เปียโนร่วมกับระบบ AI ทำให้ใครก็ตามสามารถที่จะเขียนเพลงโดยกดเพียงไม่กี่ปุ่มได้

0
https://news.developer.nvidia.com/wp-content/uploads/2018/10/Controller.png

อาจจะคิดเหมือนกับการทำนายข้อความแต่เป็นการทำนายจากเปียโนของคุณก็ได้ โดยระบบ deep learning ใหม่ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก Google นั้นได้ทำให้ใครก็ตามสามารถเล่นเปียโนได้เหมือนกับนักดนตรีที่ฝึกซ้อมมาแล้ว โดยระบบที่ขนานนามว่า Piano Genie นั้นสามารถที่จะทำนายตัวโน้ตที่เป็นไปได้มากที่สุดตัวถัดไปในเพลงได้อย่างอัตโนมัติ จึงทำให้คนที่ไม่ใช่นักดนตรีก็สามารถที่จะสร้างเพลงใหม่และเป็นต้นฉบับได้อย่าง real time

“ในขณะที่คนส่วนใหญ่นั้นจะมีประสาทรับรู้มาตั้งแต่กำเนิดในเรื่องของความชื่นชอบเสียงดนตรี แต่มีจำนวนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นสามารถเข้ามาร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่มีความหมายออกมาได้” นักวิจัยกล่าวในงานตีพิมพ์

โดยทีมงานได้สร้างเฟรมเวิร์ก deep learning และเทรนโครงข่าย Recurrent Neural Network กับเพลงคลาสสิคจำนวน 1,400 เพลงที่เล่นโดยนักเปียโนที่มีทักษะฝีมือดี

“คนที่ไม่ใช่นักดนตรีนั้นจะสามารถใช้งานระบบซึ่งจะ generate เพลงโดยสมบูรณ์ได้อัตโนมัติโดยกดเพลงปุ่มปุ่มเดียว แต่สิ่งนี้ก็จะลบ sense ของการเป็นเจ้าของออกจากผลลัพธ์ที่ได้ไป จึงทำให้พวกเราก้าวเลี่ยงปัญหาอุปสรรคเหล่านี้โดยออกแบบ interface อัจฉริยะที่จะรับข้อมูลระดับบนๆ (high-level specification) ที่ให้มาโดยมนุษย์แล้วจับคู่ map ข้อมูลเหล่านั้นให้กลายเป็น musical performance ที่น่าประทับใจ” นักวิจัยอธิบายในงานตีพิมพ์ของพวกเขา

โดยผู้เขียนหลักของงานวิจัยนี้ คุณ Chris Donahue กล่าวว่าเขามีแรงบันดาลใจจากเกมชื่อ Guitar Hero ซึ่งเป็นเกมที่ลดความยุ่งยากในการเล่นอุปกรณ์ดนตรีลงไป จึงทำให้คุณ Donahue และทีมของเขาได้สร้างตัวควบคุมแบบ custom ขึ้นมาเพื่อย่อโน้ต 88 ตัวของเปียโนให้เหลือเพียงแค่ 8 ปุ่มเท่านั้น

https://news.developer.nvidia.com/wp-content/uploads/2018/10/Screen-Shot-2018-10-17-at-3.52.14-PM.png
Piano Genie ประกอบด้วยระบบ encoder และ decoder

 

โดยทีมเลือกที่จะใช้วิธีการแบบ unsupervised ในการเรียนรู้และจับคู่โน้ตเปียโน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขาได้ใช้การตั้งค่า autoencoder ซึ่งตัว encoder จะเรียนรู้ที่จะจับคู่ลำดับโน้ต 88 ตัวของเปียโนไปที่ ลำดับ 8 ปุ่ม แล้วตัว decoder จะเรียนรู้ที่จะจับคู่ลำดับของปุ่มกลับไปที่การเล่นเพลงของเปียโนอีกที

“ระบบนั้นได้ถูกเทรนแบบ end-to-end เพื่อที่จะทำให้ error การสร้างขึ้นมาใหม่ให้น้อยที่สุด โดย ณ เวลาเล่นนั้นพวกเราแทนที่ค่า output จาก encoder ด้วยการกดปุ่มของผู้ใช้ แล้วประเมินค่าตัว decoder ในเวลา real-time” นักวิจัยกล่าว “พวกเราเชื่อว่าเฟรมเวิร์ก autoencoder นั้นจะเป็นวิธีการที่มีแนวโน้มที่ดีสำหรับการเรียนรู้การจับคู่ระหว่าง interface ที่ซับซ้อนมาที่ interface ที่ง่ายกว่าได้ และหวังว่างานี้จะเป็นการกระตุ้นให้มีการตรวจสอบลงไปในส่วนนี้มากขึ้นในอนาคต” คุณ Donahue และทีมงานกล่าว

โดยงานตีพิมพ์ที่ได้อธิบายวิธีการที่ทำนี้เพิ่งได้ตีพิมพ์ใน ArXiv และโค้ดสำหรับเทรนระบบนั้นเปิดให้ดาวน์โหลดได้จากที่ GitHub ซึ่งคนทั่วไปสามารถที่จะลองเล่นระบบได้จากการเดโมออนไลน์ที่นี่

Source : https://news.developer.nvidia.com/ai-powered-piano-allows-anyone-to-compose-music-by-pressing-a-few-buttons/