ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เป็นได้มากกว่าผู้ช่วยสั่งการด้วยเสียง (voice assistant) และรถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง โดยล่าสุดทีมนักวิจัยได้พัฒนาอัลกอริธึมระบบเรียนรู้ที่สามารถระบุ อธิบาย และนับจำนวนสัตว์ป่าได้แม่นยำถึง 96.6 เปอร์เซ็นต์
จากความร่วมมือของทีมวิจัยจาก Auburn University, Harvard, Oxford, the University of Minnesota และ the University of Wyoming นั้น ได้เขียนงานวิจัยนี้ขึ้นมาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 และล่าสุดพึ่งได้รับการตอบรับตีพิมพ์ลงใน the Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS)
รองศาสตราจารย์ Jeff Clune จาก the University of Wyoming ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายวิจัยอาวุโสที่ห้องทดลอง AI ของ Uber และผู้ร่วมเขียนงานวิจัยนี้เผยว่า “เทคโนโลยีนี้จะช่วยรวบรวมข้อมูลสัตว์ป่าได้อย่างแม่นยำในราคาไม่แพง ซึ่งจะช่วยให้เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ศาสตร์ด้าน “big data” ในหลายสาขา ทั้งนิเวศวิทยา ชีววิทยาสัตว์ป่า สัตววิทยา ชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ และพฤติกรรมสัตว์ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสามารถในการศึกษาและอนุรักษ์สัตว์ป่าและระบบนิเวศน์ได้เป็นอย่างมาก”
ทีมนักวิจัยได้ฝึกอัลกอริธึม computer vision (การรับภาพของคอมพิวเตอร์) โดยใช้ภาพ 3.2 ล้านภาพจาก Snapshot Serengeti ซึ่งเป็นโครงการวิทยาศาสตร์ในเว็บ Zooniverse.org ที่เรียกอาสามัครมาช่วยรวบรวมภาพช้าง ยีราฟ สิงโต เสือชีตาห์ และสัตว์อื่นๆ ในถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ ทั้งนี้มีอาสาสมัครจำนวนมากกว่า 50,000 คน กับจุดตั้งกล้อง 255 จุด ที่ช่วยถ่ายรูปเข้าคลังข้อมูลนี้
วิธีการทำงานของระบบนี้คือ ใช้กล้องตรวจจับการเคลื่อนไหวถ่ายภาพโดยอัตโนมัติ และป้อนข้อมูลพร้อมข้อความและตัวเลขเข้าสู่ convolutional neural networks (โครงข่ายประสาทเทียมแบบสังวัตนาการ) ซึ่งเป็นโครงข่ายที่เลียนแบบรูปแบบความเชื่อมโยงระหว่างเซลล์ประสาทในสมองส่วนการเห็นของมนุษย์ ระบบนี้สามารถบอกได้ว่ามีสัตว์สายพันธุ์ไหน เป็นจำนวนเท่าไรบ้าง และการเคลื่อนไหวของสัตว์ เช่น ขณะสัตว์กำลังกินหรือนอน
ระบบสามารถจัดกลุ่มภาพเป็นหมวดหมู่ 6 เดือนได้ ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง ในขณะที่คนต้องใช้เวลาถึง 2-3 เดือนโดยเฉลี่ยในการทำงานดังกล่าว Margaret Kosmala หัวหน้าทีมจาก Snapshot Serengeti กล่าวใน Phys.org ว่าระบบช่วยประหยัดเวลาได้มากกว่า 8 ปีในการที่ใช้แรงงานคนในการแบ่งกลุ่มภาพถึง 3 ล้านภาพ โดยอาสาสมัครยังมีเวลาไปช่วยโครงการอื่นแทนได้
การใช้ AI เพื่อตรวจจับสัตว์กำลังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนพฤศจิกายน 2559 นักวิจัยจาก Queensland University ได้ใช้เฟรมเวิร์คระบบเรียนรู้ TensorFlow ของ Google ฝึกอัลกอริธึมตรวจจับช้างน้ำในภาพมหาสมุทร และเมื่อเดือนมีนาคมนี้ สตาร์ทอัพ iNaturalist ได้เปิดตัว Seek ซึ่งเป็นแอปที่ใช้ AI ระบุสายพันธุ์ของสัตว์ได้อัตโนมัติ