข่ายที่เชื่อมต่อกันหมดจะเผยให้เห็นถึงข้อมูลที่อาจถูกมองข้าม เช่น ระดับของมลพิษภายในตัวเมือง คุณภาพของน้ำประปา อีกทั้งยังเป็นรากฐานให้กับเทคโนโลยีอื่นๆในอนาคต เช่น พาหนะขับเคลื่อนอัตโนมัติ ที่เป็นที่รู้กันดีว่าจะช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้อย่างมาก

กรณีศึกษา: การเก็บข้อมูลการจราจรของเมือง Boston

หนึ่งในกรณีที่โดดเด่นของการเก็บข้อมูลคือกรณีของเมือง Boston ที่เก็บข้อมูลการจราจรจากทั้งรถยนต์ จักรยาน ผู้คนเดินเท้า และสิ่งอื่นๆในสี่แยกหนึ่งที่มีความวุ่นวายสูงภายในเมือง โดยข้อมูลที่ได้รับนั้นแสดงให้เห็นถึงสถิติ เช่น ระยะเวลาของไฟจราจร ระยะเวลาที่ใช้ในการสร้างเลนจักรยาน ซึ่งทางตัวเมืองก็ได้นำไปประกอบการตัดสินใจและประชาสัมพันธ์ถึงความเปลี่ยนแปลง

ชีวิตที่สะดวกสบายขึ้น

การรู้อะไรๆล่วงหน้าย่อมทำให้การตัดสินใจเป็นได้ง่ายขึ้นและชีวิตสะดวกสบายย่ิงขึ้น กรณีคลาสสิกอย่างการใช้ IoT เพื่อบอกสถานะของที่จอดรถต่างๆภายในเมืองนั้นยังคงได้รับความนิยมและได้ผลอย่างต่อเนื่อง โดยเรื่องง่ายๆอย่างการติดตั้ง Wi-Fi ฟรีภายในเมือง และตู้ kiosk ที่บอกถึงข่าวสารข้อมูลต่างๆภายในเมือง ก็เป็นอีกสองเคสที่ได้เมืองต่างๆหันมาให้ความสนใจกันมากขึ้น

ส่งเสริมความสัมพันธ์ในชุมชน

เมื่อมีเทคโนโลยี IoT เข้ามา การสื่อสารภายในชุมชนก็มีรูปแบบที่เปลี่ยนไป Kiosk ที่ทำงานได้สารพัดประโยชน์ เช่น ตรวจสอบสภาพการจราจร เช็คตารางรถ ซึ่งมีฟีเจอร์เรื่อยไปถึงการแจ้งข่าวสารภายในชุมชน และการประชาสัมพันธ์ธุรกิจท้องถิ่น จะกลายมาเป็นบอร์ดประชาสัมพันธ์ชนิดใหม่ที่สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อยู่อาศัยและชุมชนมากขึ้น

โครงการที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้หากไม่มี IoT

ในปี 2017 ที่ผ่านมาในช่วงการแข่งขันอเมริกันฟุตบอลนัดใหญ่ๆ เจ้าหน้าที่ในเมือง Houston ได้ร่วมกับ Verizon ในการติดตั้งเทคโนโลยีที่ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ความปลอดภัยรอบๆสนามแข่งขัน เทคโนโลยีนี้ประกอบไปด้วยเครือข่ายเซ็นเซอร์แสง (LSN – Light Sensory Network) และระบบวิเคราะห์วิดีโอและความปลอดภัยที่ช่วยให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในบริเวณทำงานได้ง่ายขึ้น การรับชมฟุตบอลของแฟนๆมีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งนอกจากการรักษาความปลอดภัยแล้ว ระบบ IoT ยังช่วยให้ผู้คนสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับงาน เส้นทาง และสื่อสารกับเพื่อนๆได้อย่างดี

อนาคตของ Smart City

แนวคิด Smart City นั้นเป็นหนึ่งใน 5 การประยุกต์ใช้ IoT ที่มีการเติบโตมากที่สุดในสหรัฐฯในช่วงปีที่ผ่านมา (โตขึ้นร้อยละ 19 จากปี 2016) และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากประโยชน์ที่ได้จากเทคโนโลยีเอง เช่น ประสิทธิภาพในการดำเนินการของเมืองที่ดีขึ้น ความปลอดภัยที่มากขึ้น แล้ว การวางรากฐาน IoT เพื่อ smart city นั้นยังมีความจำเป็นต่อหอนาคตที่เราจะได้เห็นเทคโนโลยี IoT ในด้านต่างๆมากขึ้น เช่น การนำ IoT ไปใช้กับการขนส่ง การทำ smart building และการใช้งานร่วมกับ connected vehicles ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องการโครงสร้างพื้นฐาน และการเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆเพื่อให้เกิดคุณค่าสูงสุด