โดรนนั้นกำลังจะกลายมาเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของศิลปินอีกคนหนึ่งแล้ว ในการที่ช่วยให้ผู้จัดทำภาพยนต์ทั้งที่เป็นมือใหม่หรือมีประสบการณ์เชี่ยวชาญอยู่แล้วนั้นสามารถที่จะสร้างวีดีโอตามที่ต้องการได้อย่างราบรื่นและมีความสวยงาม อย่างไรก็ดี ในการใช้โดรนสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์นั้นเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากตามที่รู้กันดีว่ามันต้องการทักษะของคนที่ควบคุมโดรนอย่างมากและต้องวางแผนการวิ่งของโดรนที่ปลอดภัยไว้ก่อนล่วงหน้า ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้และทำให้ผู้จัดทำภาพยนตร์มีช่องว่างในการสร้างสรรค์ได้มากยิ่งขึ้น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยคาร์เนลกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) และยามาฮ่ามอเตอร์ (Yamaha Motor) ในญี่ปุ่นจึงได้ร่วมกันพัฒนาระบบ deep learning ที่จะช่วยให้สามารถสร้างเส้นทางวิ่งของโดรนที่มีความราบรื่น ปลอดภัย และไม่ถูกสิ่งต่างๆ บดบังในการถ่ายทำภาพยนตร์ทางอากาศได้อย่างอัตโนมัติ
“ยานพาหนะทางอากาศนั้นกำลังจะปฏิวัติแนวทางของการถ่ายทำหนังของผู้จัดทำทั้งมือสมัครเล่นและที่เชี่ยวชาญแล้วในการจับภาพของนักแสดงและทิวทัศน์ เพิ่มความยืดหยุ่นในการเล่าเรื่องในจุดต่างๆ และทำให้วาง composition ในมุมมองทางอากาศได้มากขึ้นซึ่งเป็นไปได้ค่อนข้างยากเมื่อใช้อุปกรณ์แบบดั้งเดิมอย่างเช่น กล้องแบบถือและรถบรรทุกขนาดเล็ก” นักวิจัยกล่าวในงานตีพิมพ์ของพวกเขา
โดยทีมงานได้เทรนระบบโครงข่าย Convolutional Neural Network บนเฟรมเวิร์ก PyTorch กับข้อมูลภาพจำนวน 70,000 ภาพจากข้อมูลหลายๆ dataset ซึ่งเมื่อได้เทรนเสร็จสิ้นแล้วจึงนำมาร่วมใช้งานกับโดรนสำเร็จรูปเพื่อที่จะคาดการณ์การเคลื่อนไหวของนักแสดงและวางแผนการบินให้มีความราบรื่น หลีกเลี่ยงการปะทะกับสิ่งต่างๆ ในขณะที่ก็ไม่ให้เกิดการปิดบังเกิดขึ้น
ในวีดีโอข้างต้น ทีมงานแสดงให้เห็นถึงความเสถียร (robustness) ของโดรนและระบบโครงข่ายประสาทเทียมบนเงื่อนไขต่างๆ ในโลกความเป็นจริงที่มีความแตกต่างกันในการถ่ายทำแบบต่างๆ รวมทั้งการเปลี่ยนฉาก การเคลื่อนไหวของนักแสดง และรูปร่างของอุปสรรคกีดขวาง ซึ่งโดรนสามารถตอบโจทย์ตามไกด์ไลน์ในเชิงศิลปะได้อย่างเช่น rule of third การสเกล มุมเปรียบเทียบ และการติดตามวัตถุหรือบุคคล
“สิ่งนี้จะไม่เหมือนกับงานก่อนหน้านี้ที่จะทำได้แค่อย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างระบบจับการเคลื่อนไหวภายในร่มที่มีความแม่นยำสูงหรือจะมีความแม่นยำในกลางแจ้งโดย Real-time kinematic (RTK) GPS ซึ่งเราใช้เพียง GPS แบบดั้งเดิมเท่านั้นโดยจะให้ผลลัพธ์ที่มี noise สูงทั้งในการตรวจจับที่อยู่ของโดรนและการทำนายการเคลื่อนที่ของนักแสดง ดังนั้นพวกเราจึงตัดสินใจที่จะแยกการเคลื่อนที่ของโดรนและกล้องออกจากกัน” นักวิจัยกล่าว “กล้องนั้นจะถูก mount กับอุปกรณ์แหวนอิสระ 3 แกน (3-axis independent gimbal) และสามารถที่จะจัดวางนักแสดงไว้ได้ถูกจุดบนตำแหน่งของกล้องโดยใช้ระบบตรวจจับภาพได้ถึงแม้ว่าจะมี error จากตำแหน่งของโดรน”