ครั้งแรกของโลก! นักวิจัยพิมพ์กระจกตาสามมิติเพื่อผู้บกพร่องทางการมองเห็นได้แล้ว

0
https://o.aolcdn.com/images/dims?quality=100&image_uri=https%3A%2F%2Fs.aolcdn.com%2Fhss%2Fstorage%2Fmidas%2Fb228f0ce5980fee887b7fb6a70c74ee2%2F206413572%2F2-first3dprint.jpg&client=cbc79c14efcebee57402&signature=31bf16064408bbf03b412f6abdbbc0797ec1c4d2

ทีมนักวิจัยจาก Newcastle University ได้ค้นพบเทคนิคใหม่ที่จะช่วยคนนับล้านที่รอการปลูกถ่ายกระจกตา จากการใช้เครื่องพิมพ์ทางชีวภาพ (Bio-printer) โดย Prof. Che Connon และทีมนักวิจัยสามารถผนวกสเต็มเซลล์กระจกตากับคอลลาเจนและสารแอลจิเนต (น้ำตาลประเภทหนึ่งที่ใช้ในการผลิตเนื้อเยื่อใหม่) เพื่อสร้างหมึกชีวภาพ (bio-ink) ที่สร้างโครงกระจกตามนุษย์ได้ในเวลาเพียง 10 นาที

กระจกตามีหน้าที่สำคัญที่ช่วยให้เราปรับโฟกัสและเป็นด่านป้องกันดวงตาของเราจากสิ่งสกปรกและแบคทีเรีย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่ากระจกตาอยู่ภายนอกสุดของดวงตา จึงค่อนข้างบอบบางและเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย ทั่วโลกนี้มีคนจำนวนประมาณ 10 ล้านคนที่เสี่ยงต่อภาวะตาบอดจากกระจกตาเนื่องจากการติดเชื้อ เช่น โรคริดสีดวงตา แต่การรักษานั้นยังขาดแคลน จึงเป็นไปได้ว่า กระจกตาพิมพ์สามมิตินี้จะช่วยรองรับจำนวนผู้ที่ต้องการปลูกถ่ายอวัยวะได้อย่างไม่จำกัด

cornea-3D-holding-eye-up-standard-2
https://techcrunch.com/wp-content/uploads/2018/05/cornea-3d-holding-eye-up-standard-2.jpg?w=1390&crop=1

Prof. Connon เผยว่า “เจลลักษณะเฉพาะตัวที่ได้จากการผสมสารแอลจิเนตและคอลลาเจนนั้นจะช่วยเก็บรักษาเซลล์ต้นกำเนิดให้มีชีวิตอยู่ ในขณะที่ยังคงผลิตวัสดุที่ยังคงรูปของมันได้ แต่ก็ยังอ่อนนุ่มพอที่จะผ่านหัวฉีดเครื่องพิมพ์สามมิติได้”

ก่อนที่จะพิมพ์กระจกตาออกมานั้น นักวิจัยต้องสแกนตาของผู้ป่วยเพื่อกำหนดขนาดมิติและระยะพิกัดที่แน่ชัด แม้ว่าผู้ป่วยอาจต้องรออีกหลายปีกว่าเครื่องพิมพ์กระจกตาสามมิติจะนำไปใช้ได้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งนี้เทคโนโลยีตัวนี้ก็นับเป็นความหวังแก่กลุ่มผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาอย่างรุนแรงเนื่องจากความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับกระจกตา