นักวิจัยจากสแตนฟอร์ดสอน AI สร้าง dank meme

0
https://techcrunch.com/wp-content/uploads/2018/06/Screen-Shot-2018-06-15-at-1.44.59-PM.png?w=990&crop=1

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคอมพิวเตอร์สร้างภาพ meme เก่งกว่ามนุษย์ขึ้นเรื่อยๆ Abel L. Peirson V และ E. Meltem Tolunay คู่หูนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้ใช้ machine learning เพื่อสอนระบบคอมพิวเตอร์ให้สร้าง meme เอง และทั้งคู่ก็ได้ค้นพบว่าระบบนั้นสร้าง meme ต้นฉบับได้แบบแยกไม่ออกจากของจริงเลยทีเดียว

นักวิจัยได้ฝึกเน็ตเวิร์คโดยใช้ชื่อว่า Dank Learning ซึ่งเป็นวิธีการสร้าง meme โดยใช้ deep learning ป้อนภาพ meme กว่า 400,000 ภาพพร้อมแยกหมวดและคำบรรยาย รวมถึง meme ตลกๆ ที่สร้างโดยมนุษย์เอง หลังจากนั้นระบบก็สร้าง meme ออกมาได้เหมือนจริง โดยใช้ Inception-v3 network ที่ถูกฝึกมาก่อนหน้า ซึ่งใช้โมเดลแบบ long short-term memory model ในการสร้างคำบรรยายภาพที่เข้ากันกับรูปนั้นๆ

หลังจากนั้น จะให้อาสาสมัครแยกว่าภาพไหนเป็นภาพที่สร้างโดยมนุษย์และภาพไหนที่สร้างโดยระบบ อารมณ์ขันของภาพนั้นก็จะได้รับการประเมินจากมนุษย์ โดยให้รางวัลแก่ระบบสำหรับภาพที่ทำให้หัวเราะได้จริงๆ เรียงตามลำดับความขบขันตั้งแต่ระดับ 0-10 ผลที่ออกมาคือ ภาพที่สร้างจากระบบนั้นดีพอๆ กับที่คนสร้างขึ้น จนถึงขั้นแยกไม่ออกเลยว่าภาพไหนเป็นภาพที่ระบบสร้างขึ้น

ภาพ meme ที่สร้างจากระบบ Dank Learning

ทีมนักวิจัยเสริมว่า “เราทราบดีว่าความท้าทายอย่างหนึ่งสำหรับโปรเจคนี้คือเรื่องของอารมณ์ขันซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและวัฒนธรรม อันที่จริง นี่ก็เป็นการสร้างขอบเขตงานวิจัยขึ้นมาใหม่ และก็ควรคำนึงถึงแนวคิดงานวิจัยใหม่ๆ จากปัญหาดังกล่าว ตัวอย่างหนึ่งก็คือการฝึกชุดข้อมูลให้วางข้อความไว้ข้างบนหรือข้างล่างของภาพดี เพราะจากตัวอย่างภาพที่เห็นนี้คือ ข้อความถูกวางไว้ในภาพโดยคนเอง ถ้าโมเดลนี้สามารถเรียนรู้คำสั่งนี้ได้ ก็จะเป็นการพัฒนาที่ยิ่งใหญ่ และระบบก็จะสามารถสร้าง meme ได้อัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ และในอนาคตก็อาจจะศึกษาเพิ่มเติมเรื่องกลไก visual attention ที่วิเคราะห์รูปภาพประกอบกับการสร้าง meme เอง”